จากที่มาตรการการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2566/67 กำหนดให้มีการวางแผนการบริหารจัดการน้ำแบบยั่งยืน โดยจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำ เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำทุกกิจกรรมในพื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง ตามนโยบายของรัฐบาล และ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นั้น

ล่าสุด นายวัลลพ กรรณิการ์ ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา สำนักงานชลประทานที่ 6 มอบหมายให้นางสาวสานิตา ชลไพร หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาการใช้น้ำ นายจุลมณี วิถีเทพ นักวิชาการเกษตร ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2566/67 โดยมีนายพิเชษฐ์ ชุบสุวรรณ หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 1 โครงการชลประทานร้อยเอ็ด พาลงพื้นที่พบปะกับตัวแทนกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางในการบริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำห้วยแอ่งในการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 266/67 ณ อ่างเก็บน้ำห้วยแอ่ง ตำบลโพธิ์สัย อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด

ทั้งนี้ อ่างเก็บน้ำห้วยแอ่ง มีการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง จำนวน 14,899 ไร่ แยกเป็น ข้าวนาปรัง 14,399 ไร่ พืชไร่-พืชผัก 300 ไร่ และบ่อปลา 200 ไร่ อ่างเก็บน้ำห้วยแอ่งมีการส่งน้ำให้กับเกษตรกรที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้งแบบรอบเวรตามคำขอ และเกษตรกรผู้ใช้น้ำได้ตกลงกับคณะกiรมการจัดการชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยแอ่ง (JMC) จะส่งน้ำให้กับแปลงเพาะปลูกเมื่อน้ำในแปลงนาแห้ง เพื่อเป็นการให้เกษตรกรได้เรียนรู้วิธีการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง และนำมาปรับใช้ในการทำนาต่อไป