เมื่อเอ่ยถึง เพลงลูกทุ่งเชื่อว่าหลายคนคงคงจำ เนื้อร้อง และทำนองได้ ติดหู ไม่ว่าจะเป็นลูกทุ่งยุคแรก จนกระทั้ง มีการวิวัฒนาการ มาสู่ เพลงลูกทุ่งในปัจจุบัน เรียกว่า เพลงลูกทุ่ง คือเพลงที่สะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคมอุดมคติและวัฒนธรรมไทย โดยมีท่วงทำนอง คำร้อง สำเนียง และลีลาการร้องการบรรเลงที่เป็นแบบแผน มีลักษณะเฉพาะซึ่งให้บรรยากาศ ความเป็นลูกทุ่ง
วันนี้ สยามรัฐออนไลน์ พาไปรู้จัก พัฒนาการเพลง"ลูกทุ่ง" ว่ามีความเป็นมาอย่างไร โดย เพจเฟซบุ๊ก ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต ได้เผยแพร่ พัฒนาการเพลง"ลูกทุ่ง" ตอนที่ 7 ต่อจากตอนที่แล้ว ไว้ดังนี้
เพลงลูกทุ่ง (7) กำเนิดคำว่า เพลงลูกทุ่ง และ ราชาเพลงลูกทุ่ง
แฮงก์ วิลเลียมส์ นักร้องแนวชนบทชาวอเมริกัน ในช่วงเวลาต่อมามีภาพยนตร์ต่างประเทศชื่อ Your Cheating Heart ซึ่งเป็นภาพยนตร์ชีวประวัติของ แฮงก์ วิลเลียมส์ (Hank Williams) นักร้องแนวชนบทชาวอเมริกัน และมีผู้ตั้งชื่อภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า เพลงลูกทุ่ง
ช่อง 4 บางขุนพรหม นายจำนง รังสิกุล เป็นผู้ริเริ่ม ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่ง เป็นหัวหน้าฝ่ายจัดรายการ ของสถานีโทรทัศน์ ได้เชิญวงดนตรีจุฬารัตน์ ของ ครูมงคล อมาตยกุล ที่มี ชาย เมืองสิงห์ เป็นนักร้องนำในขณะนั้นมาออกรายการ และใช้ชื่อรายการว่า "เพลงลูกทุ่ง" โดยมี ประกอบ ไชยพิพัฒน์ เป็นผู้ดำเนินรายการ ออกอากาศ เมื่อ พ.ศ. 2507 เดือนละ 2 ครั้ง ทุกวันจันทร์เว้นจันทร์ เริ่มแรกถูกต่อต้าน จนได้รับความนิยมและแทรกซึมไปตามวงดนตรีต่างๆ เริ่มเรียกวงของตนเองว่า วงดนตรีลูกทุ่ง และนักร้องนิยมเรียกตัวเองว่า นักร้องเพลงลูกทุ่ง ชาย เมืองสิงห์ จึงเป็นนักร้องคนแรกที่ได้ออกอากาศ "รายการเพลงลูกทุ่ง" พร้อมกับสมาชิกชาวคณะวงดนตรีจุฬารัตน์
คำว่า เพลงลูกทุ่ง” ติดหูคนฟัง และมีความรู้สึกว่า หมายถึง เพลงที่ร้องง่ายๆ ฟังสบายๆ เนื้อหาท่วงทำนองชวนให้นึกถึงบรรยากาศทุ่งนาป่าเขา ตั้งแต่นั้นมา คำว่า "เพลงลูกทุ่ง" จึงเป็นที่รู้จักแพร่หลายกันทั่วไป
เพลงลูกทุ่งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยใช้เกณฑ์การจัดแบ่งยุคต่างๆ เหล่านี้ จากเนื้อหาของเพลง และรูปแบบที่โดดเด่น พ.ศ. 2507 คำว่า "เพลงลูกทุ่ง" เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และมีการนำเสนอ ผ่านรายการโทรทัศน์ ทำให้เพลงลูกทุ่งแพร่หลาย และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เนื้อหาของเพลงมีหลากหลาย เช่น บรรยายถึงชีวิตในชนบท สะท้อนชีวิตสาวชาวนา ที่หลงแสงสีเมืองกรุง
ใน พ.ศ. 2509 มีการจัดงานแผ่นเสียงทองคำพระราชทานครั้งที่ 2 สมยศ ทัศนพันธ์ ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ในฐานะ นักร้องลูกทุ่งชายยอดเยี่ยม ในเพลง ช่อทิพย์รวงทอง นักร้องที่มีชื่อเสียง เป็นที่นิยมของผู้ฟังทั่วไป เช่น ทูล ทองใจ ปอง ปรีดา ไพรวัลย์ ลูกเพชร พร ภิรมย์ ชาย เมืองสิงห์ ก้าน แก้วสุพรรณ
เพลงลูกทุ่งมาถึงยุคเฟื่องฟูมากที่สุดในยุคของ สุรพล สมบัติเจริญ จนได้รับสมญาว่า เป็นราชาเพลงลูกทุ่ง เนื่องจาก มีความสามารถพิเศษเฉพาะตัว ในด้านการแต่งคำร้องทำนองที่แปลกไม่เหมือนใคร เนื้อหาของเพลงมีทั้งที่เป็นความรัก การเกี้ยวพาราสี ความประทับใจ และสนุกสนาน ผลงานที่สร้างชื่อเสียงมีมากมาย อาทิ ชูชกสองกุมาร เพลงแรกๆ ที่โด่งดังใน พ.ศ. 2496 เช่น น้ำตาจ่าโท เดือนหงายริมโขง เสียวไส้ ของปลอม สิบหกปีแห่งความหลัง ฯลฯ
เส้นทางของ ครูสุรพล สมบัติเจริญ ก็ยังพุ่งขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2509 ณ วัดสนามไชย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี มีเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์วงการเพลงลูกทุ่งเกิดขึ้น นั่นคือ การประชันวงดนตรีลูกทุ่งครั้งแรกของเมืองไทย ทั้งหมด 4 วง 4 คณะด้วยกัน
นั่นคือ วงดนตรีคณะสุรพล สมบัติเจริญ, วงดนตรีคณะรวมดาวกระจาย, วงดนตรีคณะเทียนชัย สมญาประเสริฐ และ วงดนตรีคณะสมานมิตร เกิดกำแพง
เหตุการณ์นี้ กลายเป็นตำนานการประชันวงดนตรีลูกทุ่งครั้งนี้กล่าวขานกันต่อๆ มา ไม่มีวันลบเลือนไปจากคอลูกทุ่งเลย ซึ่งทั้ง 4 วงดนตรีที่ได้มีส่วนร่วมในประวัติศาสตร์ครั้งนี้ ถ้าไม่แน่จริง ไม่เจ๋งจริง ก็คงไม่ได้ร่วมซีนประวัติศาสตร์แน่นอนในการประชันครั้งที่วงดนตรีที่ชนะเลิศด้วยคะแนนเสียงถล่มทลาย ได้รับการต้อนรับจากแฟนอย่างล้มหลามนั่นคือวงดนตรีสุรพล สมบัติเจริญ
นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา ครูสุรพล สมบัติเจริญ ก็แท่นในฐานะ “ราชาเพลงลูกทุ่ง” คนแรกและคนเดียวของวงการเพลงลูกทุ่งไทย นับแต่บัดนั้น
จนกระทั่งสุรพล สมบัติเจริญ ถูกลอบยิงเสียชีวิตขณะเปิดการแสดง เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2511
ขอบคุณ:เพจเฟซบุ๊ก ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต