กระทรวง อว. โดย GISTDA ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, กรมควบคุมมลพิษ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกาะติดสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 แบบรายชั่วโมง ด้วยข้อมูลจากดาวเทียมผ่านแอปพลิเคชั่น “เช็คฝุ่น” เมื่อเวลา 8.00 น. ของวันที่ 10 มกราคม 2567 พบว่า 25 จังหวัดของประเทศมีค่าฝุ่นเกินเกณฑ์มาตรฐานในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพสีแดง โดย 5 อันดับแรก คือ  #อ่างทอง 141.4 ไมโครกรัม #ชัยนาท 134.2 ไมโครกรัม #นนทบุรี 122.5 ไมโครกรัม #ปทุมธานี 121 ไมโครกรัม และ #สิงห์บุรี 120.7 พบอีก 28 จังหวัด ที่มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานในระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพสีส้ม  โดย 3 อันดับแรกสีส้ม ได้แก่  #สุโขทัย 74.6 ไมโครกรัม #นครราชสีมา 71.4 ไมโครกรัม และ พิษณุโลก 70.7 ไมโครกรัม

 ในขณะที่กรุงเทพมหานคร พบค่าฝุ่น PM2.5 ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพสีแดง  จำนวน 34 เขต  โดย 5 อันดับแรก คือ  #ดอนเมือง 181.2 ไมโครกรัม #หลักสี่ 164.4 ไมโครกรัม #สายไหม 119.8 ไมโครกรัม #บางเขน 108.3 และ #หนองแขม 98.5 ไมโครกรัม   

 แอปพลิเคชั่น “เช็คฝุ่น” ยังคาดการณ์ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในอีก 3 ชั่วโมงข้างหน้า พบว่าหลายพื้นที่จะมีค่าคุณภาพอากาศที่ยังคงอยู่ในระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพสีส้ม ทั้งนี้ ข้อมูลบนแอปพลิเคชัน “เช็คฝุ่น” มีการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมร่วมกับ AI (Artificial intelligence) ในการวิเคราะห์ค่าฝุ่น PM 2.5 แบบรายชั่วโมงในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ร่วมกับการใช้ข้อมูลการตรวจวัด PM 2.5 จากกรมควบคุมมลพิษ, ข้อมูลสภาพอากาศ จากกรมอุตุนิยมวิทยา รวมถึงข้อมูลของแหล่งกำเนิดฝุ่น เช่น จุดความร้อน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนมาก มานำเสนอให้ในรูปแบบข้อมูลตัวเลขและค่าสีในระดับต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจสถานการณ์ได้ง่ายยิ่งขึ้น

 ทั้งนี้ จากข้อมูลจุดความร้อนที่รายงานโดย GISTDA เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2567 พบจุดความร้อนทั้งประเทศ 310 จุด ส่วนใหญ่พบในพื้นที่การเกษตร 136 จุด ตามด้วยพื้นที่เขต สปก. 72 จุด พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 47 จุด  ชุมชนและอื่นๆ 38 จุด พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 13 จุด พื้นที่ริมทางหลวง 4 จุด และ โดยจังหวัดที่พบจำนวนจุดความร้อนสูงสุด 3 อันดับแรก คือ #ลพบุรี 36 จุด #กาฬสินธุ์ 18 จุด และ #สุรินทร์ 17 จุด


 
 นอกจากนี้ ประเทศเพื่อนบ้านที่พบจุดความร้อน มากสุดอยู่ที่กัมพูชา 1,516 จุด  ตามด้วย พม่า 270 จุด เวียนดนาม 228 จุด  และ ลาว 181 จุด

ประชาชนควรสวมหน้ากากตลอดเวลาเมื่ออยู่ในที่โล่งแจ้ง เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจตามมาโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ทั้งนี้ ท่านสามารถติดตามข้อมูล PM2.5 แบบรายชั่วโมงเพิ่มเติมผ่านแอปพลิเคชัน "เช็คฝุ่น"

 ดาวน์โหลดใช้งานแอปพลิเคชัน เพียงท่านพิมพ์คำว่า เช็คฝุ่น ทั้งในระบบ IOS และ Android ก็สามารถใช้งานได้เลยทันที

#GISTDA #อว #คุณภาพชีวิต #วิเคราะห์ข้อมูล #มลพิษทางอากาศ #คุณภาพอากาศ #ค่าฝุ่นละออง #ฝุ่นพิษวิกฤติชาติ #รู้สู้ภัยพิบัติ #PM2POINT5 #ข้อมูลรายชั่วโมง #วช #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ #สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

เช็คฝุ่น PM 2.5 ด้วยข้อมูลจากอวกาศ
https://www.gistda.or.th/news_view.php?n_id=6803&lang=TH
ค่าฝุ่น PM 2.5 จากการวัดด้วยแอปพลิเคชั่นต่างๆ และแอปพลิเคชัน “เช็คฝุ่น”
https://www.gistda.or.th/news_view.php?n_id=6728&lang=TH