เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 1 ธ.ค.66 ชาวสวนผลไม้ พร้อมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกเทศบาลตำบลชำรากรวมตัวไปที่ฝายคลองบ้านแตง หมู่ 2 คนตำบลชำราก อ.เมือง จ.ตราด กว่า 20 เพื่อตรวจสอบระดับน้ำทะเลที่กำลังขึ้นล้นฝาย แต่พบว่า น้ำทะเลได้ทะลักเข้ามาจากประตูน้ำที่ชำรุดเสียหายจำนวนมาก โดยที่ชำรุดนั้น อยู่บริเวณประตูฝายซึ่งมีน้ำทะเลใต้ฝายทะลักเข้ามาจำนวนมาก แต่ระดับน้ำทะเลยังไม่สูงเกินสันฝาย แต่ในช่วงดังกล่าวยังไม่ใช่ช่วงที่มีน้ำทะเลขึ้นสูงที่สุด อย่างไรก็ตาม เหลือระดับเพียง 5-10 ซม.เท่านั้น ขณะที่ชาวสวนผลไม้ชำรากรายหนึ่งได้น้ำเครื่องวัดความเค็มของน้ำทะเลใต้ฝายและเหนือฝายมาเทียบกันว่าจะมีค่าเท่าไร
จากการตรวจความเค็มของน้ำใต้ฝายพบว่า มีค่าของเกลือเท่ากับ 1.50 มิลลิปรอด และเมื่อไปตรวจในพื้นที่เหนือฝายพบว่า มีค่าความเค็มเท่ากับ 0.70 มิลลิปรอทซึ่งแสดงให้เห็นว่า น้ำทะเลที่ทะลักเข้าไปยังพื้นที่เหนือฝายเริ่มมีความเค็มแล้ว แม้ครั้งนี้จะเป็นน้ำกร่อยก็ตาม
นายทวีศักดิ์ แพทย์พิบูลย์ ชาวบ้านคนหนึ่ง กล่าวว่า ปัญหาน้ำเค็มล้นฝายเกิดขึ้นมานานแล้ว และได้แจ้งให้ทางเทศบาลชำรากได้แก้ไข เนื่องจากน้ำเค็มได้เข้าไปในคลองบ้านแตงยาวกว่า 500 เมตร และทิ้งร่องรอยไว้เมื่อน้ำทะเลลง ซึ่งทำให้น้ำจืดมีความเค็มและเป็นน้ำกร่อยที่กำลังส่งผลกระทบต่อต้นผไม้ที่กำลังออกดอก เช่น ทุเรียน ซี่งหากปล่อยไว้นานไม่เกิน 10 วันจะส่งผลกระทบในระยะสั้นทำให้ผลไม้ทั้งตายและไม่ออกดอกออกผล ในระยะยาวจะไม่สามารถใช้พื้นที่ทำการเกษตรกรรมได้เนื่องจากดินเค็มและจะแกไขยากมาก แต่เมื่อทางเทศบาบชำรากรับรู้แล้ว ตั้งงบประมาณไว้แล้ว ประชุมร่วมกับทางจังหวัดและทางอำเภอก็สั่งการให้ดำเนินการได้เลยแต่ยังไม่ดำเนินการอะไรเเละอ้างทางสำนักงานฯเจ้าท่าตราดต้องให้ชาวบ้านต้องยินยอมอุทิศที่ดินให้ครบก่อนจีงจะดำเนินการได้ ซึ่งการแก้ปัญหาอาจจะไม่ทันการณ์
ส่วนนายสมศักดิ์ อนันต์ รองประธานสภาเทศบาลตำบลชำราก เปิดเผยว่า ยอมรับว่าปัญหาน้ำเค็มทะลักเข้าไปในพื้นที่น้ำจืดเกิดขึ้นมานานหลายปี และได้มีการซ่อมแซมมาแล้ว ล่าสุด เมื่อเทศบาลชำรากรับทราบเรื่องนี้ได้ดำเนินการตั้งงบประมาณผ่านสภาเทศบาลไปแล้ว และพร้อมที่จะทำฝายดินชั่วคราว แต่ติดที่สำนักงานเจ้าท่าตราดที่ให้เทศบาลชำรากทำเอกสารให้ครบโดยเฉพาะใบยินยอมที่ต้องมีครบทุกคน ซึ่งขณะนี้เหลือ 3 คน และยังติดตามไม่ได้ ซึ่งแม้ทางจังหวัดจะประชุมไว้แล้ว และนายอำเภอจะให้ทางเทศบาลดำเนินการไปก่อน แต่ทางพนักงานราขการเทศบาลไม่กล้าดำเนินการก่อนเนื่องจากผิดระเบียบและอาจจะถูกดำเนินคดีได้
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายทัธนา อินทผลึก นายกเทศบาลตำบลชำราก เปิดเผยว่า ข้อเท็จจริงเรื่องนี้ ทางเทศบาลฯได้ดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 หลังทราบปัญหาเพื่อหารือในเรื่องการดำเนินทำฝายดินชั่วคราวปอดกั้นคลองบ้านแตง โดยครั้งแรกเป็นพื้นที่รับผิดชอบของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หากจะดำเนินการต้องขออนุญาตจากคณะรัฐมนตรี จึงเปลี่ยนสถานที่ใหม่ที่สำนักงานเจ้าท่าตราดรับผิดชอบจึงทำหนังสือหารือไป ระหว่างนั้นได้ประชุมสภาเทศบาลตั้งงบประมาณ 350,000 แสน แต่การดำเนินการล่าช้าจากการที่ทางสำนักงานเจ้าท่าส่งเรื่องมา ต้องมีการประชุมกรรมการระดับจังหวัดและล่ารายชื่อของประชาชนในพื้นที่ให้ยินยอมทั้งหมด ซึ่งวันนี้จากที่มี 19 คนเหลือเพียง 2 คน ซึ่งได้ประสานกับสำนักงานที่ดินจังหวัดเพื่อขอทราบชื่อและที่อยู่จะได้ดำเนินการให้เเล้วเสร็จโดยเร็ว
”ทางนายอำเภอและทางจังหวัดก็แจ้งว่าให้ทำได้ก่อนเพื่อแก้ปัญหาให้กับประชาชน แต่พนักงานราขการไม่กล้าที่จะดำเนินการใดๆเนื่องจากเกรงว่าจะถูกร้องเรียนและถูกดำเนินคดี ทำให้การแก้ปัญหาทำไม่ได้ แต่ทางเทศบาลก็เร่งรัดในการติดต่อประสานงานกับเจ้าของที่ดิน 2 รายที่เหลือและได้โทรศัพท์ไปพูดคุยกับเจ้าท่าจ.ตราด เรื่องปัญหาของชาวบ้านผมพร้อมแก้ปัญหาแต่ก็ต้องยึดระเบียบด้วย“
นายทัธนา กล่าวอีกว่า ฝายบ้านแตงแห่งนี้ เป็นของชลประทานตราดที่เข้ามาก่อสร้างเพื่อป้องกันน้ำเค็มเข้าไปพื้นที่การเกษตรและยังสามารถเก็บน้ำจืดไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้ง หลังจากนั้นชลประทานได้โอนมาให้ทางเทศบาลชำราก ซึ่งการก่อสร้างสร้างมานานกว่า 25 ปี และมีการซ่อมแซมมาครั้งหนึ่งแล้วเพราะมีการรั่วไหลของน้ำทะเล แต่ยังซ่อมไม่ตรงจุดเนื่องจากต้องไปซ่อมใต้น้ำ จึงจะทำหนังสือไปยังชลประทานตราดให้มาแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ เนื่องจากเกินศักยภาพของเทศบาลชำราก