“เขื่อนเจ้าพระยา” ถือเป็นสายเลือดใหญ่ที่ใช้ประโยชน์ทางด้านชลประทานและการทดน้ำเพื่อการเกษตร โดยอาศัยน้ำต้นทุนจากเขื่อนหลัก ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ระบายน้ำลงมาตามแม่น้ำในภาคเหนือสู่ภาคกลางและอ่าวไทย ส่งต่อไปยังพื้นที่เพาะปลูกภาคกลาง เข้าคลองส่งน้ำสายใหญ่รวม 5 สาย คือ แม่น้ำน้อย แม่น้ำท่าจีน คลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง คลองชัยนาท-ป่าสัก และคลองชัยนาท-อยุธยา
เขื่อนเจ้าพระยา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการชลประทานเจ้าพระยาใหญ่ เพื่อการเพาะปลูกสำหรับพื้นที่ราบภาคกลางสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยครอบคลุมพื้นที่ 22 จังหวัด ซึ่งโครงการเขื่อนเจ้าพระยา เป็นพระอัจฉริยะภาพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกล ทรงเล็งเห็นว่าที่ราบลุ่มภาคกลางอันกว้างใหญ่ มีดินเป็นที่ราบ ถ้าสามารถทำการเพาะปลูกได้เต็มศักยภาพก็จะเกิดประโยชน์ต่อราษฎรและประเทศชาติมหาศาล ได้มีการศึกษาความเหมาะสมด้านต่างๆ ตลอดมา จนได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2495 จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2500
และเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดเขื่อน นับตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลาถึง 67 ปี แล้ว ที่ชาวลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้มีน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค และทำการเกษตรได้อย่างต่อเนื่อง
ปีนี้ กรมชลประทาน โดยสำนักงานชลประทานที่ 12 ได้จัดกิจกรรมน้อมรำลึกพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเสด็จเปิดเขื่อนเจ้าพระยา โดยจัดกิจกรรม “เดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพ 67 ปี เขื่อนเจ้าพระยา ธาราหทัยราษฎร์” ณ ลานสวนเฉลิมพระเกียรติฯ เขื่อนเจ้าพระยา จากนั้นคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานชลประทานที่ 12 ทำความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และกล่าวน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ แท่นจารึกพระปรมาภิไธย และปล่อยพันธุ์ปลา จำนวน 6,700 ตัว เพื่อถวายเป็นพระรเจ้าพระยา หน้าที่ทำการสำนักงานชลประทานที่ 12 เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท
ตลอด 67 ปีที่ผ่านมา เขื่อนเจ้าพระยา ได้เปลี่ยนพื้นที่อันกว้างใหญ่ของพื้นที่ราบภาคกลาง จากที่เคยเสียหายจากอุทกภัยและภัยแล้ง มาเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์สามารถหล่อเลี้ยงวิถีชีวิต สร้างความอยู่ดีกินดีสร้างงานสร้างอาชีพ สร้างความยั่งยืนให้กับประชาชนและประเทศไทยจนถึงทุกวันนี้ โดยกรมชลประทานได้มีการบำรุงรักษาเขื่อนเจ้าพระยาให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ พร้อมสำหรับการรองรับการบริหารจัดการน้ำทั้งในฤดูน้ำหลากและฤดูแล้งตลอดเวล