วันที่ 19 ม.ค.67 ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ตั้งคำถามถึงธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และนโยบายการเงิน 6 ประเด็น ดังนี้

1.ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ติดลบ 14 เดือนติด สัญญาณอันตรายภาคการผลิตของประเทศ และยอดขายรถเชิงพาณิชย์ ตัววัดสำคัญของการลงทุน ติดลบ 4 ไตรมาสติด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนโยบายการเงินที่ผ่านมา เพิ่มต้นทุนการเงินเอกชน เป็นลบต่อการลงทุนในวงกว้าง หรือไม่

2.ในขณะที่เอกชนต้องการสินเชื่อเพื่อฟื้นตัว แต่สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ (ดูแลโดย ธปท.) ล่าสุด หดตัวราว 0.9% yoy ในขณะที่ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ (ดูแลโดย ก.คลัง) โตราว 3.8% ในช่วงเดียวกัน ใช่หรือไม่ สะท้อนอะไร ธปท.ในฐานะผู้กำกับดูแล ควรมีการปรับในเชิงนโยบายหรือไม่

3.งบประมาณล่าช้า ศก. ไร้แรงขับ รายจ่ายลงทุนต้นปีงบ 68 เดือน ต.ค. ติดลบ 45% และ พ.ย. ติดลบ 75% yoy และจะเป็นอย่างนี้ทุกเดือนจนงบ 68 บังคับใช้ ท่านเห็นความอันตรายของภาวะนี้ไหม นโยบายการเงินควรมีการปรับตัว เพื่อเข้าช่วยในช่วงที่มาตรการทางการคลังติดขัดนี้ หรือไม่ อย่างไร

4.ประมาณการ ศก. ในปี 66 จากต้นปีสู่ปลายปีคลาดเคลื่อนสูง ประเมินความร้อนแรงของ ศก. สูงเกินจริง นำสู่นโยบายการเงินที่ไม่สะท้อนสภาวการณ์หรือไม่ และภาวะเงินเฟ้อติดลบ หลุดกรอบต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนโยบายการเงินนั้น หรือไม่

5.นอกจากตัวเลขมหภาค ต้องมองเศรษฐกิจภาคประชาชนด้วย รายได้ประชาชนโต 7.86% แต่รายจ่ายโต 12.7% ชี้ชัดภาวะ รายจ่ายโตเร็วกว่ารายได้ นั่นคือหนี้สินที่เพิ่มขึ้น แต่นโยบายการเงินที่ผ่านมา ดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ซ้ำเติมหนี้สิน และความเดือดร้อนของประชาชน หรือไม่

6.นโยบายการคลัง (รัฐบาล) และนโยบายการเงิน (ธปท.) ควรสอดประสานกันหรือไม่ ปัจจุบันรัฐบาลเห็นความจำเป็นในการกดคันเร่งนโยบายการคลัง (ซึ่ง Digital Wallet เป็นหนึ่งในนั้น) แต่นโยบายการเงินยังคงอยู่ในช่วงการกดเบรคหรือไม่ และการขับรถคันเดียวกัน ขาหนึ่งกดคันเร่ง ขาหนึ่งกดเบรค พร้อมกัน รถจะพังหรือไม่ ประเทศจะมีปัญหาหรือไม่