เมื่อวันที่ 27 ก.พ.2567 รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงและต่างประเทศ  กล่าวในรายการ "ไปตามเกม"  ทางสถานีโทรทัศน์ TNN ถึงเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน ที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลา 2 ปีว่า ระยะเวลา 700 กว่าวันทำให้เราเห็นว่า ความสูญเสียมากเกินกว่าที่หลายคนคิด แต่ละฝ่ายสูญเสียประชาชน กำลังพลเป็นแสนแล้ว และยังสะท้อนความอ่อนแอของรัสเซียในระบบการรบสมัยใหม่ เพราะมีกองกำลังของยูเครนที่ใช้ยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ได้ผล กับการผลักให้รัสเซียไม่สามารถยึดครองพื้นที่ได้เกิน 20% แต่ในขณะเดียวกันก็เห็นได้ชัดว่ายูเครน ถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนด้านยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ จากตะวันตกก็ไม่สามารถที่จะยืนหยัดต่อสู้กับรัสเซียได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับแรงสนับสนุนของตะวันตกต่อยูเครนด้วย  และความเข้มแข็งภายในในลักษณะดั้งเดิมของรัสเซียโดยเฉพาะการเกณฑ์กำลังทหารบกมายึดครองพื้นที่ของก็ขยับขึ้นมาในรอบไม่กี่อาทิตย์ได้อีกนิดหน่อย รวมกันแล้วก็ประมาณเกือบ 20% ของพื้นที่ที่ยึดได้ ในขณะเดียวกันรัสเซียก็โดนปิดล้อม น่าจะเป็นประเทศหนึ่งที่ถูกปิดล้อม คว่ำบาตรมากที่สุดทางเศรษฐกิจของโลกขณะนี้ 

เมื่อถามว่า การคว่ำบาตร มีความน่าสนใจ โดยล่าสุดสหรัฐฯ ประกาศว่าจะคว่ำบาตร มากกว่า 500 รายชื่อของรัสเซียจะส่งผลต่อภาพรวมอย่างไรบ้าง รศ.ดร.ปณิธาน กล่าวว่า ทำให้รัสเซียยุ่งยากมากขึ้นในการบริหารจัดการการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อเอามาสนับสนุน เพราะรัสเซียก็มีพันธมิตรสำคัญอยู่ 3-4 ประเทศที่ ทำให้รัสเซียมีความสามารถในการยืนระยะยาว ถ้าทางเศรษฐกิจก็ขายน้ำมันให้กับอินเดีย อินเดียวก็ขายให้กับทั่วโลกรวมทั้งสหรัฐฯด้วย ได้ข่าวว่าสหรัฐฯก็ซื้อน้ำมันจากอินเดียราคาถูก ก็เป็นความซับซ้อน ของเศรษฐกิจโลกที่พึ่งพิงกัน แล้วก็ยังมีจีน ยังมีเกาหลีเหนือ ว่ากันว่าสนับสนุนเรื่องยุทโธปกรณ์เพิ่มเติมจากที่รัสเซียผลิตได้อยู่แล้ว

เราเห็นชัดเจนว่าสมรภูมิภาคพื้นดินใครมีกำลังที่เข้มแข็งกว่า ซึ่งก็คือรัสเซียในกรณี สามารถรุกคืบเข้าไปช้าๆ แต่ว่าด้วยความสูญเสียมหาศาล ถามว่ายูเครนก็จะมีกำลังประมาณนี้ ทั้งหมดเหล่านี้อาจจะต้องจบในโต๊ะเจรจา ถ้ามันยืดเยื้อ แต่รัสเซียก็ไม่แปลกใจอะไรในฝั่งรัสเซีย เพราะมีสงครามยืดเยื้อมาหลายครั้ง ในอดีตประวัติศาสตร์ช่วงเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รัสเซียมีทุนเดิมของความเข้มแข็ง และประธานาธิบดีปูติน ไม่ค่อยมีคู่ต่อสู้ คู่ต่อสู้ที่สำคัญตอนนี้ก็เสียชีวิตไปก็ทำให้การขึ้นดำรงตำแหน่ง  สมัยที่ 5  ของอดีตปูติน จึงไม่ยากในปีนี้ จะมีการเลือกตั้งในรัสเซีย ดูแนวโน้มจะเหมือนสหรัฐฯ ที่แข่งขันกันดุเดือด

รศ.ดร. ปณิธาน กล่าวต่อว่า คนรัสเซียกลัวยุโรป ตะวันตก เพราะวัฒนธรรม ที่มาประวัติศาสตร์กับระบบการค้าต่างๆ เป็นคนละระบบ ขัดแย้งกัน มีการเผชิญหน้ากันอยู่ตลอดเวลา พอรัสเซียเข้มแข็งยุโรปก็ตกใจ ก็ไปรวมกับอเมริกัน ไปรวมกันเอง ไปรวมกับนาโต้เพื่อที่จะจับมือกับรัสเซีย รัสเซียก็ยิ่งกว่าเป็นกังวล เพราะว่ายุโรปนั้นเอง ทั้งฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ ต่างเคยรุกรานรัสเซียมาแล้ว กับดักตรงนี้ จะเกิดขึ้นเป็นระยะๆ คราวที่แล้วคิดว่าเมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลงจะมีการเจรจาไม่ประชิดพรมแดนรัสเซีย รัสเซียจะไม่สร้างกำลัง ประชิด แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น เหตุผลหนึ่ง อาจเพราะอเมริกาอาจจะอ่อนแอเกินไป หรืออเมริกาอาจจะถอนตัว บางช่วง ประธานาธิบดีทรัมป์ ไม่ค่อยเข้าไปยุ่งในยุโรป จึงทำให้ยุโรปในขณะนี้หันมารวมกลุ่มกันเอง แล้วเริ่มที่จะจัดระเบียบเผชิญหน้ากับรัสเซียมากขึ้น งบประมาณที่ให้กับยูเครนก็เริ่มที่จะมากกว่าสหรัฐอเมริกา ตอนนี้ติดกับดักเลือกตั้ง เงิน ยุทโธปกรณ์ไม่สามารถเอาออกมาได้  จนน่าจะถึงปลายปีนี้

เมื่อถามว่า การที่สหรัฐฯ ไม่สามารถที่จะลงมาช่วยอย่างเต็มตัว จะส่งผลต่อภาพรวมอย่างไรบ้าง รศ.ดร.ปณิธาน กล่าวว่า ระยะสั้นก็แน่นอนว่าจะทำให้ยูเครนยากลำบากมากขึ้น ยุทโธปรกรณ์ที่ทันสมัยที่สุดอยู่ที่สหรัฐฯ วิธีการรบ ข้อมูล ดาวเทียมจารกรรมต่างๆอยู่ที่สหรัฐฯ  ซึ่งจะทำได้น้อยลง และเมื่อทำได้น้อยลง ก็จะเห็นว่ายูเครนเสียพื้นที่ อันนี้ก็เป็นเรื่องปกติ หลังจากเลือกตั้งแล้ว เข้าใจว่าสหรัฐฯจะกลับมาช่วย เพราะความเข้มแข็งของยุโรปก็คือความเข้มแข็งของสหรัฐฯนั่นเอง ซึ่งจริงๆแล้วทั้งสหรัฐฯ และรัสเซีย ขณะนี้เข้มแข็งขึ้นมาก จากสงครามครั้งนี้ รัสเซียเองว่ากันว่ามีเงินคงคลังจากการขายพลังงานได้มากกว่า 10 -20% ส่วนอเมริกันก็ขายอาวุธได้ค่อนข้างมาก เพิ่มขึ้นประมาณ 3-5 % ในจำนวนมูลค่าหลายแสนล้านเหรียญ 

เมื่อถามว่า หากเป็นเช่นนี้สหรัฐฯอยากให้จบความขัดแย้งหรือไม่ เนื่องจากเป็นฝ่ายที่ได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ รศ.ดร.ปณิธาน กล่วว่า ต้องหาส่วนสมดุลระหว่างผู้บริหาร แรงจูงใจในระยะสั้นอาจจะมีไม่มาก ที่จะจบการเจรจาสหรัฐอเมริกาต้องการให้รัสเซียเลื่อนไหลออกไปเหมือนกับในตะวันออกกลาง ต้องการให้ฝ่ายจีน ฝ่ายอิหร่าน มีความเข้มแข็งน้อยลงกว่านี้ ถ้าระยะยาวมันกระทบกับเศรษฐกิจ อย่างเช่นในทะเลแดง กระทบต่อการค้าการลงทุน ก็จะกระทบกับตัวเองอยู่ดี ทีนี้สมดุลตรงนั้นจะจบที่โต๊ะเจรจาดูว่าใครจะได้เปรียบเสียเปรียบ ใครจะเจรจาแล้ว สามารถที่จะรับได้ในข้อเสนอเหล่านี้ ซึ่งในขณะนี้ยูเครนรับไม่ได้ว่าจะต้องเสียดินแดน 20 % ซึ่งขณะนี้ประชาชนชาวรัสเซียเองก็ไม่อยากให้รัสเซียยอมแพ้

เมื่อถามว่า เวลานี้เรามองเห็นภาพของสองกลุ่ม ก็ซ้ายก็คือรัสเซีย ขวาคือยูเครนแล้วก็จะมีพันธมิตรอยู่ กำลังเล่นเกมชักคะเย่อ หากฝ่ายไหนอ่อนแรงก่อนก็มีโอกาสที่จะเพลี่ยงพล้ำได้สูง รศ.ดร.ปณิธาน กล่าวว่า  ตอนนี้ชัดเจนว่ายูเครนไม่สามารถรุกคืบ ก็สามารถที่จะตรึงได้ ตรึงในลักษระที่ถอยร่นแล้ว เว้นว่าจะได้รับยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ทางตะวันตกมากกว่านี้อีก

เมื่อถามว่า ในมุมของรัสเซียเอง คาดว่าคงอยากจะรีบจบ รศ.ดร. ปณิธาน กล่าวว่า อยู่ในระดับหนึ่ง แต่ขณะนี้แรงจูงใจ ยังไม่ถือว่ามาก ที่จะดึงรัสเซียมาเจรจาในปีนี้ ส่วนที่จะเพิ่มแรงจูงใจนั้น มองว่า จะต้องให้เห็นว่ายูเครนสามารถโต้กลับได้บ้าง เพื่อที่จะผลักดันให้รัสเซียยินยอมเจรจาพื้นที่ประมาณ 20% ที่ได้ยึดไปแล้ว แต่รัสเซียไม่ยอมที่จะคืบแล้ว จะได้ให้รัสเซียเห็นว่าถ้าบุกมากกว่านี้ ต้องใช้กำลังมากกว่านี้ อีกเงื่อนไขหนึ่งที่เรากำลังดูกันอยู่คือว่า การซ้อมรบขนาดใหญ่ที่สุดของนาโต้ ที่มีกำลังพลหลายหมื่นนาย ที่จะซ้อมรบประมาณครึ่งปี รวมทั้งสมาชิกใหม่ๆของนาโต้ รวมทั้งการ fast track ยูเครน ให้เข้าร่วม ถ้าเกิดขึ้นจริง ก็เป็นแรงกดดันทำให้รัสเซียต้องคิดหนักแล้วว่าเยอรมัน โปแลนด์ สวีเดน ยูเครน รวมระบบทหารแล้วมาประชิด จะต้องมีการพูดคุยเลยหรือไม่  

 

#รัสเซีย #ยูเครน #ส่งออก