วันที่ 17 มกราคม 2567 เวลา 09.45 น. ที่ห้องแถลงข่าว ชั้น 2 อาคารกระทรวงยุติธรรม ถนนแจ้งวัฒนะ นาย​สมบูรณ์​ ม่วงกล่ำ ที่ปรึกษา​รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​ยุติธรรม​ ในฐานะโฆษกประจำกระทรวง​ยุติธรรม​ ฝ่ายการเมือง​ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม แถลงผลงานสำคัญ​ของกระทรวงยุติธรรมที่ประชาชนสนใจ 

ส่วนแรก ป.ป.ส. นายปิยะศิริ วัฒนวรางกูร รองเลขาธิการ ป.ป.ส. กล่าวว่า ปัจจุบันปัญหายาเสพติด มีฐานการผลิตอยู่ต่างประเทศแต่ใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านไปยังประเทศที่สาม โดยคดีสำคัญล่าสุด สปป.ลาว จับกุม “อ่อง กิม วาห์” สัญชาติมาเลเซีย ผู้ต้องหารายสำคัญ จัดลำเลียงยาเสพติดโดยเฉพาะในอาเซียน พร้อมยึดอายัดทรัพย์ในประเทศ มูลค่ากว่า 85 ล้านบาท เช่น ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง 1 แปลง คอนโดมิเนียม 2 ห้อง เรือยอชต์ 3 ลำ รถยนต์ 2 คัน รถจักรยานยนต์ 3 คัน อาวุธปืนสั้น 1 กระบอก อาวุธปืนยาว 2 กระบอก เงินสด 275,000 บาท อายัดเงินในบัญชีธนาคาร 10 บัญชี ยอดเงิน 1,542,080 บาท ซึ่งหลังจากนี้จะขยายผลยึดทรัพย์เครือข่ายในลำดับต่อไป

ส่วนการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวช สำนักงาน ป.ป.ส. ได้มีการปรับแผนเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดต่างๆ ให้ชุมชนมีความปลอดภัย และได้ร่วมกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น มาช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ส่วนกรมบังคับคดี นางเพ็ญรวี มาแสง รองอธิบดีกรมบังคับคดี และโฆษก กล่าวว่า ปัจจุบัน มีลูกหนี้ กยศ. อยู่ในชั้นบังคับคดีกว่า 50,000 เรื่อง โดยปัญหาที่ผ่านมาลูกหนี้ชำระหนี้แต่มีการหักเงินต้นเพียงเล็กน้อย แต่ลดดอกเบี้ยแทน ทำให้เงินต้นแทบจะไม่ลดลงจึงทำให้ลูกหนี้บางรายถูกยึดอายัดทรัพย์ขายทอดตลาด กรมบังคับคดีจึงเป็นตัวกลางเข้าไปปรับโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ กยศ. ตามโครงการ Quick Win และได้รับข้อมูลว่ามีการถอนยึดอายัดและการบังคับคดีลูกหนี้กว่า 3,400 ราย ทั่วประเทศ เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับลูกหนี้

สำหรับขั้นตอนการดำเนินการ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะมีหนังสือถอนการบังคับให้ลูกหนี้ทราบ โดยส่งไปยังตามภูมิลำเนาที่ปรากฏในทะเบียนราษฎร์ และแจ้งถอนการอายัดไปยังนายจ้างหรือผู้รับคำสั่งอายัด หรือนายทะเบียนที่เกี่ยวข้องกับกรณีการยึดที่ดิน เว้นแต่กรณีที่มีเจ้าหนี้ในคดีอื่น เช่นผู้รับจำนองหรือผู้ร้องขอเฉลี่ยที่จะประสงค์บังคับคดีแทนบุคคลไร้สัญชาติ

ด้าน นายอังศุเกติ์ วิสุทธิ์วัฒนศักดิ์ ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและปราบปรามหนี้นอกระบบและอำนวยความเป็นธรรม กรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า ดีเอสไอ ตามรัฐบาลมีนโยบายช่วยเหลือสถานะบุคคลทางสังคม กรมสอบสวนคดีพิเศษ ร่วมกับ กรมคุ้มครองสิทธิฯ , สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ลงพื้นที่ตรวจสอบบุคคลไร้สัญชาติตามแนวชายของประเทศ จำนวนหลายแสนคน ที่ตกหล่นเข้าไม่ถึงสิทธิที่ควรได้รับ เช่น การรักษาพยาบาลหรือการศึกษา และอาจตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์หรืออาชญากรรมอื่นๆ 

โดยกรมคุ้มครองสิทธิฯ มีหน้าที่หลักในการคุ้มครองหลักสิทธิทุกคนต้องมีสัญชาติ ตามขั้นพื้นฐานสิทธิมนุษยชนภายใต้ในราชอาณาจักรไทย ส่วน สถาบันนิติวิทย์ฯ จะใช้หลักฐานทางนิติวิทยาศาตร์หาความเชื่อมโยงทางสายโลหิตระหว่างครอบครัวจากรุ่นปู่ย่าตายายถึงรุ่นลูกหลาน หากพบการตกหล่น เพื่อให้ทุกคนมีสัญชาติได้อย่างถูกต้อง

ส่วน นายโกมล พรมเพ็ง รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กล่าวว่า ที่ผ่านมา มีการร้องเรียนเรื่องการแสดงออกตามสิทธิเสรีภาพในสาธารณะ หรือการชุมนุมที่กระทำผิดตามมาตรา 112 หรือคดีความมั่นคง ซึ่งกรมพินิจให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่ ที่พยายามจะทำให้เด็กแสดงพฤติกรรมในการต่อต้านบางสิ่งบางอย่าง หรือแสดงออกในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง 

ซึ่งขณะนี้เด็ก และเยาวชนที่ถูกดำเนินคดี ม.112 มี 2 ราย ที่อยู่ในสถานพินิจ โดยถูกควบคุมในสถานพินิจ 1 ราย 1 ปี อีกหลาย 6 เดือน ซึ่งทั้งสองรายได้รับการแก้ไข และพัฒนาในด้านการฝึกวิชาชีพในสายสามัญ 

นายโกมล กล่าวอีกว่า คิดว่าที่ผ่านมา การดูแลเด็กเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะมองว่าเป็นนโยบายหลักในการสร้างอนาคตของชาติ เด็ก และเยาวชนก็เป็นกำลังหลัก เมื่อผิดพลาด หรือก้าวพลาด เมื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ทางเราก็จะดูแล และคุ้มครอง เปลี่ยนแปลงพฤตินิสัย และทำให้มีอนาคต ซึ่งให้รู้จักเรียนวิชาชีวิต ที่เป็นวิชาที่เยาวชนส่วนใหญ่ขาดความรู้ และประสบการณ์

พร้อมกันนี้ในกรณี เด็ก และเยาวชนที่ก่อเหตุตามภาพข่าว ในจังหวัดสระแก้ว ประเด็นนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะสถิติเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดส่วนใหญ่ เกิดจากครอบครัวแตกแยกกว่า 70% ส่วนอีก 30% ก็ไม่ใช่ครอบครัวที่อบอุ่น หรือได้ดูแลเด็กที่เหมาะสม 

ดังนั้นครอบครัวและชุมชนถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในการสร้างเด็กและเยาวชนที่มีคุณภาพขึ้นมา ครอบครัวต้องสอดส่องพฤติกรรมของเด็กที่ไม่เหมาะสม ใส่ใจการดูแลและการเลี้ยงดูบุตร มีการแจ้งข่าวสารต่าง ๆ อย่าปล่อยให้เลยเถิดไปถึงการก่ออาชญากรรม ซึ่งเด็กทั้ง 5 คน ในตอนนี้ ได้รับการควบคุมตัวอยู่ที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสระแก้ว พนักงานคุมประพฤติกำลังประมวลข้อเท็จจริง และรายงานประวัติของเด็ก ทั้งพฤติกรรมส่วนตัว การศึกษา การประกอบอาชีพ รวมถึงพฤติการณ์เกี่ยวกับคดีเพื่อรายงานส่งศาลพิจารณาต่อไป 

อย่างไรก็ตามประเด็นหนึ่งที่สำคัญ คือประชาการขอเปลี่ยนแปลงกฎหมายให้ขยายอายุการรับโทษทางอาญาให้ต่ำลง กฎหมาย ก.ยุติธรรมโดยรัฐสภา เดิมเด็กที่กระทำผิดต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาต้องอายุ 10-18 ปี ปีที่แล้ว 8 พ.ค.2566 ได้มีการแก้ไข พรบ.เพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับ 29 พ.ศ.2565 แก้ไขจากอายุ 10 ปี เป็น 12 ปี ที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ขณะนี้อยู่ระหว่างการบังคับใช้ หากจะมีการขอแก้ไขต้องมีการประเมินผลกฎหมายไประบะหนึ่ง เพราะจากการศึกษาทางการแพทย์มองว่าเด็กอายุ 7-12 ปี เป็นเด็กประถมศึกษา ยังไม่มีพัฒนาการด้านร่างกสน การคิดวิเคราะห์แยกแยะถูกผิด หรือควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ที่นำไปสู้การก่อความรุนแรงหรือกระทำความผิด ตรงนี้กรมพินิจฯ จึงค้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 12 ปี หากกระทำผิดก็จะเข้าสู่กระบวนการแก้ไขฟื้นฟู ตาม พรบ.คุ้มคาองเด็กของกระทรวง พม.ต่อไป

ด้านพันตำรวจโท มนตรี บุณยโยธิน รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ กล่าวว่า สำหรับกรมคุมประพฤติ มีนโยบาย ควบคุมผู้ต้องหาที่ยังไม่พ้นโทษแต่ออกนอกเรือนจำและอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ศาลกำหนด ปัจจุบันอยู่ระหว่างคุมประพฤติ 250,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นคดียาเสพติด โดยหลักการสำคัญเมื่อออกมาแล้วจะป้องกันอย่างไรไม่ให้ผู้เสพกลับไปเสพซ้ำในชุมชน จึงได้จัดโครงการขับเคลื่อน DRIP Model สร้างเครือข่ายในชุมชนและเตรียมเปิดงานในเร็วๆ นี้ จากนั้นเตรียมขยายไปยังจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ

 

 

#ป้าบัวผัน #ยกเลิกกฎหมายเยาวชน