แม้สถานการณ์ไฟป่าด้านจังหวัดตราดเริ่มผ่อนคบายลงหลังประชาชนฝั่งประเทศเพื่อนบ้านลดการเผาพื้นที่ทางการเกษตรกรรมชั่วคราว ทำให้พื้นที่ฝั่งประเทศไทย ด้านอำเภอเมืองตราดมีกลุ่มควันลดลง
นายเกรียงไกร ปัญญาพงศธร นายอำเภอเมืองตราด เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา 3 ตำบลของอำเภอเมืองตราดที่ติดกับฝั่งประเทศกัมพูชา(พระตะบอง,โพธิสัต) ประกอบด้วย ตำบลท่ากุ่ม ตำบลตะกาง และตำบลชำรากได้รับผลกระทบจากกลุ่มควันปกคลุมพื้นที่ทางการเกษตรกรรม โดยเฉพาะสวนผลไม้ และยางพารา และมีเศษวัสดุที่เกิดจากไฟไหม้ลอยติดเข้าในพื้นทีทจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีไฟป่าไหม้ลุกลามเข้ามาบริเวณป่าธรามชาติจำนวนมากที่ได้รับความเสียหาย และยังเกิดระเบิดในพื้นที่เนื่องจากยังมีบางพื้นที่ยังไม่สามารถเก็บกู้ระเบิดได้ ซึ่งทางอำเภอเมืองตราด โดยเฉพาะตนเองมและเจเาหน้าที่อส.เมืองตราดได้เข้าไปตรวจสอบปัญหาใน 3 ตำบล พบกับนายกอบต.ท่ากุ่ม และนายกเทศบางตำบลตะกาง และตำบลชำรากเพื่อร่วมกันแก้ปัญหานี้ ซึ่งต้องยอมรับว่า ทางอำเภอเมืองตราดไม่สามารถเข้าไปควบคุมได้เนื่องจากต้นเหตุเกิดจากการประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรมของพี่น้องชาวกัมพูชา ซึ่งเป็นเรื่องการทำมาหากินของฝ่ายเขาที่เราไม่สามารถทำอะไรได้นอกจากการขอความร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างกัน
“ผมกับผู้บริหารท้องถิ่นเดินทางขึ้นเขาบรรทัดและไปพบกับประชาชนฝั่งกัมพูชาพบกับทหารชายแดนของฝั่งเขา และได้ร่วมพูดคุยกันเเบบเพื่อนบ้านที่ดีระหว่างกัน ซึ่งเขาชื่นชมและรู้สึกดีใจที่ฝั่งเราเข้าไปเยี่ยมและบอกเล่าปัญหาให้ฟัง ซี่งผมยอมรับว่า ประชาชนกัมพูชาเข้าใจปัญหา และพร้อมจะให้ความร่วมมือ ซึ่งผมในฐานะนายอำเภอเมืองตราดที่มีพื้นที่ติดกับ 2-3 อำเภอในฝั่งกัมพูชาจะร่วมหารือและประชุมระหว่างอำเภอที่มีพื้นที่ติดต่อกันเพื่อร่วมมือกันแก้ปัญหา ซึ่งผมเข้าใจถึงการทำมาหากินของประชาชน เนื่องจากประชาชนชาวกัมพูชาจะทำการเกษตรที่ติดกับพื้นที่ชายแดน แต่ของเราไม่ได้ทำเช่นนั้น ซึ่งเราไม่สามารถเข้าไปสั่งการอะไรได้“
นายอำเภอเมืองตราด กล่าวอีกว่า ส่วนการทีทรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศของไทยได้โทรศัพท์สายตรงหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมของกัมพูชาเพื่อหามาตรการแก้ไขปัญหาการเผาป่าในกัมพูชาร่วมกันนั้นเป็นเรื่องที่ดีและเป็นเรื่องที่จะทำให้การแก้ปัญหาในระดับรัฐบาลกับรัฐบาลซึ่งจะสามารถกำหนดแนวทางให้ทั้งสองประเทศได้แก้ปัญหาได้ทั้งระบบ ขณะที่ในระดับพื้นที่ก็สามารถนำข้อหารือหรือนโยบายของรัฐบาลทั้งสองมาทำให้เกิดแนวทางในการปฏิบัติในระดับพื้นที่ได้ ซึ่งจะทำให้เกิดการแก้ปัญหาได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
สำหรับในส่วนการแก้ไขปัญหาไฟป่าบริเวณเทือกเขาบรรทัดพื้นที่อำเภอเมืองตราดนั้น นายอำเภอเมืองตราด ได้ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ เช่น สนง.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ,เทศบาลตำบลตะกาง,อบต.ท่ากุ่ม และหน่วยทหารในพื้นที่ ได้ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง โดย มีการประชุมติดตามประเมินสถานการณ์และบริหารจัดการภัยตามขั้นตอนแผนเผชิญเหตุของท้องถิ่น หากเกินศักยภาพให้แจ้งอำเภอ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนเครื่องมือ และกำลังพลในการปฏิบัติภารกิจ และมอบหมายปลัดอำเภอ และ ปภ.จังหวัดตราด ประสานการปฏิบัติกองร้อยทหารพรานนาวิกโยธินที่ 533 บ้านชำราก เพื่อขอความร่วมมือกำลังพลที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำฐานบ้านชำรากแนวเขตรับผิดชอบตลอด ระยะ 15 กิโลเมตร (บางส่วนตั้งฐานอยู่บนยอดเขา) สังเกตุการณ์ แจ้งเตือนสถานการณ์และช่วยดับไฟ เพื่อไม่ให้ไฟลุกลามลงด้านล่าง ซึ่งฝ่ายทหารให้ความร่วมมืออย่างดียิ่งในห้วงเวลาที่ผ่านมา
ทั้งนี้ นายเกรียงไกร ปัญญาพงศธร นายอำเภอเมืองตราด พร้อมด้วย ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง ผู้แทนจาก สนง.ปภ.จังหวัด กำนันตำบลชำราก สจ.เขตพื้นที่ และผบ.ร้อย ทพ.นย. 533 เดินทางไปพบเจ้าหน้าที่ฝ่ายกัมพูชาที่แนวเขตชายแดนระหว่างบ้านชำรากกับหมู่บ้านจอมวย ราชอาณาจักรกัมพูชา เพื่อแจ้งสถานการณ์และขอความร่วมมือฝ่ายกัมพูชาช่วยกำกับดูแลการเผาทำลายป่าบริเวณชายแดนเพื่อป้องกันปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนชาวไทยและกัมพูชาบริเวณชายแดน
สำหรับสถานการณ์ไฟป่าบนเทือกเขาบรรทัด ล่าสุด ในวันนี้ ประกอบด้วย พื้นที่ ม.5 ต.ชำราก ไม่พบกลุ่มควันทั้งสองจุด ผลสืบเนื่องมาจากฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านในพื้นที่ ช่วยกันดับไฟ และทำแนวกันไฟ ประกอบกับมีฝนที่ตกลงมาในบางพื้นที่ทำให้ไฟป่าดับไม่ลุกลาม ขณะพื้นที่ ม.2,3,5 ต.ตะกาง มีหมอกควันจางๆ บนเทือกเขาบรรทัด นอกจากนี้ กำนันตำบลชำรากได้ประสานหน่วยทหาร นพค.14 นำโดรนมาบินสำรวจบนเทือกเขาบรรทัด ไม่พบกลุ่มควันไฟบริเวณพื้นที่ ต.ชำราก และ ต.ตะกาง สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ
สำหรับปัญหาไฟป่าชายแดนไทยกัมพูชาด้านจังหวัดตราดนายณัฐพงษ์ สงวนจิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ได้ให้ความสำคัญมากและเมื่อเกิดปัญหาขึ้นได้ออกประกาศจังหวัดตราด เรื่อง ห้ามเผาไร่ นา ขยะ และการเผาในที่โล่งทุกประเภท โดยเด็ดขาดในพื้นที่จังหวัดตราด และให้หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทุกหน่วยงาน ปฏิบัติ พร้อมขอให้ประชาชน งด การกระทำใดๆ อันเป็นเหตุให้เกิด กลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า หากมีการฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดี ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. 2560 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 25,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยประกาศเมื่อ วันที่ 26 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา