อธิการ ม.ราชภัฏสุรินทร์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาศักยภาพชุมชนนวัตกรรม และคลัสเตอร์พืชสมุนไพรบนฐานทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและพลิกฟื้นเศรษฐกิจฐานราก
วันนี้( 7 กุมภาพันธ์ 2567)ที่ ห้องประชุมบันทายศรี ชั้น 3 อาคาร 44 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ผศ.ดร.ฉลอง สุขทอง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เป็นประธานนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาศักยภาพชุมชนนวัตกรรม และคลัสเตอร์พืชสมุนไพรบนฐานทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและพลิกฟื้นเศรษฐกิจฐานราก มี หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงาน วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ และแขกผู้มีเกียรติ ร่วมในพิธีลงนามในครั้งนี้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นภาพรรณ พัฒนฉัตรชัย คณบดีคณะวิทยาการจัดการ ขอขอบพระคุณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เป็นอย่างสูงที่ให้เกียรติมาเป็นประธาน ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาศักยภาพชุมชนนวัตกรรม และคลัสเตอร์พืชสมุนไพรบนฐานทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและพลิกฟื้นเศรษฐกิจฐานราก จังหวัดสุรินทร์ ภายใต้การทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่ายใน จังหวัดสุรินทร์ ในครั้งนี้ พร้อมทั้งขอบคุณ หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงาน วิสาหกิจชุมชน ผู้แทนจากภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ผู้บริหารและแขกผู้มีเกียรติทุกท่านที่มาร่วมงานในวันนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างนวัตกรชุมชนที่มีทักษะการรับ ปรับใช้ ต่อยอดนวัตกรรรม ยกระดับมาตรฐานและเพิ่มศักยภาพการผลิตผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรบนฐานทรัพยากรท้องถิ่นให้กับชุมชนได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้นวัตกรรมพืชสมุนไพรสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับศักยภาพชุมชนผ่านกระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานพืชสมุนไพร จังหวัดสุรินทร์ที่เกิดจากการบูรณาการจากทุกภาคส่วน
โดยมีเจตนารมณ์ความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างนวัตกรชุมชนที่มีทักษะการรับ ปรับใช้ ต่อยอดนวัตกรรรม รวมถึงยกระดับมาตรฐานและเพิ่มศักยภาพ การผลิตผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรบนฐานทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อให้เกิดชุมชนนวัตกรรมเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ มีความสามารถในการพัฒนา พึ่งตนเอง และจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้นวัตกรรมพืชสมุนไพรสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับศักยภาพชุมชนผ่านกระบวนการเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้เพื่อให้ชุมชนเป้าหมายสามารถยกระดับรายได้หรือแก้ไขปัญหาสำคัญให้กับชุมชนได้เพิ่มขึ้นด้วยผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทั้งในระดับจังหวัด และระดับพื้นที่ และประเด็นสำคัญ คือ เกิดกลไกการพัฒนา และสร้างความเข้มแข็งให้กับท้องถิ่นผ่านเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานพืชสมุนไพร จังหวัดสุรินทร์
ด้าน ผศ.ดร.ฉลอง สุขทอง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ประธานในพิธีได้กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาศักยภาพชุมชนนวัตกรรม และคลัสเตอร์พืชสมุนไพรบนฐานทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและพลิกฟื้นเศรษฐกิจฐานราก จังหวัดสุรินทร์ ในครั้งนี้
จากแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2560-2564) ต่อเนื่องถึงแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) ที่มุ่งพัฒนาสมุนไพรไทยตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อให้ใน 5 ปี ข้างหน้าประเทศไทยจะเป็นประเทศส่งออกวัตถุดิบสมุนไพรคุณภาพและผลิตภัณฑ์สมุนไพรชั้นนำของภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสมุนไพรไทยในตลาดทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ เนื่องจากตลาดสมุนไพรเป็นตลาดที่มีการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพที่คำนึงถึงความปลอดภัยและมาจากธรรมชาติ ประกอบกับจังหวัดสุรินทร์เป็นหนึ่งในจังหวัดนำร่องเมืองสมุนไพร ด้านคลัสเตอร์วัตถุดิบสมุนไพร จึงเป็นโอกาสของเกษตรกร ผู้ประกอบการ และหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม และพลิกฟื้นเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนจากพืชสมุนไพร
ดังนั้นการขับเคลื่อนการพัฒนาศักยภาพชุมชนนวัตกรรม และคลัสเตอร์พืชสมุนไพรบนฐานทรัพยากรท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในจังหวัดสุรินทร์ และภาคีเครือข่าย จะเป็นเครื่องมือ และกลไกความร่วมมือที่สำคัญในการนำไปสู่การปฏิบัติแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เกิดการสร้างอาชีพและรายได้ได้จริง สร้างองค์ความรู้และร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมต่อไป สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาของจังหวัดสุรินทร์ตามแผนพัฒนาจังหวัดสุรินทร์ ประเด็นการพัฒนาที่ 1 การพัฒนาและส่งเสริมเกษตรอินทรีย์อย่างครบวงจรและยั่งยืน
ขอขอบคุณหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงาน วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ ตัวแทนภาคเอกชน ภาคประชาสังคม รวมถึงประชาชนในพื้นที่ที่ให้ความร่วมมือบูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อเกิดกลไกการพัฒนา และสร้างความเข้มแข็งให้กับท้องถิ่นผ่านเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานพืชสมุนไพร จังหวัดสุรินทร์ พร้อมนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม อย่างยั่งยืนต่อไป