จะอาชีพไหน ๆ แม้แต่นักการเมืองท้องถิ่นอย่างอดีตนายกองค์การส่วนตำบล  อำเภอทุ่งหว้า  จังหวัดสตูล   ได้ผันตัวเป็นเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  และ สิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน หรือ  ทสม. และเป็นเกษตรกรในช่วงบั้นปลายชีวิต    เพื่อสร้างคลังอาหารในครอบครัว  พร้อมกับเสริมรายได้สร้างความสุขกับครอบครัวที่ได้อยู่กับธรรมชาติ    ด้วยการเลี้ยงปูหน้าขาว  สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ด้วยวิธบห่วงโซ่อาหาร    

 

นายสมยศ  ฤทธิ์ธรรมนารถ  อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบล  และสมาชิก  ทสม.  หลังพักเรื่องการเมืองได้หันหน้าทำเกษตรอยู่บ้าน   ด้วยการปรับเปลี่ยนพื้นที่บ่อกุ้งร้าง  บนพื้นที่ 3 ไร่ เป็นบ่อเลี้ยงปูและปลา   โดยเฉพาะการเลี้ยงปูหน้าขาวสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่   ที่เชื่อว่า  จะเป็นที่ต้องการของตลาดด้วยคุณสมบัติเลี้ยงง่าย  โตไว  เปลือกไม่แข็งหนา  เนื้อแน่นทานอร่อยกว่าปูดำ

สำหรับการเลี้ยงปูหน้าขาวได้  นายวรุตม์  หลงสะ   ประธานกลุ่มผู้เลี้ยงปูหน้าขาวจังหวัดตรัง  มาเป็นพี่เลี้ยงและเครือข่าย จากคุณสมบัติของปูหน้าขาวที่เลี้ยงง่ายโตเร็วเพียง  3 เดือน  สามารถทำน้ำหนักได้ถึงครึ่งกิโลกรัม  ซึ่งเป็นขนาดกำลังดีเนื้อหวาน  ปอกง่ายกว่าปูดำ   นับเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ในฝั่งอันดามัน   โดยราคาปูหน้าขาวไข่กิโลกรัมละ 800 บาท ขณะที่ปูดำกิโลกรัมละ 350 บาท    อีกทั้งปูหน้าขาวกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดจีนและมาเลเซียเพื่อนบ้าน   ร้านอาหารในประเทศก็รับจำนวนมาก    เหมาะกับการเลี้ยงในบ่อกุ้งร้าง  

  นายสมยศ  ฤทธิ์ธรรมนารถ  อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบล  และสมาชิก  ทสม.  ในตำบลขอนคลาน  อำเภอทุ่งหว้า  มีบ่อกุ้งร้างจำนวนมากจึงเห็นว่าหากมาปรับเปลี่ยนเป็นบ่อเลี้ยงปูและปลา  ซึ่งภายในบ่อจะทำเป็น (โรงแรมปลา ศาลาปู)  และเลี้ยงแบบห่วงโซ่อาหารเริ่มตั้งแต่ใช้มูลแพะ  มูลวัว  ใส่ในผักที่ปลูกรอบบ่ออย่าง  ผักบุ้งเม็กซิโก หรือที่รู้จักคือผักผงชูรส   เมื่อเติบโตเต็มที่   ผักเหล่านี้จะเป็นอาหารของปลาภายในบ่อ  และปลาเองก็จะเป็นอาหารของปูได้อีกทอดหนึ่ง   เป็นการลดต้นทุนให้ธรรมชาติเชื่อมร้อย

  การเลี้ยงปูหน้าขาว  จะเลี้ยงตามธรรมชาติเกินไปไม่ได้  เพราะต้องดูค่า PH ของน้ำด้วย สำหรับอาหารปูหน้าขาวใช้เนื้อ  ปลา 5 กก/1000 ตัว   สำหรับผู้ที่สนใจจะใช้บ่อกุ้งร้างปรับมาเป็นบ่อเลี้ยงปู  สามารถติดต่อสอบถามและปรึกษาการเลี้ยงผ่านนายวรุตม์  หลงสะ   ประธานกลุ่มผู้เลี้ยงปูหน้าขาวจังหวัดตรัง