เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย! สำหรับการสรรหา "หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์" คนที่ 9 โดยในการประชุมใหญ่วิสามัญสามัญพรรคประชาธิปัตย์ ครั้งที่ 3/2566  มีองค์ประชุม 260 คน เข้าคูหาลงคะแนนเลือก "นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน" รักษาการหัวหน้าพรรค และรักษาการเลขาธิการพรรค ให้เป็นหัวหน้าพรรคฯคนใหม่ ชนะ "นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" อดีตหัวหน้าพรรค ด้วยคะแนน 88.5 เปอร์เซนต์ 

สำหรับ "พรรคประชาธิปัตย์" เป็นพรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2489 โดยมี "นายควง อภัยวงศ์" เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และมี "ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช" เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก โดยได้ดำเนินการทางการเมืองใน "ระบอบประชาธิปไตย" อย่างต่อเนื่องซึ่งพอจะจำแนกออกได้เป็น 4 ยุค กล่าวคือ

* ยุคที่หนึ่ง (2489-2501) 

เป็นยุคแห่งการสร้างพรรค และสร้างประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการ ในระยะต้นสภาพการเมืองของประเทศไทยมีความผันผวนเนื่องจากอยู่ใน ระหว่าง การเริ่มต้น การดำเนินงานทางการเมืองอยู่ในวงแคบพรรคประชาธิปัตย์ได้มีการดำเนินการ ทางการเมืองที่ สำคัญสรุปได้ดังนี้ * ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์

ปฏิบัติหน้าที่เป็นรัฐบาลรับเชิญของคณะรัฐประหาร พ.ศ 2490
ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม
ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาลแห่งกลุ่มจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ระหว่างปี 2501-2511 บทบาททางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ได้หยุดชั่วคราว เมื่อ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครอง และเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จในปี 2501

* ยุคที่สอง (2511-2519) 

เป็นยุคแห่งการฟื้นฟูพรรค และเชิดชูประชาธิปไตย ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 ทางพรรคฯได้มีการ ดำเนินการทางการเมืองที่สำคัญดังนี้

ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร
ปฏิบัติหน้าที่เป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518
ปฏิบัติหน้าที่เป็นฝ่ายค้านรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
ปฏิบัติหน้าที่เป็นรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2519

* ยุคที่สาม (2522-2533) 

เป็นยุคแห่งการปรับปรุงนโยบาย และเข้ามีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมือง ในปี พ.ศ. 2521 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ และจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 22 เมษายน 2522 นับเป็นการเข้าสู่ยุคที่สามทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งทางพรรคฯ ได้มีการดำเนินการทางการเมืองที่สำคัญสรุปได้ดังนี้

ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์
ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (1, 2, 3, 4, 5)
ปฏิบัติหน้าที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ

* ยุคที่สี่ (ปลายปี 2533-ปัจจุบัน) 

เป็นยุคแห่งการเป็นรัฐบาลของประชาชนและฝ่ายค้านที่มีประสิทธิภาพ ในวันที่ 12 ธันวาคม 2533 พรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศถอนตัวจากการเป็นพรรค ร่วมพรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณซึ่งหลังจากนั้นได้เกิดผันแปรทางการเมือง อย่างรุนแรงนำ มาถึงเหตุการณ์ยึดอำนาจของ“คณะ รสช.” และเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” ในที่สุด 

ท่ามกลางวิกฤติการทางการเมืองในยุคที่สี่นี้พรรคประชาธิปัตย์ได้เข้ามามี บทบาทในการ ต่อต้านเผด็จการเคียงบ่าเคียงไหล่กับประชาชนจนกระทั่งเหตุการณ์สงบและนำไป สู่การเลือก ตั้งในเดือนกันยายน 2535 ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้รับชัยชนะขาวสะอาดมีส.ส ได้รับเลือกตั้ง มากที่สุดเป็นจำนวน 79 คนและได้เป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลโดยมีนายชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนดำเนินการ บริหารบ้าน เมือง มาเป็นระยะเวลา 2 ปีครึ่ง

จนมาถึงกลางปี2538 ซึ่งมีเหตุการณ์พลิกผันทางการเมืองจน นำมาสู่ การยุบสภาทำให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 กรกฏาคม2538 ซึ่งสมาชิกพรรค ประชาธิปัตย์ได้ รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นส.ส 86 คนและดำเนินการทางการเมืองเป็นฝ่ายค้าน รัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา ซึ่งทางพรรคได้พิสูจน์ถึงการเป็นพรรคฝ่ายค้านที่มีประสิทธิภาพ ต่อสู้กับการปกครองประเทศที่ไม่โปร่งใส จนในที่สุดนายบรรหาร ศิลปอาชา ต้องประกาศยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 

จากการดำเนินการทางการเมืองที่ต่อเนื่อง 77 ปี พรรคประชาธิปัตย์ ได้ต่อสู้ กับระบอบเผด็จการเดิมมาในหลายยุคสมัยบางครั้งแสดงบทบาทในฐานะพรรคฝ่ายค้าน บางครั้งแสดงบทบาทในฐานะฝ่ายรัฐบาล แต่ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีบทบาทและฐานะอย่างไร ในการต่อสู้ ทางการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ยังคงยึดมั่นการดำเนินการทางการเมืองในระบอบ ประชาธิป ไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขยึดถืออุดมคติ 4 ประการของพรรคยืนหยัดพิทักษ์รักษา ผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่และมุ่งมั่นสร้างสังคมที่เป็นธรรมให้บังเกิดขึ้น ด้วยจิตใจและ การอุทิศตัวในหลักการแห่งความซื่อสัตย์สุจริต

สำหรับประวัติ "นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน" หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ 9 เริ่มต้นเส้นทางการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ส.จ.) ในปี พ.ศ. 2533 - 2543 เป็นประธานสภาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (พ.ศ. 2538 - 2540) และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ครั้งแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 และได้รับการเลือกตั้งต่อมาในปี พ.ศ. 2548, พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2554

เคยดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดูแลพื้นที่ภาคกลาง ต่อมาในการปรับคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เขาได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแทนไพฑูรย์ แก้วทอง

ต่อมา ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับพรเทพ วิสุทธิ์วัฒนศักดิ์ จากพรรคเพื่อไทย ไปเพียง 106 คะแนน[3] หลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคได้ลาออกจากตำแหน่ง ทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ซึ่งในวันที่ 15 พฤษภาคม ปีเดียวกัน สมาชิกพรรคก็ได้ลงมติให้เฉลิมชัย ดำรงตำแหน่งเลขาธิการของพรรค

ในรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเป็นกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดต่อ​ไวรัสโคโรนา​ 2019 รวมถึง เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

ปัจจุบันในวันที่ 8 ธันวาคม 2566 พรรคประชาธิปัตย์ ได้ประกาศการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยการระบุว่า นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน จะขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์อย่างเต็มตัว นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป


#พรรคประชาธิปัตย์ #เฉลิมชัยศรีอ่อน #อภิสิทธิ์เวชชาชีวะ