เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567 นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า
ทำไมหุ้น itv ยังเป็นหุ้นสื่อมวลชนและพิธาอาจขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้าม
เห็นพรรคการเมืองและผู้นำทางความคิดของพรรคก้าวไกล ออกมาสื่อสารกับสังคมต่อเนื่องที่อาจทำให้สังคมไขว้เขวหรือทำให้คำวินิจฉัยศาลรัฐฐธรรมนูญเบี่ยงเบนขาดความน่าเชื่อถือ
ในฐานะที่ผมเคยเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ในหลายกรณี ต่างกรรมต่างวาระกันมา
จึงตัดสินใจเขียนความเห็นประกอบข้อกฎหมาย โดยยึดแนวทางคำวิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ แนวทางคำพิพากษาศาลฎีกา
โดยจะขอเสนอเป็นความเห็นส่วนตัว ประกอบข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในการติดตามข่าวสาร ซึ่งจะไม่สามารถไปชี้นำหรือส่งผลอย่างหนึ่งอย่างใดต่อคำวิจฉัยคดีที่จะมีขึ้น ดังนี้ครับ
1)บริษัทitv ยังคงเป็นสื่อมวลชน
โดย itv มีสถานะความเป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีมีวัตถุประสงค์
จดแจ้งไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเกี่ยวกับสื่อรวม5 ข้อ
เช่นรับบริหารและดำเนินกิจการสถานีวิทยุ โทรทัศน์ โทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกและโทรภาพทางสาย(เคเบิลทีวี) เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ บริการประชาสัมพันธ์และจัดรายการทางวิทยุโทรทัศน์ โทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิกและโทรภาพทางสาย (เคเบิลทีวี) แพร่ภาพโทรทัศน์ ผลิตรายการ ประชาสัมพันธ์ รับจ้างผลิตสื่อ ฯลฯ จนถึงปัจจุบันitv ยังไม่มีการจดทะเบียนเลิกบริษัทหรือจดยกเลิกวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนทั้ง5ข้อดังกล่าว
:จึงเห็นว่า นายพิธา น่าจะขาดคุณสมบัติและมี ลักษณะต้องห้าม
สอดรับกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 14/วินิจฉัยนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามในคดีการถือหุ้น
บริษัทวีลัคมีเดีย ที่อ้างว่วปิดกิจการแล้ว แต่ไม่จดทะเบียนยกเลิกบริษัท ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า ยังสามารถประกอบกิจการสื่อมวลชนได้ตลอดเวลา ตราบใดที่ไม่ได้จดเลิกบริษัท
เช่นเดียวกับคำพิพากษาสาลฎีกาในทำนองเดียวกันกับผู้สมัคร
เลือกตั้งสส4 ราย ที่ไม่ได้จดทะเบียนเลิกประกอบกิจการสื่อขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามเช่นกัน
2)บริษัทITV ชนะคดีเบื้องต้นแล้ว 2ยก รัฐต้องคืนคลื่นความถี่และชดใช้ค่าเสียหาย
โดยitv ที่ได้ถูกปิดสถานีและยึดคลื่นคืนเพราะไม่ชำระหนี้ค่าสัมปทานแก่รัฐ เมื่อ17ปีก่อน ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ หมายเลขดำที่ 29/2545 โดยอ้างว่ารัฐให้สัมปทานกับบุคคลอื่น เป็นเหตุให้บริษัทฯได้รับผลกระทบต่อฐานะการเงินอย่างรุนแรง จึงขอให้ สำนัดปลัดสำนักนายกฯ ชดเชยความเสียหายตามสัญญาเข้าร่วมงานฯ
-คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้itvชนะ ได้รับเงินเยียวยาและคืนคลื่นความถี่
-สปน นำคดีสู่ ต่อศาลปกครองกลาง แต่ศาลพิพากษายกคำร้อง' -สปน. ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาต่อ
-สถานะปัจจุบัน ศาลปกครองสูงสุดยังไม่มีคำพิพากษาในคดีนี้
:จึงเห็นว่า นายพิธาน่าจะขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามเพราะคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการและศาลปกครองกลาง ให้ itv เป็นผู้ชนะคดี ได้รับการเยียวยา และคืนสัมปทานคลื่นความถี่โทรทัศน์ i
Itv จึงอยู่ในฐานะที่พร้อมประกอบกิจการสถานีโทรทัศน์ได้
3))บริษัทitv ไม่ได้ประกอบกิจการแล้ว แต่ยังมีบริษัทลูกประกอบกิจการสื่อ
และมีรายรับจากบริษัทอาร์ตแวร์มีเดีย ที่itvเป็นผู้ถือหุ้น99%
โดยมีผลประกอบกิจการจดทะเบียนทำสื่อโฆษณา รายการ ให้เช่าเครื่องมือ ลิขสิทธิ์ แลอื่นๆ ฯลฯ ที่ถือได้ว่าเป็นธุรกิจสื่อมวลชน
:จึงเห็นว่า นายพิธา น่าจะขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้าม
สอดรับกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ให้นายธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ และพรรคก้าวไกล พ้นจากสส ด้วยเหตุถือหุ้นสื่อสารมวลชน บริษัท เฮด อัพ โปรดักชั่น จำกัด และ บริษัท แอมฟายน์ โปรดักชั่น จำกัด
4) พิธา ถือหุ้นitv เพียงแค่เล็กน้อย ทำไมจึงผิด
ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวิจฉัยที่12-14/2553 ในคดีถือหุ้นสื่อและหุ้นสัมปทานรัฐ ที่วินิจฉัยให้รมต สส สว พ้นจากสมาชิกภาพ และเคยวินอจฉัยไว้ว่า หุ้นสื่อและหุ้นสัมปทานเป็นลักษณะต้องห้ามแม้ถือหุ้นเพียง1หุ้น ก็ขาดคุณสมบัติ
ดังนั้นการที่นายพิธาอ้างว่า ถือหุ้นitv เพียง 42,000 หุ้น จาก 1,206,697,400 หุ้น คิดเป็น 0.0035 เปอร์เซ็นต์ไม่มีอํานาจสั่งการบริษัท
:ข้อโต้แย้งนี้ของนายพิธา จึงฟังไม่ขึ้นและไม่อาจหักล้างคำนิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่เคยวางแนวไว้เดิม
พร้อมน้อมรับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีที่ศาลจะมีคำวินิจฉัยคดีการถือหุ้นสื่อitv ไม่ว่าจะออกมาในแนวทางใด
ดร สมชาย แสวงการ
สมาชิกวุฒิสภา
23 มค 2567