วันที่ 16 ธ.ค.66 ที่ตำบลหนองบัว อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรสาคร นำโดย นางสายเพชร จังกาจิตต์ ประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรสาคร ได้ลงพื้นที่เพื่อไปสำรวจสวนลำไย พันธ์พวงทอง อยู่ในเนื้อที่ 14 ไร่ "ของนายไพรัช เทียนทอง" ตั้งอยู่เลขที่ 60/1 หมู่ 2 ต.หนองบัว อ.บ้านแพ้ว ซึ่งจากการสำรวจที่สวนดังกล่าว ปรากฏว่า ระบุมีใบรับรองมาตรฐาน (GAP) มาตั้งแต่ปี 2561 และได้รับอนุญาตใช้ตราสัญลักษ์ ที่เป็นสิ่งบ่งชี้ด้านทางภูมิศาสตร์ (หรือ GI) ของลำไย ณ อำเภอบ้านแพ้ว เมื่อปี 2563 โดยล่าสุด นายพล ดำธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ได้เดินทางไปทำพิธีการตัดลำไยพวงทอง ที่นับว่า เป็นกิ่งแรกของฤดูกาล" เพื่อหวังประชาสัมพันธ์ผลผลิตสินค้า เชิงสัญลักษณ์ของ ลำไยพวงทองบ้านแพ้ว ที่พร้อมจำหน่ายออกสู่ตลาดจำแหน่ย เพื่อให้ประชาชนได้ลิ้มลองของรสชาติ "ภายใต้สโลแกน เนื้อแน่น น้ำนิด ติดก้าน หวานกรอบ" ที่เป็นจุดเด่นมีกลิ่นหอมและรสชาติหวานกรอบ ที่มีเมล็ดเล็ก เนื้อหนาแน่นแห้ง
นายไพรัช เทียนทอง บอกว่า ลำไยพวงท้องของ อ.บ้านแพ้ว เนื้อจะใสจนเห็นเมล็ด ผิวเปลือกเรียบสีน้ำตาลอ่อน และมีรสหวานหอม ทั้งนี้เนื่องจากเพราะจังหวัดสมุทรสาคร เป็นเมืองดิน 3 น้ำ ได้แก่ น้ำเค็ม น้ำจืด และน้ำกร่อย ซึ่งลักษณะของเนื้อดินนั้น จะเหนียวนุ่มและอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาติ เช่น มีโพรแทสเซียมสูง ฯลฯ ส่งผลให้ผลไม้มีรสชาติหวาน และแตกต่างจากลำไยพันธ์อื่นๆ และรับประทานแล้วจะไม่เจ็บคอ หรือไม่ร้อนไน เป็นต้น ซึ่งด้วยเหตุนี้เองต่อมาจงได้เป็นสินค้าประจำถิ่น ของทางกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งได้มีประกาศการขึ้นทะเบียน (สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) หรือเป็นสินค้า GI ของจังหวัดสมุทรสาคร ทั้งนี้ในส่วนสำหรับด้านเกษตรกร หรือชาวสวนผู้เพาะปลูกลำไยพันธ์พวงทองนี้ในอำเภอนี้มีอยู่ประมาณ 510 ครัวเรือน รวมจำนวนพื้นที่เพาะปลูกกันประมาณ 4,500 ไร่
"โดยในแต่ละปีจะมีผลผลิตออกมาสู่ท้องตลาดราว 6,000 ตัน ซึ่งเป็นการกระจายผลผลิตออกมาขายในจังหวัดราว 15% และส่งขายนอกพื้นที่หลายจังหวัดต่างๆ 85% โดยส่วนใหญ่มีพ่อค้าคนกลางได้เป็นผู้กำหนดเรื่องราคาให้เกษตรกรในด้านของราคา (หน้าสวน) จะอยู่ที่ประมาณ 50 บาท/ต่อ 1 กิโลกรัม ขณะที่ ในช่วงเวลาของการทำผลผลิตประมาณตั้งแต่เดือน ธันวาคม -เดือนเมษายน และมีช่วยออกมามากที่สุด คือ ช่วงเดือน ก.พ. -มีนาคม ซึ่งจะเป็นช่วงตรงกับเทศสกาล (ไหว้เจ้าวันตรุษจีน) ในช่วงเดือน ม.ค.ทำให้ชาวเกษตรกรจะเริ่มตกแต่งกิ่ง เพื่อคอยไปถึงเดือน มิถุนายน จึงจะเริ่มออกขายไปสู่ท้องตลาดต่อไปตามกระบวนการผลิตลำใย ทั้งนี้หากประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยว ที่สนใจสามารถจะเดินทางมาศึกษาเชิงควาามรู้ และท่องเที่ยว หรือต้องการเรียนรู้ถึงในชมสวนก็ได้ตลอด โดยมีการนี้ยังมีจำหน่ายทั้งกิ่งพันธุ์ด้วย อย่างไรก็ดีหากต้องการนำไปจำหน่ายต่อสามารถติดต่อได้ที่ (สวนลุงไพรัช) ได้ทุกวัน หรือที่เบอร์ติดต่อโทร 091- 091 0929 (คุณลุงไพรัช เทียนทอง)"