วันที่ 24 ธ.ค.66ที่บ่อพื้นที่ อุโมงค์รถไฟโครงการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟ อำเภองาวจังหวัดลำปาง พื้นที่ ต.แม่ตีบ อ.งาว จ.ลำปาง ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ
สัญญาที่ 1 ช่วง อ.เด่นชัย จ.แพร่ ไป อ.งาว จ.ลำปาง โดยมี นายจเร รุ่งฐานีย รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นประธานในพิธี วางปฐมฤกษ์เปิดอุโมงค์รถไฟยาวที่สุดในประเทศไทย ความยาว 6.2 กม โดยมีพิธีตั้งแต่ เช้าเป็นพิธีทางศาสนา พิธีบนหัวหมู และ ไก่ นำข้าวปลาอาหาร ของหวาน ต่างๆ บนบาน แก่เจ้าป่า เจ้าเขา เพื่อทำพิธีวางปฐมฤกษ์ และ ยังมี วินาทีกดปุ่มระเบิด เปิดทางเข้าอุโมงค์เป็นครั้งแรก ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงาน เป็นหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ในเขตที่ อ.งาว
โดยอุโมงค์ทางรถไฟ นั้นจะมีการเจาะภูเขา ลึกประมาณ 6.2 กิโลเมตร และโครงการดังกล่าวจะแล้วเสร็จในช่วงประมาณปีต้นปี 2571 ในหรือ ประมาณอีก 5 ปี ข้างหน้า โดยขณะนี้บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) โดยนายพิพัฒน์ โลราช รองประธานบริหาร กลุ่มงานทางรถไฟ พร้อมด้วยคณะให้การต้อนรับ ท่านรองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย และร่วมพิธีบวงสรวงและวางปฐมฤกษ์เปิดอุโมงค์งาว ด้านเหนือ ซึ่งบรรยากาศนั้นเป็นไปอย่างเรียบร้อย ซึ่งมีแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้นายนายจเร รุ่งฐานีย รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่าโครงการดังกล่าวนั้น ขณะนี้ได้เริ่มสร้างแล้ว โดยมีความคืบหน้าในการก่อสร้างนั้นประมาณ 3% และจะทำการสร้างไปเรื่อยๆ ซึ่งหากสร้างแล้วเสร็จจะเป็นศูนย์รวมเศรษฐกิจ แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญเพราะ ว่าเป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทยที่ถือว่า เกิดขึ้นในเขตพื้นที่จังหวัดลำปาง ซึ่งการเดินทางไปนั้นหากแล้วเสร็จ ก็ไม่ยากเพราะ อุโมงค์รถไฟอยู่ติดกับ ถนนสาย อ.งาว จ.ลำปาง - ไป ทาง อ.สอง จ.แพร่ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของทางภาคเหนือเลยทีเดียวหลังจากสร้างแล้วเสร็จในช่วงต้นปี 2571
ทั้งนี้ รายละเอียดโครงการ :
1.ทางวิ่งรถไฟเป็นทางวิ่งระดับพื้นดินและยกระดับ รวม 103.7 กม.
2.งานก่อสร้างสถานีรถไฟระดับพื้นดิน และป้ายหยุดรถไฟ
3.งานก่อสร้างโยธาและอื่นๆ ของโครงการ
4.งานก่อสร้างถนนยกระดับข้ามทางรถไฟ ถนนลอดใต้สะพานทางรถไฟ
5.งานระบบรางเป็นทางกว้าง 1 เมตร
6.งานก่อสร้างอุโมงค์รถไฟและงานระบบภายในอุโมงค์ที่เกี่ยวข้อง
7.งานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมตลอดแนวเส้นทาง
8.งานรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้างและอุปสรรคต่างๆที่อยู่ในเขตพื้นที่โครงการ ระยะเวลาก่อสร้าง 71 เดือน (22 ธันวาคม 2566)