เมื่อวันที่ 12 ธ.ค.66 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง หลังจากรัฐบาลประกาศแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบเป็นวาระแห่งชาติไปแล้วเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายนที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันพบว่าหนี้ในระบบยังสร้างปัญหาไม่แพ้หนี้นอกระบบ รัฐบาลจึงออกมาตรการดูแลลูกหนี้ในระบบที่ประสบปัญหาเป็นวาระแห่งชาติด้วยเช่นกัน โดย แบ่งลูกหนี้เป็น 4 กลุ่ม 10.3 ล้านราย ได้แก่
          
1. ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 SME 3 ล้านราย
          - ยกเลิกสถานะหนี้เสีย (NPL)
          - พักชำระหนี้ลูกหนี้รายย่อย
          - ปรับโครงสร้างหนี้ และลดดอกเบี้ย 1%

2. ลูกหนี้มีรายได้ประจำ แต่มีภาระหนี้จำนวนมาก ได้ ครู ตำรวจ ทหาร/บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล
          แนวทางแก้หนี้ครู ราว 9 แสนคน
          - บังคับใช้กฎหมาย หักเงินเดือนไปชำระหนี้ได้ไม่เกิน 70% ของเงินเดือน
          - จัดทำสวัสดิการเงินกู้ข้าราชการที่มีดอกเบี้ยต่ำ
          แนวทางแก้หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล จากการคิดดอกเบี้ยสูงทำให้เป็นหนี้ค้างชำระ
          - ปรับโครงสร้างหนี้ ผ่าน "คลีนิกแก้หนี้"
          - ผ่อนได้นาน 10 ปี
          - ลดดอกเบี้ยเหลือ 3.5% ต่อปี
        
3. ลูกหนี้ที่มีรายได้ไม่แน่นอน ได้แก่ เกษตรกร นักเรียน (หนี้กยศ.) ลูกหนี้เช่าซื้อ
          แนวทางแก้หนี้เกษตรกร ราว 2 ล้านคน
          - พักหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย 3 ปี วงเงิน 3 แสนบาท/ราย
          แนวทางแก้หนี้นักเรียน (หนี้กยศ.) ราว 5 ล้านคน
          - ปรับแผนการผ่อนชำระให้เข้ากับรายได้คนเพิ่งเริ่มงาน
          - ลดดอกเบี้ยให้เงินต้นลดเร็ว
          - ถอนการอายัดบัญชีให้ลูกหนี้เข้าถึงระบบการเงิน
          - ให้ผู้ค้ำประกันหลุดจากการค้ำประกัน
          แนวทางแก้หนี้เช่าซื้อ
          - สคบ.ควบคุมธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์
          - กำหนดดอกเบี้ยเช่าซื้อรถใหม่ ต้องไม่เกิน 10%
          - ลดดอกเบี้ยผิดนัด
          - ให้ส่วนลดลูกหนี้ที่ปิดบัญชีก่อนกำหนด
          
4. ลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสียคงค้างหนี้ยาวนาน (NPLs)
           แนวทางแก้หนี้ NPLs
          - ตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างสถาบันการเงินของรัฐกับบริษัทบริหารสินทรัพย์
          - รับโอนหนี้เสียจากสถาบันการเงินของรัฐ
          - ปรับโครงสร้างหนี้  


#แก้หนี้นอกระบบ #พักหนี้ #เศรษฐาทวีสิน