ปัจจุบันโรคอ้วนเป็นปัญหาทางสาธารณสุขสำคัญของโลกและประเทศไทย คนที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนมีอัตราการตายสูงกว่าคนที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ปัจจุบันโรคอ้วนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แม้กระนั้นในภาคสังคมก็ยังให้ความสำคัญต่อภาวะโรคอ้วนน้อยมาก และมองเห็นเป็นเรื่องปกติที่คุ้นเคย 

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดการประชุมเชิงปฎิบัติการ เรื่อง การสื่อสารมุมมองของสังคมและสุขภาพต่อโรคอ้วนเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายป้องกันและการจัดการโรคอ้วนหลายภาคส่วน รวมถึงการสื่อสารสังคมเพื่อให้เกิดการสื่อสารความสำคัญในการป้องกันและจัดการโรคอ้วนในวงกว้างผ่านช่องทางสื่อสาธารณะ ภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือของประเทศ ระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์กรอนามัยโลกด้านโรคไม่ติดต่อ (WHO-CCS NCDs) พร้อมกับมอบเกียรติบัตรแก่หน่วยงานและบุคคลที่ร่วมรณรงค์วันอ้วนโลก 2566  โดย สยามรัฐ ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเข้ารับเกียรติบัตร และร่วมรณรงค์วันอ้วนโลก 2566  ในครั้งนี้ 

นายแพทย์ดิเรก  ขำแป้น

โดยได้รับเกียรติจาก นายแพทย์ดิเรก  ขำแป้น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค มอบเกียรติบัตรแก่หน่วยงานและบุคคลที่ร่วมรณรงค์วันอ้วนโลก 2566 พร้อมกล่าวว่า  องค์กรภาครัฐและเอกชน ต่างคนต่างทำสุดท้ายไม่มาแมทซ์กัน ลองจับมาดูสิว่า เราทำอะไร พอเราเห็น Pain Point เราก็จะเห็นวิธีการ ( HOW TO)  และแนวทางการดำเนินงานในอนาคต ( What next)  สุดท้ายกรรมาธิการฯ อาจจะต้องตั้งข้อมูลและทิศทางร่วมกัน แต่ละปีเราจะเดินหน้าอย่างไร ผมคิดว่าภาครัฐและเอกชนทำเรื่องนี้เยอะมาก ง่ายสุดเริ่มจากองค์กรภาครัฐ มาวางแนวทางร่วมกัน

 
อย่างไรก็ตามหน่วยงานที่มารับเกียรติบัตรในวันนี้ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ที่จะนำความสำเร็จไปขยายผล หวังว่าเวทีนี้น่าจะเกิดประโยชน์ และเป็นจุดเริ่มต้น สิ่งที่เราทำสำเร็จ และสิ่งที่กำลังจะสำเร็จ เพื่อวางแนวทางการดำเนินงาน 5-10 xu ร่วมกันให้ชัดเจนมากขึ้น 

นายแพทย์กฤษฎา  หาญบรรเจิด
     
นายแพทย์กฤษฎา  หาญบรรเจิด ผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อและประธานคณะทำงานแผนงานโรคไม่ติดต่อภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือของประเทศไทย ภายใต้กรอบองค์การอนามัยโลก (WHO-CCS NCDs) กล่าวว่าเราไม่อยากให้เกิดภาวะโรคอ้วนที่เราคุ้นเคยจะสังเกตว่าการสำรวจสุขภาพประชาชนคนไทยที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป อัตราของการเกิดโรคอ้วนสูงขึ้น คนไทย 100 คน มีคนอ้วน 42 คน เทียบกับเมื่อ 6 ปีก่อน ผมเกรงว่าการที่เราเห็นคนอ้วนเดินไปเดินมาและเราจะเห็นว่าเป็นเรื่องปกติ 

ผมมีโอกาสไปประชุมเรื่องการจัดการโรคอ้วนในประเทศอื่น โดยเฉพาะประเทศ Tonga หนึ่งในประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก มีประชากรอ้วน ร้อยละ 80  หมายความว่า 10 คนเดินมา 8 คนอ้วน ซึ่งประเทศไทยมีพันธสัญญาร่วมกับนานาชาติ โดย  1 ใน 9 ข้อ นั้นจะต้องไม่ทำให้คนไทยอ้วนขึ้น การดำเนินการเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ที่ภาคสาธารณสุขอย่างเดียว และอยากรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนในประเทศไทยเห็นถึงความสำคัญของความอ้วน ที่ไม่ใช่เรื่องของรูปลักษณ์ แต่เป็นสภาวะสุขภาพ คนอ้วนไม่น่ารังเกียจ แต่คนอ้วนควรได้รับความช่วยเหลือด้านสุขภาพ  
     
“อ้วนเป็นภาวะสุขภาพที่ต้องเฝ้าระวังไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน  การประชุมในวันนี้ อยากจะสร้างกระแสในสังคมให้รับรู้ว่า โรคอ้วนเป็นโรค และควรได้รับการดูแล จากตัวเขาเอง และจากคนรอบข้าง ที่จะช่วยกัน อย่างน้อยที่สุดคือครอบครัว เป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยกันในเรื่องการรับประทานอาหารให้ถูกหลัก”  

 ผศ.พญ. ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร

ผศ.พญ.ดรุณีวัลย์  วโรดมวิจิตร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายเรื่อง “โรคอ้วนในมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์”  กล่าวว่า อ้วนคือภาวะที่มีไขมันที่เยอะมากพอ และทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ อ้วนหรือไม่อ้วนดูภาพรวมจาก  BMI คือการเอาน้ำหนักและเอาส่วนสูงมาเทียบ แต่ละเชื้อชาติจะไม่เท่ากัน  คนเอเชีย กับฝรั่ง ต่อให้น้ำหนักเท่ากัน  แต่ว่าเราจะมีโรคไม่เหมือนกัน ในคนเอเชีย เวลาที่เราอ้วนขึ้น น้ำหนักที่เท่ากันกับฝรั่ง สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เซลล์ไขมันเราจะโตกว่าเขา เซลลมันไข เราจะเริ่มโตก่อน พอเสร็จแล้วมันจะขยายขนาด และตอนที่มันโต มันจะสร้างสารอะไรบางอย่างที่ทำให้ เรามีอันตราย 

“ไขมัน ทำให้คนอ้วน เรากินทุกวัน มันเหมือนกับเราซื้อเสื้อมาใส่ ทุกวัน จนอ้วนเป็นตัวมาสคอท คนอ้วนเป็นลูกแพร์ หรืออ้วนแบบลูกแอ๊ปเปิ้ล คนที่อ้วนเป็นแบบลูกแอ๊ปเปิ้ล จะมีปัญหาสุขภาพมากกว่า เวลาที่เราอ้วนขึ้นถ้าไขมันสะสมอยู่บริเวณพุงก็จะเป็นไขมันช่องท้อง ถ้าเราดูข้างในก็จะเห็นเป็นมันเปลว เป็นไขมันเกาะตับ ส่งผลต่อสุขภาพ เวลาที่เราจะวัดเราไม่สามารถเลาะไขมันมาดูได้ แต่เราสามารถวัดไขมันช่องท้องได้ ด้วยการดูเส้นรอบเอว ผู้หญิงถ้ามีเส้นรอบเอวมากกว่า 32 นิ้ว ผู้ชายมากกว่า 36 นิ้ว เริ่มมีปัญหาสุขภาพ แปลว่าเส้นรอบเอวใหญ่ ไขมันในช่องท้องเยอะ โรคอ้วน เพิ่มความเสี่ยงกับโรคมากมายพอ ไม่ว่าจะเป็น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และมีมะเร็ง  13 โรค เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง โดยจะมีการสร้างฮอร์โมนที่ผิดปกติ จะทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ผู้หญิจะมีปัญหาเรื่องของรังไข่ รอบเดือนมาไม่ปกติ รวมถึงมะเร็งเต้านม รังไข่  และเยื่อบุมดลูก ส่วนผู้ชายจะเกี่ยวข้องกับมะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งลำไส้ เป็นต้น   

นอกจากนี้โรคอ้วน ทำให้เกิดอาการหยุดหายใจขณะหลับ นอนกรน ไขมันไปกดเบียดหลอดลม ทำให้การหายใจแย่ลง โดยเฉพาะตอนนอน รวมถึงภาวะดื้อต่ออินซูลิน ตับอักเสบ ทำให้เกิดการอักเสบเป็นตับแข็ง และมะเร็งตับในที่สุด เราไม่ต้องกินเหล้าเราก็มีปัญหาต่อตับได้ ที่สำคัญคนอ้วน ทำให้เกิดความเชื่อมั่นลดลง  

ดร.สง่า  ดามาพงษ์

ดร.สง่า  ดามาพงษ์ ที่ปรึกษากรมอนามัย ที่ปรึกษาเครือข่ายคนไทยไร้พุง และผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. (ผู้ดำเนินรายการและร่วมอภิปราย) อภิปรายเรื่อง “มิติใหม่การขับเคลื่อน NCDs และการจัดการโรคอ้วน” กล่าวว่า อันดับแรก  NCDs หรือ Non-Communicable Diseases เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพของมนุษย์ สองคือการควบคุมและป้องกันภาวะจากการเกินในเด็ก คือการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ตัดไฟตั้งแต่ต้นลม สามพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ย่อมเกิดจากการสร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้อ ฉะนั้นการส่งสริมและป้องกันไม่ให้เด็กมีภาวการณ์เกิน คือการแก้ปัญหา NCDs ที่ต้นเหตุและมาถูกทาง เด็กไทย 3 ใน 4 ใช้เวลาอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน 

พฤติกรรมสุขภาพอันไม่พึงประสงค์ วัยทำงาน นำมาซึ่ง NCDs ล้มหมอนนอนเสื่อเมื่อไหร่ สโตรก อัมพฤษ์ เมื่อไหร่ ครอบครัว ล่มสลาย ในที่สุดถ้าเขาทำตัวสุขภาพดีในวัยทำงาน เขาเป็นเสาหลักของครอบครัว หาเงินเข้าบ้านได้ พอเขาอายุ 60 ปี  เขาจะเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีและไม่เป็นภาระของสังคม   

เราจะส่งเสริมคนวัยทำงาน ไม่ให้เป็น NCDs  ได้อย่างไร เราเข้าไปในสถานประกอบการและเชื่อมโยง โรงงาน องค์กรกับครอบครัว และส่งเสริมส่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเราอบรมผ่านระบบออนไลน์  และทดสอบมาแล้วว่าหลักสูตรออนไลน์นี้ได้ผลมาก ปรากฏว่าเรียนและไปทำในออนไลน์ คนสามารถลดน้ำหนักได้ เซฟงบประมาณ 

แนวคิดการส่งเสริมพฤติกรรม การสื่อสารสู่สังคม ถ้าเราจะสื่อสารเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่พึงประสงค์  ป้องกัน NCDs หรือภาวะโภชนาการเกิน สิ่งแรกที่กรมอนามัยเริ่มทำตั้งแต่อยู่ในท้องแม่จนกระทั่งคลอดคือ ส่งเสริมให้กินนมแม่ โอกาสเด็กอ้วนจะต่ำกว่าเด็กที่กินนมผสม บทบาทของคนในครอบครัวให้มีทักษะในการจัดการอาหาร ส่งเสริมให้คนในครอบครัวมีกิจกรรมทางกาย ให้เป็นต้นแบบให้เด็กควบคุมป้องกันภาวะโภชนาเกินในโรงเรียน และการสร้างปัจจัยเอื้อให้เด็กเปลี่ยนพฤติกรรม เราสอนเด็กว่า กิน หวานมันเค็มมันไม่ดี แต่สิ่งแวดล้อม มันไม่เอื้อเช่น ร้านขายขนมที่อยู่รอบรั้วโรงเรียน กลับไปถึงบ้านตู้เย็นเต็มไปด้วยอาหารขยะ ตรงนี้แหละที่งานเรายังไปไม่ถึง  NCDsไม่ได้เป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเดียว มันเป็นเรื่องของสังคม เราจะพัฒนาการสื่อสารให้มันเปลี่ยนแปลงอย่างนี้ได้อย่างไร 
“ทิ้งท้ายที่ท้าทาย เมื่อ NCDs คือฆาตกรเงียบที่ ฆ่าชีวิตมนุษย์  3.5 แสนคนต่อปี และมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้น ชั่วโมงละ 37 คน และมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ สะท้อนถึงความล้มเหลว ของการควบคุมและป้องกัน NCDs ใช่หรือไม่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อภาวะ NCDs พุ่งสูงขึ้น แล้วเราจะบอกว่าเราประสบความสำเร็จได้อย่างไร”  
     

คุณเตชิน  เลิศอเนกวัฒนา
คุณเตชิน  เลิศอเนกวัฒนา นักวิทยาศาสตร์การกีฬา เครือข่ายคนไทยไร้พุง กล่าวว่า การทำองค์กรให้เป็นองค์กรสุขภาพดี คือการซัพพอร์ต หรือเอาทรัพยากรที่เอื้อให้คนมีสุขภาพดี ในวันนี้จะพูดถึงการสื่อสารมุมมองของสังคมและสุขภาพต่อโรคอ้วน เน้น 3 ด้าน  คือ กินให้ดี  นอนให้หลับ  ขยับให้พอ กินให้ดี บางคนกินอกไก่ ไข่ต้ม ทุกวันก็ไม่ไหว  คือการเลือกอาหารให้เหมาะกับ ไลฟ์สไตส์และไม่ทำร้ายตัวเองเกินไป อาจจะทำให้เขารักษาบาลานซ์ของการดีต่อใจและดีต่อร่างกายได้ ในหลาย ๆ องค์กรที่ทำแล้วอาจจะไม่ประสบความสำเร็จ เพราะไปบอกกับร่างกายว่า อาหารที่ดีคือต้องดีกับร่างกายอย่างเดียว  ฉะนั้นสมดุลดีต่อใจและดีต่อร่างกายอาจจะต้องมีอยู่บ้าง เพื่อไม่ให้ฝืนตัวเองมากเกินไป ทานอาหารให้ได้สัดส่วนจานสุขภาพ 2:1:1 โดยรวม 

นอนให้หลับ การนอนจะสะท้อนทุกอย่างที่อยู่ในใจ บางคนมีภาวะซึมเศร้า โรคเครียด หรือออกกำลังกายมากเกินไป สิ่งแรกที่จะสะท้อนออกมาคือการนอนไม่หลับ  ฉะนั้นเรื่องการนอนสำคัญมาก งานวิจัย NCDs โชว์ให้เห็นว่าถ้านอนไม่พอ หรือการนอนหลับแบบมีคุณภาพที่น้อยมัน สำคัญกับโอกาสเสี่ยงโรคเบาหวานมากขึ้น หรือแม้แต่การเผาผลาญในร่างกายที่จะลดลง การฟื้นตัวของร่างกายที่จะลดลง ที่สำคัญบางคนโหมต่อการออกกำลังกาย โหมการกินอาหาร แต่นอนไม่พอ ขยะโปรตีนเต็มสมอง โอกาสเสี่ยงต่ออัลไซเมอร์มากขึ้น  คุณอาจจะเป็นคนหุ่นดีในวันที่จำอะไรไม่ได้ ก็ได้ 

การขยับให้เพียงพอ อุปสรรคที่สำคัญที่สุดในการควบคุมอาหาร คือการออกกำลังกาย ยิ่งออกยิ่งเหนื่อย การออกกำลังกายจะทำให้แข็งแรงขึ้น ไม่ใช่แค่เพียงผอมลงหากออกกำลังกายผิดรูปแบบ ก็จะไม่ได้ตามผลที่ตั้งไว้ การออกกำลังกาย จะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม  หมู่คาร์ดิโอ หัวใจ เรื่องของความอดทนต่อความเหนื่อย ความสามารถในการออกแรงต่อเนื่องยาวนาน ไม่ต้องหนักมาก แต่ต้องนานพอ หมู่กล้ามเนื้อ เพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ และหมู่ยืดเหยียด เริ่มจากการเดิน ทุก ๆ หนึ่งก้าว สุขภาพคุณดีแน่นอน กว่าคนไม่เดิน ทุก ๆ 2,000 ก้าว จะทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ลดลง 10 % 4,000 ก้าว ลดได้ 20% และทุก ๆ  6,000 ก้าว ลดได้ 30%  เดิน 8,000 ก้าว ลดได้ 40% เดิน  10,000 ก้าว ลดได้ 50% สูงสุด แต่ถ้าเดินเร็วจะลดการเกิดโรคหัวใจเพิ่มอีก 15% รวมเป็น 65%  

การลดความอ้วนไม่จำเป็นต้องตระคุบทุกอย่างเพื่อทำให้สุขภาพดี อาจจะเริ่มต้นจากปรับปรุงอาหารก่อน คนที่เป็นหัวเรือใหญ่จะต้องเอาด้วย การปรับโรงอาหารให้มีตัวเลือกมากขึ้น ปรับพื้นที่ออกกำลังกาย คาราโอเกะ สร้างความอารมณ์ดี ก็เป็นส่วนหนึ่งของการลดความอ้วนและมีสุขภาพดี