"หอการค้า" ชู 4 แผนรับมือการเปลี่ยนแปลง 4 แผนเชิงรุก สอดรับวิสัยทัศน์ไทย 8 ข้อของรัฐบาล หนุนจีดีพีไทยปีนี้โตเกิน 3%
นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยหลังรับฟังนายกรัฐมนตรีแถลง 8 วิสัยทัศน์จุดพลังศักยภาพประเทศไทยเป็นที่ 1 ในภูมิภาค ทั้ง 8 ด้าน TOURISM HUB, WELLNESS & MEDICAL HUB, AGRICULTURE & FOOD HUB, AVIATION HUB, LOGISTIC HUB, FUTURE MOBILITY HUB, DIGITAL ECONOMY HUB และ FINANCIAL HUB ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีที่รัฐบาลมีความตั้งใจที่จะวางวิสัยทัศน์ของประเทศในระยะยาว และยุทธศาสตร์ที่นำมาเสนอนั้นถือว่ามีเป้าหมายที่ชัดเจน สามารถเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับแนวคิด Connect Competitive Sustainable ของหอการค้าไทย ที่ใช้เป็นแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาคเอกชน
ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าประเทศไทยเจอความท้าทายที่หลากหลายในปีที่ผ่านมา ทำให้ GDP ในปี 2566 เติบโตได้ไม่เป็นไปตามที่คาดประมาณการไว้ ทั้งเศรษฐกิจโลกผันผวน - เปลี่ยนผ่านรัฐบาลช้ากระทบงบประเทศ – วิกฤตหนี้ครัวเรือน – ดอกเบี้ยสูง - รวมถึงกำลังผลิตหดตัวต่อเนื่อง ทำให้ GDP ที่งปี 2566 เติบโตเพียง 1.9% แม้ว่าเศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง แต่ยังถือว่าเติบโตต่ำกว่าศักยภาพและประเทศเพื่อนบ้าน สำหรับปี 2567 นี้ หากรัฐบาลสามารถดำเนินการผลักดันตามยุทธศาสตร์แต่ละด้าน พร้อมกับเร่งให้งบประมาณรายจ่ายประจำปีออกมาใช้ได้รวดเร็วในช่วงต้นเดือนเมษายนตามที่ได้แถลงไว้ จะทำให้งบประมาณกระจายสู่พื้นที่ต่างๆ และเกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น
โดยหอการค้าฯ มองว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับ 4 การเปลี่ยนแปลงสำคัญ ที่ภาครัฐและเอกชนจะต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาและทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดได้แก่ 1.Geopolitical Change ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในหลายภูมิภาค การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ความกังวลและความคาดหวังต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ รวมถึงผลการเลือกตั้งผู้นำของสหรัฐและหลายประเทศในปีนี้ จะมีส่วนทำให้เกิดความผันผวนของนโยบายเศรษฐกิจโลกและกระทบต่อเศรษฐกิจไทยโดยตรง ที่ผ่านมาต้องขอบคุณภาครัฐที่ทำให้ประเทศไทยสามารถวางตัวเป็นกลาง รวมถึงที่เห็นชัดคือท่านนายกฯ เป็น Good Salesman ขยันขันแข็งลงพื้นที่เจรจากับประเทศต่างๆ เพื่อสร้างโอกาสให้ประเทศไทย ตลอดจนมีมาตรการส่งเสริมและสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ในส่วนนี้ภาคเอกชนพร้อมสนับสนุนรัฐบาลเป็น Team Thailand Plus ในการปลดล็อคส่งเสริมภาคการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว นำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่น สร้างโอกาสในการเติบโตของเศรษฐกิจไทย
2.Technology Change ปัจจุบัน AI Technology เข้ามามีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศทุกมิติ ไทยจึงจำเป็นต้องให้ความจริงจังกับเรื่อง Digital Transformation โดยนำ Digital Technology มาใช้ก้าวข้ามการทำงานรูปแบบเดิมๆที่มีขั้นตอนเยอะ ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้มากยิ่งขึ้น การที่รัฐบาลประกาศว่าประเทศไทยจะเป็น Digital Economy Hub ภาคเอกชนมองว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ยังต้องเสริมเรื่องการยกระดับ Innovation และ Digital ซึ่งเป็นสิ่งประเทศไทยยังขาดอยู่ จึงเสนอให้ภาครัฐยกระดับมาตรการ Talent immigration policy เพื่อดึงดูดคนต่างชาติที่เก่งเข้ามาทำงานและอยู่อาศัยในประเทศไทยจะช่วยให้เกิดการสร้างงาน รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและทักษะสมัยใหม่ โดยรัฐบาลควรมีมาตรการ Incentive ที่เหมาะสมเช่น การอำนวยความสะดวกเรื่อง Visa และ Work permit มาตรการทางภาษี มาตรการพำนักอยู่อาศัยที่เหมาะสม เป็นต้น นอกจากนี้เรื่อง e-Government หอการค้าฯ ยังได้ร่วมกับ สำนักงาน ก.พ.ร. และ กระทรวงพาณิชย์ ยกระดับ Ease of Doing Business ทั้งการปรับปรุงกฎระเบียบ การลดขั้นตอนการติดต่อ การขอและการเซ็นเอกสารจำนวนมากให้แล้วเสร็จภายในปีนี้เพื่อช่วยลดระยะเวลาและต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ
3.Population Change ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาโครงสร้างประชากรจากแนวโน้มจำนวนเด็กเกิดใหม่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการขาดแคลนแรงงานภายในประเทศในอนาคตอันใกล้ ดังนั้น รัฐบาลควรมีนโยบายเพิ่มจำนวนประชากรและพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก และสร้างคนไทยให้กลายเป็น Global Citizen ที่มีคุณภาพผ่านการยกระดับ Upskill Reskill อย่างต่อเนื่อง ส่วนนี้ต้องอาศัยการทำงานที่สอดประสานกันระหว่างภาครัฐ โดยที่ผ่านมาหอการค้าฯ ร่วมมือกับ Harbour Space ซึ่งเป็น Startup University แบบใหม่ เข้ามาช่วยยกระดับทักษะใหม่ๆ ขับเคลื่อนการศึกษาที่ตอบโจทย์โลกอนาคต โดยนำคนเก่งจากทั่วโลกมาสอนนักศึกษาในประเทศไทย สร้าง Young Talent ด้าน IT เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้ทัดเทียมประเทศอื่นๆ ในเวทีโลก นอกจากนั้น หอการค้าไทยยังส่งเสริมและเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแต่ละจังหวัด โดยกลุ่มคนรุ่นใหม่ YEC ของหอการค้าไทย ได้มีส่วนร่วมไป Connect เครือข่ายกับกลุ่ม Young ในภูมิภาคมากขึ้น พร้อมกันนั้น มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ยังได้เปิดตัวสู่การเป็น AI University นำการเรียนการสอนแบบใหม่มาใช้ในการเรียนการสอน โดยใช้ AI เข้ามาเป็นผู้ช่วยในการทำงาน รวมถึงการพัฒนาทักษาะภาษาผ่าน App Duolingo เป็นต้น
4. Climate Change ปัญหาเรื่องสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงช่วงที่ผ่านมาส่งผลกระทบทางตรงต่อประเทศไทย โดยเฉพาะสิ่งจำเป็นที่ต้องเร่งดำเนินการคือการบริหารจัดการน้ำและแก้ไขปัญหาฝุ่นควันอย่างเป็นระบบ ปีนี้ต้องยอมรับว่ายังมีความกังวลต่อปัญหาภัยแล้งที่จะส่งผลต่อผลผลิตภาคเกษตรจากสภาวะเอลนีโญ (El Niño) รวมถึงปัญหา PM 2.5 ที่อาจส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการท่องเที่ยว ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นโจทย์สำคัญที่รัฐบาลจะต้องเตรียมแผนระยะสั้นเพื่อรับมือ และวางมาตรการระยะยาวเพื่อไม่ให้ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบวงกว้างในภาคการเกษตร ภาคการท่องเที่ยวและบริการที่เป็นกำลังสำคัญของเศรษฐกิจไทยในอนาคต ทั้งนี้ ภาคเอกชนเห็นว่ารัฐบาลเคยมีแผนบริหารจัดการน้ำเดิมอยู่แล้ว หากสามารถนำมาปรับปรุงและเชื่อมโยงโครงข่ายการจัดการน้ำทั่วประเทศ จะช่วยทำให้ภาคเกษตรมีความั่นคง ขณะเดียวกันภายในไตรมาส 2 ของปีนี้ หอการค้าฯ มีแผนนำคณะเดินทางไปเจรจาและหารือกับหน่วยงานรัฐและเอกชนประเทศเนเธอร์แลนด์ หนึ่งในประเทศผู้นำด้านการส่งออกผลผลิตภาคการเกษตรลำดับต้น ๆ ของโลก ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มผลผลิต พัฒนาการแปรรูป นำไปสู่การยกระดับรายได้และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของเกษตรกรไทย พร้อมกันนั้น การที่รัฐบาลประกาศแนวทางเรื่อง Net Zero Carbon ภาคเอกชนก็พร้อมที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการปรับตัวเข้าสู่การค้ารูปแบบใหม่ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมร่วมกัน ผ่านมาตรการสิ่งจูงใจสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นมิตรแก่ธรรมชาติ (Nature Positive Economy)
โดยนอกเหนือจาก 4 แผนรับมือการเปลี่ยนแปลงข้างต้นแล้ว หอการค้ายังพร้อมจะดำเนินการ 4 แผนเชิงรุก เสริมกับภาครัฐให้เกิดการลงมือทำร่วมกันดังนี้ 1.ดูแลอัตราดอกเบี้ยและการสนับสนุนแหล่งเงินทุน ปัจจุบันภาคธุรกิจถูกกดดันจากอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับสูงและสถาบันการเงินก็มีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ หอการค้าฯ จึงอยากให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาดูแลอัตราดอกเบี้ยที่สูงอยู่ในขณะนี้ ซึ่งจะช่วยลดภาระของประชาชนและลดต้นทุนผู้ประกอบการ รวมถึงเสนอให้มีมาตรการใหม่ ๆ ช่วยเหลือ SMEs ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน (เติมทุน แก้หนี้ และขยายกิจการ) ซึ่งที่ผ่านมาแม้ทุกฝ่ายจะมีความตั้งใจดีที่อยากช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชน ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนแต่ยังไม่เกิดการทำงานที่เชื่อมโยงกัน ยกตัวอย่าง การปล่อยสินเชื่อหรือการแก้หนี้ที่ภาครัฐพยายามช่วยเหลืออยู่ หากมองไปในระดับภูมิภาค สถาบันทางการเงิน แต่ละสาขาไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ ไม่รู้แนวทางที่ชัดเจน จึงไม่กล้าปล่อยสินเชื่อหรือปล่อยแบบดอกเบี้ยอัตราเสี่ยงสูง ส่วนนี้หอการค้าจังหวัดทั่วประเทศที่มีความใกล้ชิดกับผู้ประกอบการสามารถเข้าไปทำหน้าที่เป็นตัวกลางประสานงาน และขัดกรองผู้ประกอบการที่ยังมีศักยภาพให้กับสถาบันการเงิน เพื่อเข้าถึงสินเชื่อได้อย่างรวดเร็วพร้อมฟื้นฟูและขยายกิจการ ขณะเดียวกันก็ช่วยทำให้สถาบันการเงินเกิดความมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อไปพร้อมกัน นอกจากนี้ ในประเด็นหนี้นอกระบบที่ภาครัฐประเมินตัวเลขไว้ประมาณ 5 แสนล้านบาท ส่วนภาคเอกชน (กกร.) ประเมินไว้ 3 ล้านล้านบาท ซึ่งยังมีจำนวนและความคลาดเคลื่อนกันมากนั้น กกร.อยู่ระหว่างการสำรวจและประเมินตัวเลขหนี้ระบบของประเทศให้ชัดเจน ก่อนนำเสนอตัวเลขให้รัฐบาลได้พิจารณาถึงแนวทางการช่วยเหลือกลุ่มต่าง ๆ ได้อย่างตรงจุด
2.การสนับสนุนการท่องเที่ยวคุณภาพสูง ปี 2567 จะเป็นอีกปีที่ภาคการท่องเที่ยวเติบโตโดดเด่น จากตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติตั้งแต่ต้นปีถึงถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์กว่า 5 ล้านคน โดยคาดการตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งปีประมาณ 35 ล้านคน และอาจทะลุถึง 38 ล้านคนได้ ทั้งนี้ ต้องขอบคุณรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว การยกเว้นการตรวจลงตรา (VISA FREE) ความพยายามในการเพิ่มเที่ยวบินจากต่างประเทศ และการกระตุ้นกิจกรรมท่องเที่ยวในรูปแบบงาน Event ต่างๆ ตลอดทั้งปี เช่น การจัดเทศกาลสงกรานต์และเพิ่มวันหยุดยาวช่วงดังกล่าวเชื่อว่าเทศกาลมหาสงกรานต์ปีนี้จะคึกคักมากเป็นพิเศษอย่างแน่นอน รวมถึงหากสามารถจัดการเรื่องการเพิ่มเที่ยวบินและปรับราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม สนับสนุนเงินทุนให้กับผู้ประกอบการในการพัฒนาคุณภาพ และเพิ่มกำลังการรองรับที่เพียงพอ จะยิ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ภาคการท่องเที่ยวกลับมาคึกคักได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น หอการค้าฯ และหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวยังมุ่งขยายผลการท่องเที่ยวคุณภาพสูง (Happy Model) โดยเฉพาะจังหวัดที่เป็นเมืองรอง ถือเป็นการโปรโมทแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ ทำให้นักท่องเที่ยวกลับมาเที่ยวไทยซ้ำในพื้นที่ใหม่ จะช่วยกระจายรายได้ให้กับผู้ประกอบการทั่วประเทศมากยิ่งขึ้น เสริมกับแผนงาน Soft Power ที่ทำร่วมกับภาครัฐ เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้สินค้าและบริการในพื้นที่ดึงดูดจุดเด่นของแต่ละจังหวัด เช่น งานปลาร้า หมอลำ ที่หอการค้าฯ จะเป็นแกนหลักในการผลักดันไปสู่ Event ใหญ่ของจังหวัดขอนแก่นปลายปีนี้
3.ยกระดับจังหวัดสู่เมืองหลักที่เข้มแข็งพร้อมการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ หอการค้าฯ และรัฐบาลอยู่ระหว่างเตรียมการรผลักดันโครงการพัฒนาเมืองรอง 10 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ จังหวัด นครพนม ศรีสะเกษ แพร่ ลำปาง นครสวรรค์ กาญจนบุรี ราชบุรี จันทบุรี ตรัง และนครศรีธรรมราช ที่ถือเป็นบิ๊กโปรเจคที่หอการค้าฯ และรัฐบาลจะร่วมกันดันเศรษฐกิจในระดับจังหวัดให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด ทั้งการท่องเที่ยว การลงทุน และระบบ Infrastructure โดยภาคเอกชนพร้อมที่จะเริ่มกระตุ้นการลงทุนในท้องถิ่นอย่างจริงจัง ซึ่งจะเป็นโมเดลขยายผลกับจังหวัดอื่นๆในระยะต่อไป ในส่วนของภาคอสังหาริมทรัพย์ ต้องขอขอบคุณรัฐบาลที่ได้ขยายเวลาลดค่าธรรมเนียมการโอน การจดจำนองเมื่อปลายปีที่ผ่านมา เพื่อให้ประชาชนรายย่อยซื้อบ้านในราคาที่ไม่สูงมากและสนับสนุนให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยมากขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการอสังหารายย่อยสามารถยื่นขอส่งเสริมจากบีโอไอ สร้างบ้านอยู่อาศัยในราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาทต่อหน่วยจะช่วยให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจอื่น ๆ ใน Value Chian เพราะเป็นธุรกิจต้นน้ำที่สร้างมูลค่าเพิ่มและส่วนใหญ่เป็น Local Content นอกจากนี้ภาคเอกชนยังอยากให้รัฐบาลได้พิจารณามาตรการลดหย่อนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างออกไปต่อ เพื่อลดภาระของประชาชนและผู้ประกอบการในช่วงที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ 4.การส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ การเร่งเดินหน้าเจรจา FTA เพื่อขยายตลาดการค้า การลงทุนที่มีศักยภาพและมีโอกาสเติบโตสูง เช่น ซาอุดิอาระเบีย เวียดนาม
#หอการค้า #จีดีพี #หนี้ครัวเรือน #ดอกเบี้ย #ค่าเงินบาท