“นายก ชุติมา”จ่อชงสภา ทต.ท่าเสา นำทีมผู้บริหาร ฯ -ปลัด-ผอ.กองช่าง เร่งผลักดันงบกว่า 60 ล้าน หนุน 3 โครงการ ติดตั้งแพสูบน้ำน่าน ขยายระบบผลิตน้ำประปาและวางท่อส่งน้ำประปาเต็มรูปแบบ 10 หมู่บ้าน ทั้งตำบล  "เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุง สุข" ให้กับประชาชนเขตเทศบาลมีน้ำใช้อย่างพอเพียง ไม่เดือดร้อนขัดสน-ซื้อน้ำประปาในราคาแพง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ที่ห้องประชุมผู้บริหารเทศบาลตำบลท่าเสา อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ นางชุติมา  อาจณรงค์กร  นายกเทศมนตรีตำบลท่าเสา พร้อมด้วย นางพัชราภรณ์  นาคพรหม นางสาวพิราวรรณ จันทร รองนายกฯ ร.ต.อ วุฒิพงษ์  เพ็ชรเกิด เลขานุการนายกฯ ว่าที่ ร.ท.ธรรมรัตน์ สวนสุข ปลัดเทศบาลตำบลท่าเสา และ   นายพิชัย เพิ่มพูลวัฒนะกุล ผู้อำนวยการกองช่าง ร่วมประชุมสรุปโครงการก่อสร้างโรงสูบน้ำดิบจากแม่น้ำน่านพร้อมท่อส่งน้ำดิบ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งและปัญหาการขาดแคลนน้ำประปาให้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าเสา ทั้ง 10 หมู่บ้าน ประกอบด้วย 1.บ้านคลองห้วยไผ่ 2.บ้านหนองบัว 3.บ้านหนองผา-นาโปร่ง 4.บ้านหนองคำฮ้อย  5.บ้านม่อนดินแดง 6.บ้านบนดง 804 7.บ้านดงตะขบ 8.บ้านดงตะขบ 9.บ้านหนองหิน 10.บ้านม่อนดินแดง  จำนวนประชากรกว่า 20,000 คน   เกือบ 8,000 ครัวเรือน ปัจจุบันเทศบาลจ่ายน้ำประปาให้กับประชาชนในพื้นที่ 3 หมู่  เช่น หมู่ 5 ม่อนดินแดง หมู่ 8 บ้านดงตะขบ และ หมู่ 10 ม่อนดินแดง ด้วยกำลังการผลิตน้ำประปาของทางเทศบาลตำบลท่าเสา ส่วนอีก 7 หมู่บ้านต้องซื้อน้ำประปาจากพื้นที่เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ อาทิ หมู่ 1.บ้านคลองห้วยไผ่ 2.บ้านหนองบัว 3.บ้านหนองผา-นาโปร่ง 4.บ้านหนองคำฮ้อย  6.บ้านบนดง804 7.บ้านดงตะขบ และ หมู่9.บ้านหนองหิน เพื่อให้ประชาชนได้มีน้ำอุปโภคบริโภคใช้อย่างพอเพียง


ที่ผ่านมา เทศบาลตำบลท่าเสา   ได้ให้บริการน้ำประปาในเขตตำบลท่าเสา ตั้งแต่ปี 2546 โดยมีครัวเรือนทั้งหมดกว่า 6,000 ครัวเรือน ระบบผลิตน้ำประปาที่ทางเทศบาลตำบลท่าเสาดำเนินการเองไม่สามารถผลิตและจ่ายให้ได้ครอบคลุมทั้งหมด จึงติดต่อประสานงานกับทางเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ เพื่อจัดซื้อน้ำประปาจากเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์มาแจกจ่ายให้กับประชาชนในเขตตำบลท่าเสา โดยจัดซื้อน้ำในแต่ละปี ด้วยประมาณ 9,000,000 – 10,000,000 บาท/ต่อปี ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเป็นเงินจำนวนมากติดต่อกันมาหลายปี ส่งผลกระทบต่องบประมาณในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านอื่นไม่เพียงพอ

เทศบาลได้มีน้ำประปาใช้อย่างเพียงพอ โดยมีการจ้างวิศวกรเข้ามาดำเนินการศึกษาออกแบบแพสูบน้ำจากแม่น้ำน่าน พร้อมเส้นทางการ
จนกระทั่งต่อมาในปีพุทธศักราช 2564 ทางเทศบาลตำบลท่าเสา ได้เริ่มโครงการแก้ไขปัญหาเรื่องระบบน้ำประปาเพื่อให้ประชาชนในเขตวางท่อส่งน้ำผ่านค่ายทหารมณฑลทหารบกที่ 35 “ค่ายพิชัยดาบหัก” ด้วยระยะทางเกือบ 5 กิโลเมตร เพื่อส่งน้ำไปยังพื้นที่กักเก็บน้ำหนองช้างเพรียง แหล่งพักน้ำขนาดใหญ่ พื้นที่ตั้งโรงสูบน้ำดิบและแหล่งผลิตน้ำประปาของเทศบาลตำบลท่าเสา  เพื่อแจกจ่ายน้ำให้กับประชาชนทั้งหมด 10 หมู่บ้าน

ล่าสุด เทศบาลตำบลท่าเสา ได้มีการออกแบบเตรียมความพร้อมของโรงสูบน้ำดิบจากแม่น้ำน่านพื้นที่มณฑลทหารบกที่ 35 พร้อมท่อส่งน้ำดิบด้วยระยะทางประมาณ 4,800 เมตร เพื่อส่งน้ำมายังบริเวณพื้นที่กักเก็บน้ำหนองช้างเพรียง แหล่งพักน้ำขนาดใหญ่ พื้นที่ตั้งโรงสูบน้ำดิบและแหล่งผลิตน้ำประปาของเทศบาลตำบลท่าเสา ซึ่งจะต้องผ่านพื้นที่หลายแห่งประกอบด้วย ค่ายทหารจากมณฑลทหารบกที่35  พื้นที่แขวงทางหลวงอุตรดิตถ์ที่ 1 พื้นที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(อุตรดิตถ์) และ พื้นที่จากกรมเจ้าท่า(แพร่) ซึ่งได้รับอนุญาตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อวางแผนดำเนินการจัดการวางท่อระบบส่งน้ำดิบตั้งแต่แม่น้ำน่านจนถึงแหล่งพักน้ำขนาดใหญ่ พื้นที่ตั้งโรงสูบน้ำดิบและแหล่งผลิตน้ำประปาของเทศบาลตำบลท่าเสา เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำประปาให้กับประชาชนทั้ง 10 หมู่บ้าน มีน้ำอุปโภคบริโภคอย่างพอเพียง


นางชุติมา นายกเทศมนตรีบาลตำบลท่าเสา กล่าวว่า คณะผู้บริหารเทศบาลตำบลท่าเสาพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ฯ ,  ปลัดเทศบาล , ผู้อำนวยการกองช่าง และ เจ้าหน้าที่ส่วนเกี่ยวข้องได้มีการประชุมหารือกันเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำประปาในพื้นที่เทศบาลตำบลท่าเสาให้กับชาวบ้านทั้ง 10 หมู่บ้าน ได้มีน้ำอุปโภคบริโภคอย่างพอเพียง ปัจจุบันเทศบาลตำบลท่าเสามีน้ำดิบในการผลิตน้ำประปาเพียง 3 หมู่บ้านจาก 10 หมู่บ้าน ต้องซื้อน้ำประปาจากทางเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์  ปีละ 9-10 ล้านบาท ซื้อติดต่อกันมานานหลายปี ส่งผลงบประมาณของทางเทศบาลที่มีอยู่  จึงได้ร่วมกันหาทางออกระบบน้ำประปาเต็มรูปแบบ ด้วยการดึงน้ำจากแม่น้ำน่านผ่านระบบโรงสูบน้ำมาลงพื้นที่กักเก็บน้ำหนองช้างเพรียง แหล่งพักน้ำขนาดใหญ่ พื้นที่ผลิตน้ำประปาของเทศบาลตำบลท่าเสา ด้วยการจัดหาวิศวกรออกแบบแพสูบน้ำดิบจากแม่น้ำน่าน โดยใช้เวลาออกแบบนานนับปี สาเหตุที่ต้องดำเนินการเพราะว่าในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ทางเทศบาลตำบลท่าเสา  เรามีน้ำดิบในการผลิตน้ำประปาไม่พอเพียง ต้องซื้อจากทางเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์และขายต่อให้กับประชาชนในพื้นที่ด้วยความจำเป็นที่ต้องซื้อเพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนและได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำประปาในการอุปโภคบริโภค


นางชุติมา  กล่าวอีกว่า  ได้จัดแบ่งออกเป็น 3 โครงการ โครงการแรกติดตั้งแพสูบน้ำดิบจากแม่น้ำน่านวางระบบท่อส่งน้ำดิบรอดใต้พื้นผิวถนน รอดพื้นที่ค่ายทหาร รอดใต้ทางรถไฟลงสูงพื้นที่เก็บกักน้ำขนาดใหญ่ที่หนองช้างเพรียง ด้วยงบประมาณ 22 ล้านบาท โครงการที่สอง ขยายระบบผลิตน้ำประปาพื้นที่หนองช้างเพรียงให้จ่ายน้ำมากขึ้นพอเพียงกับ 10 หมู่บ้านหรือทั้งตำบล ด้วยงบประมาณ 24 ล้าน ที่ผ่านมาน้ำดิบในหนองช้างเพรียงมีไม่เพียงพอต้องอาศัยเครื่องสูบน้ำดิบระยะไกลจากกรมชลประทานลงสู่แหล่งน้ำดิบของทางเทศบาลตำบลท่าเสาโดยเสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าน้ำมันในการสูบน้ำเป็นเวลา 2 เดือน วงเงินกว่า 500,000 บาท โครงการที่สามเป็นการวางท่อระบบน้ำประปาเข้าทุกหมู่บ้านด้วยงบประมาณ 19 ล้านบาท รวมงบประมาณที่ต้องใช้ทั้ง 3 โครงการทั้งสิ้นประมาณกว่า 60 ล้านบาท โดยมีคณะกรรมการดำเนินงานในเรื่องของรายละเอียดการทำแพสูบน้ำดิบ หากเสร็จสิ้นพร้อมนำเสนอเข้าสู่สภาฯเพื่อขออนุมัติงบประมาณจ่ายขาดเงินสะสมของทางเทศบาลตำบลท่าเสาทันที


“ เรื่องน้ำประปาไม่พอเพียงมีปัญหามาเป็นเวลานานกว่า 10 ปีแล้ว จากการขาดแคลนน้ำจากเริ่มต้นต้องใช้รถดับเพลิงวิ่งส่งน้ำลงในพื้นที่เก็บกักแหล่งน้ำดิบหนองช้างเพรียง รวมถึงการซื้อน้ำประปาจากทางเทศบาลมาเป็นเวลากว่า 10 ปี เสียค่าใช้จ่ายตกปีละกว่า 10 ล้านบาท หากทั้ง 3 โครงการเสร็จสิ้น สามารถส่งน้ำประปาให้กับประชาชนใน 10 หมู่บ้านมีน้ำประปาใช้อย่างพอเพียง ทางสภาและฝ่ายบริหารเข้ามาทำงานเพื่อบริการพี่น้องประชาชน “เพื่อบำบัดทุกข์บำรุง สุข” เชื่อว่าทางสภาคงเข้าใจในเรื่องปัญหาดังกล่าวและคงให้ความร่วมมือในการสนับสนุนผ่านงบประมาณดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าเสาทุกคน” นางชุติมา กล่าว.
ด้าน ร.ท.ธรรมรัตน์ ปลัดเทศบาลตำบลท่าเสา กล่าวว่า เนื่องจากปัญหาของเทศบาลตำบลท่าเสา มีปัญหาเรื่องภัยแล้ง ช่วงหน้าแล้งน้ำจะแห้งขอด ไม่มีน้ำสำหรับผลิตน้ำประปาให้กับประชาชนกลุ่มผู้ใช้น้ำในหลายหมู่บ้าน นายกเทศมนตรีตำบลท่าเสาจึงมีนโยบายนำน้ำมาเติมแหล่งเก็กกักน้ำหนองช้างเพรียง โดยตั้งสถานีสูบน้ำจากแม่น้ำน่านมาที่หนองช้างเพรียง เพื่อดำเนินการผลิตน้ำประปาแล้วจ่ายต่อให้กับประชาชนในพื้นที่ 3 หมู่บ้าน หมู่5 ม่อนดินแดง หมู่8 บ้านดงตะขบ และ หมู่ 10 ม่อนดินแดง หากโครงการนี้สำเร็จทางเทศบาลตำบลท่าเสาจะมีน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปาจ่ายให้กับประชาชนครบ 10 หมู่บ้าน มีน้ำใช้อย่างพอเพียง โดยไม่ต้องหาซื้อน้ำจากเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์อีกต่อไป 


ทั้งนี้  โครงการดังกล่าว ฯ  ได้มีการศึกษาด้านผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานราชการต่าง  ๆ อาทิ พื้นที่ทหาร พื้นที่ถนนหลวง พื้นที่ทางรถไฟ ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากพล.ต.วิทยา แก้วพรม ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 35 , นายพิริยะ กองสังข์  เจ้าพนักงานตรวจท่าชำนาญการ สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาแพร่ ขออนุญาตดันท่อประปาลอดใต้ทางรถไฟ ระหว่าง สถานีศิลาอาสน์-สถานีบ้านด่าน บริเวณทางรถไฟ  หมู่ที่  7  ตำบลท่าเสา  จากแขวงบำรุงทางอุตรดิตถ์ และแขวงทางหลวงอุตรดิตถ์ที่1 อยู่ขั้นตอนการออกแบบประมาณการราคาและขั้นตอนการขออนุมัติจ่ายขาดเงินสะสมของทางเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ด้วยการผ่านสภาฯ.