เมื่อวันที่ 28 ธ.ค.66 ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Center for Medical Genomics" ว่ระบุว่า...
อย่าได้ประมาท”เจเอนวัน”!
โอมิครอน “เจเอนวัน (JN.1)” แพร่ระบาดผงาดขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยพบแล้ว 3 ราย ผลสืบเนื่องมาจากการกลายพันธุ์ส่วนหนาม “L455S” เพียงตำแหน่งเดียวที่ต่างไปจากรุ่นพ่อแม่ BA.2.86
การกลายพันธุ์ส่วนหนามตรงตำแหน่ง L455S แม้จะทำให้ความสามารถของ”เจเอนวัน”ในการจับกับเซลล์ของมนุษย์ลดลงบ้าง แต่กลับไปเพิ่มความสามารถในการหลบเลี่ยงระบบภูมิคุ้มกันให้มากขึ้น ส่งผลโดยรวมให้สามารถติดต่อแพร่เชื้อได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับโอมิครอนทุกสายพันธุ์ที่มีการระบาดอยู่ในปัจจุบัน
ทางศูนย์จีโนมฯกำลังเฝ้าติดตามโอมิครอน “XDD” รุ่นลูกของ“เจเอนวัน” อยู่ด้วยเช่นกัน โอมิครอน XDD ถูกถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมและแชร์ในฐานข้อมูลโควิดโลกจีเสส (GISAID) เป็นที่เรียบร้อยกว่า 211 ราย โดยมีการกลายพันธุ์ส่วนหนาม “L455S” เช่นเดียวกับรุ่นพ่อแม่ (เจเอนวัน) ยังไม่พบในไทย
ในสหรัฐฯ จากการสุ่มถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม พบเป็นโอมิครอน “เจเอนวัน” 44.2% และได้กลายเป็นสายพันธุ์หลักของประเทศ
การที่ “เจเอนวัน” กลายเป็นสายพันธุ์หลักในสหรัฐฯทำให้ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าจะทำให้เกิดการติดเชื้อขนาดใหญ่ มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากเป็นอันดับสองรองจากการติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิมในครั้งแรกเมื่อสองปีก่อน
ผลกระทบของการระบาดของ “เจเอนวัน” ต่ออัตราการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิตยังไม่ชัดเจน แต่ข้อมูลจากรัฐนิวยอร์ก พบว่ามีผู้ติดเชื้อเข้ารักษาตัวใน รพ. เพิ่มขึ้นถึง 36% ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นสิ่งที่น่ากังวล
“เจเอนวัน” ยังเป็นสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลก ทำให้เกิดการติดเชื้อโควิด-19, การเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล, และการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นในหลายประเทศในยุโรป อินเดียและสิงคโปร์
หน่วยงานด้านสาธารณสุขในหลายประเทศกำลังดำเนินการตอบโต้ต่อภัยคุกคามของ“เจเอนวัน” โดยการออกคำแนะนำ ปรับใช้ระบบเตือนภัย และแนะนำมาตรการต่างๆ เช่น การสวมหน้ากาก การปรับปรุงระบบระบายอากาศ และการทบทวนการใช้ระบบสุขภาพเพื่อให้แน่ใจว่ามีเตียงพร้อมสำหรับผู้ติดเชื้อ
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนด “เจเอนวัน” เป็น "สายพันธุ์ที่น่าสนใจ"
จำนวนของ“เจเอนวัน” ที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมและแชร์ข้อมูลไว้บนฐานข้อมูลโควิดโลก “จีเสส(GISAID)”
1. สหรัฐ: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 1,743 ราย, ความชุก 1.326%
2. เดนมาร์ก: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 1,676 ราย, ความชุก 20.387%
3. ฝรั่งเศส: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 1,096 ราย, ความชุก 4.617%
4. สิงคโปร์: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 1,085 ราย, ความชุก 14.744%
5. ประเทศอังกฤษ: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 860 ราย, ความชุก 3.125%
6. เนเธอร์แลนด์: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 789 ราย, ความชุก 12.992%
7. แคนาดา: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 710 ราย, ความชุก 1.580%
8. สเปน: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 708 ราย, ความชุก 4.204%
9. สวีเดน: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 561 ราย, ความชุก 4.955%
10. อิตาลี: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 334 ราย, ความชุก 4.615%
11. เบลเยียม: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 292 ราย, ความชุก 6.979%
12. เยอรมนี: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 269 ราย, ความชุก 5.356%
13. ออสเตรีย: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 217 ราย, ความชุก 8.850%
14. บราซิล: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 208 ราย, ความชุก 4.230%
15. ออสเตรเลีย: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 207 ราย, ความชุก 2.060%
16. ไอร์แลนด์: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 166 ราย, ความชุก 5.625%
17. สวิตเซอร์แลนด์: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 158 ราย, ความชุก 6.061%
18. โปรตุเกส: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 141 ราย, ความชุก 10.739%
19. นิวซีแลนด์: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 120 ราย, ความชุก 2.300%
20. อิสราเอล: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 105 ราย, ความชุก 3.335%
21. ไอซ์แลนด์: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 104 ราย, ความชุก 15.476%
22. โปแลนด์: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 96 ราย, ความชุก 7.116%
23. อินโดนีเซีย: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 85 ราย, ความชุก 33.730%
24. ฟินแลนด์: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 70 ราย, ความชุก 2.936%
25. ญี่ปุ่น: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 70 ราย, ความชุก 0.261%
26. นอร์เวย์: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 46 ราย, ความชุก 7.066%
27. มาเลเซีย: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 37 ราย, ความชุก 5.347%
28. ลักเซมเบิร์ก: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 30 ราย, ความชุก 1.976%
29. จีน: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 25 ราย, ความชุก 0.157%
30. กรีซ: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 22 ราย, ความชุก 0.547%
31. เช็กเกีย: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 19 ราย, ความชุก 6.291%
32. เกาหลีใต้: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 16 ราย, ความชุก 0.070%
33. ลิทัวเนีย: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 10 ราย, ความชุก 1.094%
34. ไต้หวัน: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 6 ราย, ความชุก 0.843%
35. สโลวาเกีย: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 4 ราย, ความชุก 0.780%
36. สาธารณรัฐโดมินิกัน: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 3 ราย, ความชุก 1.158%
37. แอฟริกาใต้: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 3ราย, ความชุก 0.334%
38. ประเทศไทย: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 3ราย, ความชุก 0.275%
39. รัสเซีย: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 2ราย, ความชุก 0.060%
40. บัลแกเรีย: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 1ราย, ความชุก 0.287%
41. กัวเตมาลา: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 1ราย, ความชุก 0.293%
42. ฮ่องกง: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 1ราย, ความชุก 0.538%
43. เม็กซิโก: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 1ราย, ความชุก 0.060%
44. กาตาร์: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 1ราย, ความชุก 0.602%