ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า...14 กุมภาพันธ์ในทางสากลจะยกให้เป็น"วันแห่งความรัก"กำดนิดจากนักบุญวาเลนไทน์..หากเป็นสถาบันการศึกษาเมืองไทยยกย่องให้เป็น"วันราภัฎ"วันสำคัญของอดีตวิทยาลัยฝึกหัดครูทั่วประเทศ

มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ริมได้จัดกิจกรรมวันราชภัฎขึ้นและมีการแสดงของเหล่าบรรดานักศึกษาในบรรยากาศงานวัดส่วนของกิจกรรมยามค่ำนอกจากจะมีขบวนแห่ทำบุญต้นผ้าป่าสักการะองค์เจดีย์ยังมีงานรื่นเริงบันเทิงลูกทุ่งเหมือนจำลองวงดนตรีจากเมืองหลวงลูกทุ่งสุพรรณบุรีมาไว้ที่นี่ในนามโครงการนำเสนอผลงานทางดนตรี สรรเพลงศิลป์ จากถิ่นสุพรรณ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 

การแสดงเป็นผลงานของการนำเสนอผลงานทางดนตรีหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิตสาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ด้วยการแสดงและตีความภาพลักษณ์และบุคคิกของวงดนตรีลูกทุ่ง 4 วงดนตรีด้วยกัน

เห็นการแสดงโชว์สี่วงดนตรีขวนให้นึกถึงในวันที่ครูเพลง สุรพล สมบัติเจริญ มาประชันดนตรีที่วัดสนามไชยราษฎร์ศรัทธาธรรม เมื่อปี พ.ศ.2509 กับดนตรีคณะเทียนชัย สมยาประเสริฐ, คณะรวมดวง และคณะสมานมิตร เกิดกำแพง จนคณะครูเพลงสุรพล สมบัติเจริญ ได้รับชัยชนะจนได้​รับการยกย่องว่าเป็นราชาเพลงลูกทุ่งคนแรกและคนเดียวของเมืองไทยขึ้นมาทันทีแม้งานนี้จะต่างมิติของร่องรอยกาลเวลา

การแสดงมีออกร้านรวงต่างชิงช้าสวรรค์ก็มีป้ายถ่ายรูปที่ระลึกและหัวค่ำก็เริ่มการแสดงเริ่มต้น​ประเดิมด้วยวงดนตรีของราชาเพลงลูกทุ่ง"ครูสุรพล สมบัติเจริญ" ที่จำลองการเปิดวิกแสดงละครเพลงที่เป็นจุดเด่นของวงดนตรีเพิ่มไอหนาวไปกับเพลงหนาวจะตายอยู่แล้วสร้าางบรรยากาศย้อนยุคได้อย่างดีทีเดียว

 วงถัดมาของราชินีเพลงลูกทุ่งผู้ช่วงลับแต่ไม่ลับหายไปจากคนฟัง"พุ่มพวง ดวงจันทร์" แม้ค่ำคืนนี้จะเป็นพระจันทร์เสี้ยวแต่นักศึกษาก็เปล่งประกายแสงของนวลจันทร์ให้ก้องเปล่งด้วยเสียงเพลงในมิติต่างๆอย่างได้อารมณ์ทั่งน้ำเสียงลีลาหน้าตาและหางเครื่อง

วงที่สามเป็นของศิลปินเลือดสุพรรณผู้ยังมีลมหายใจ"เสรี รุ่งสว่าง" ที่ทางเพลงมีทั้งพื้นบ้านไทยเดิมเน้นความเป็นสุพรรณบุรีและพันทางข้ามพรมแดนแนวเพลงลูกกรุงที่โชว์พลังความเป็นหางเสียงลูกทุ่ง

ปิดท้ายด้วยความยิ่งใหญ่ด้วยพ่อเพลงเมืองสุพรรณของศิลปินแห่งชาติ"ไวพจน์ เพชรสุพรรณ" ที่เด็กๆตีความๆเป็นลีลาไวพจน์​ได้ทุกกระเบียดนิ้วไม่ว่าจะเป็นดนตนีลีลาน้ำเสียงมาตรฐานเรียกเอากองเชียร์อดใจไม่ไหวต้องไปออกแรงกันหน้าเวทีอย่างคับคั่งพวงมาลัยล้นคอทั้งนักร้อง, นักดนตรีและหางเครื่อง

งานนี้เสมือน​เด็กๆได้ทำบูชาครูเพลงผู้ล่วงลับและคารวะศิลปินผู้เป็นตำนานที่ยังมีลมหายใจ

ที่สำคัญงานนี้ยังมีสูจิบัตรสี่สีสี่วงดนตรีพร้อมคำอธิบายเหตุผลในการคัดเพลงมาแสดงต้นฉบับเสียงร้องคนแต่งและนักเรียบเรียงเสียงประสานอันนี้ต้องขอคารวะจากหัวใจว่าทำด้วยใจค้นคว้าสมกับเป็นงานสถาบันการศึกษาที่ให้ความสำคัญเรื่องวิชาความรู้ไม่ใช่ทำเพื่อสนองความต้องการอยากเล่นอยากฟังอยากดังเพราะทีานี่ทำมาปีที่สามติดต่อกันแล้วเช่นปีที่แล้วเลือกลักษณะงานเป็นเพลงรำวงที่กล่าวถึฃ"ราชาเพลงรำวงครูเบญจมินทร์"

สิ่งเหล่านี้โลกวัฒนธรรมบันเทิงที่เป็นพลังเลือกที่หยิบประเด็นบทเพลงผ่านการเรียนรู้อดีตมารับใข้ปัจจุบันสร้างสรรค์อนาคตอย่างมีพลังสร้างสรรค์ เด็กๆเหล่านี้อนาคตในเส้นทางที่เลือกถูกช่องถูกทางย่อมสดใสทั้งวาสนาการเป็นนักร้อง/นักดนตรีหรือครูสอนมนุษยวิทยาดนตรีขอเป็นกำลังใจให้จากใจคนลูกทุ่งที่ควรชื่ชมและให้กำลีงนอกเหนืองบประมาณที่ทางมหาวิทยาลัยจัดงบให้ดำเนินการแล้วนักศึกษายีงมีเงินเก็บจากการจัดปีที่แล้วและหาแหล่งทุนสนับสนุนเพื่องานนี้ในแง่การแสดงยังมีการประเมินข้อเด่นข้อด้อยเพื่อสั่งสมความรู้เป็นการถอดบทเรียนเพื่อเป็นแนวทางให้รุ่นน้องและตนเองอีกด้วย

ขอบคุณ:เฟซบุ๊ก ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต