ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า ในพื้นที่ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ มีเรื่องราวของผลิตภัณฑ์สุรากลั่นชุมชน ที่กว่าจะมีชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับทั่วประเทศ แต่ในอดีตนั้น การผลิตสุรากลั่นชุมชน มีความเป็นมาอย่างยาวนาน มีการสืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น ถึงแม้ว่าการผลิตจะต้องหลบซ่อนไว้ในป่าสักทอง เนื่องจากผิดกฎหมายและในการหมักสุรากลั่น ชาวบ้านต้องนำไปซ่อนไว้ในป่า ถ้าไม่นำไปซ่อนเจ้าหน้าที่รัฐมาพบเจอก็จะโดนจับกุม ต่อมาการผลิตสุรากลั่นชุมชนได้รับการอนุญาตให้ผลิตถูกต้องตามกฎหมายในเวลาต่อมา

ด้าน นางกัญญาภัค  ออมแก้ว หรือป้าสาย ประธานกลุ่มศูนย์ชุมชนต้นแบบ วิสาหกิจชุมชนสุราสักทองแพร่ เปิดเผยว่า ในอดีตที่ผ่านมา การสืบทอดภูมิปัญญา สุราชุมชน เป็นไปอย่างหลบๆ ซ่อนๆ เพราะยังไม่ได้รับอนุญาตอย่างถูกร้องตามกฎหมาย แต่เมื่อมีการเปิดอย่างเสรี และ ให้ชาวบ้านในชุมชนตำบลสะเอียบสามารถนำภูมิปัญญานั้น มาทำต่อยอดเป็นอาชีพอย่างยั่งยืนได้ ทำให้ชาวบ้านสามารถลิตสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ของตนเองเพื่อจัดจำหน่ายได้ ในส่วนของสุราสักทองแพร่ นั้น มีที่มาคือ นำสุราหมักไปซ่อนไว้ในป่าสักอง จึงเป็นที่มาของ ชื่อสุรากลั่น "สุราสักทอง"

สำหรับ ชื่อ "สุราสักทองแพร่" มีรูปม้ากระโดด มีต้นสักทอง สัญญาลักษณ์ผลิตภัณฑ์เป็นป่าสักทองแพร่ และที่สำคัญคือ เป็นป่าสักทองแหล่งสุดท้ายของโลกที่มีมากที่สุด สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นชุมชนได้อย่างดี ที่ชุมชนสามารถอยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างกลมกลืน รักษ์และหวงแหนผืนป่าร่วมกัน  

ขณะที่ส่วนผสมและวัตถุดิบ ในกระบวนการผลิตสุรากลั่นนั้น อุดมไปด้วยสมุนไพร และพืชพื้นบ้านบางชนิดที่นำมาใช้ เป็นส่วนผลม นอกจากการใช้ข้าวเหนียวและลูกแป้ง สมุนไพรพื้นบ้าน การทำลูกแป้งฯ หมักข้าวเหนียวเพื่อผลิตสุรากลั่นชุมชน คือ สมุนไพรพื้นบ้าน และเครื่องเทศหลายชนิดเช่น ขิง ซ่า พริกไทย กระเทียม พริก ผักย่านาง ดีปลี จักข่าน ใบมะค่าง เป็นต้น กระบวนกาผลิตนิ่งข้าวเหนียวสุกแล้วรอจนข้าวเหนียวนึ่งเย็นนำข้าวเหนียวนิ่งสุกที่เย็นแล้วใส่ภาชนะส่วนมากจะใช้เป็นกะละมังหมัก ผสมลูกแป้งสมุนไพรบดละเอียดคลุกเคล้ากับน้ำเสร็จแล้วหุ้มด้วยพลาสติกใสหมักไว้ 3-5 วันเติมน้ำในข้าวเหนียวที่หมักไว้ให้ได้ปริมาณหมักต่ออีก 12-15 วันนำข้าวเหนียวที่หมักไว้ 12-15 วัน มาคนให้เข้ากันพอประมาณแล้วนำมากลั่นเป็นน้ำสุราให้ได้รสชาติ นำส่งออกจำหน่ายทั่วประเทศและกลายเป็นสุรากลั่นชุมชนที่มีชื่อเสียงสร้างรายได้อย่างยั่งยืน

โดยในพื้นที่สำบลสะเอียบ เกือบ 99 เปอร์เซ็นต์ นอกจากการทำนา เพื่อให้ผลผลิตข้าวแล้ว อาชีพหลักของคนในชุมชนคือการทำสุรากลั่นอย่างถูกกฎหมาย ทั้งผู้ประกอบการรายเล็ก ขนาดกลางไปถึงโรงงานขนาดใหญ่ มีมากกว่า 200 แห่ง คลอบคลุมพื้นที่ตำบลสะเอียบ สามารถสร้างงานให้คนในชุมชน สร้างรายได้ให้กับจังหวัดแพร่ โดยเฉพาะในเองการเสียภาษีอากรแสตมป์ รวมแล้วปีหนึ่งๆ ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท สำหรับรายได้ในการเสียภาษาของผู้ประกอบการสุรากลั่นชุมชน นอกจากนี้ศูนย์เรียนรู้สุรากลั่นชุมชนสักทองแพร่ ยังเป็นศูนย์ศึกษาดูงาน  เผยแพร่ความรู้ให้กับผู้ที่เข้ามาศึกษาดูงาน รวมไปถึง โคกหนองนา ที่ได้เรียนรู้การใช้วิถีชีวิตอย่างพอเพียงและยั่งยืน ภายในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ด้วย 

ทั้งนี้ นางภัญญภัค ยังกล่าวอีกว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสุราสักทองแพร่ เป็นกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ TOP ที่มีการผลิตผลิตภัณฑ์สุรากลั่นชุมชนพื้นบ้านเป็นหลัก ต่อมาทางกลุ่มมีแนวความคิดอยากจะให้สมาชิกลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้น และอยากพัฒนาผสิตภัณฑ์ และให้กลุ่มมีความหลากหลายากขึ้น ซึ่งในการผลิตสุรากลั่นชุมชนนั้นจะมีน้ำโจ้ เป็นสิ่งที่เหลือจากการผลิต จึงได้นำมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ โดยแนวคิดว่า จะเพิ่มหรือจะนำมาพัฒนาผคิตภัณห์ต่อยอดได้อย่างไร

ต่อมาในปี 2563 มีคณะศึกษาดูงานจากสถาบันพระปกเกล้ารุ่น ปปร.24 ได้ทำการวิจัยกากใยจากข้าวที่เหลือจากกระบวนการกลั่นสุรา เลยมีความคิดว่าจะสร้างมูลค่าดูงานกลุ่มวิสาหกิจชุนสุราแพร่สักทอง คณะศึกษาดูงานได้ศึกษากระบวนการผลิตสุรากลั่นชุมชน หรือกากใยข้าวที่เหลือจากกระบวนการกลั่นสุราชุมซน ทางคณะศึกษาดูงานจากสถาบันพระปกเกล้ารุ่น ปปร.24 จึงมีแนวคิดจะนำน้ำโจ มาพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ โดยนำน้ำโจไปวิจัย ผลการวิจัยปรากฎว่าน้ำโจ้ อุดมไปด้วย วิตามิน E C B2 และB3 ที่เข้มข้นจึงเกิดแนวความคิดนำน้ำโจมาทำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ได้แก่ เซรั่ม โลชั่น และเจลอาบน้ำ ภายใต้แบรนด์ PEAK ซึ่งแปลว่าจุดสูงสูดและต่อมามีหน่วยงานอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ ได้เข้ามาส่งเสริมพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์

โดยผลิตผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ขั้นมาชื่อว่าสักทอง ที่มาของแบรนด์สักทอง เพราะอยากอนุรักษ์ชื่อสักทองไว้ และแบรนด์ KICHONA ที่มาของชื่อแบรนด์ "ศิโซนะ" เพราะชื่อสอดกล้องกันคำว่าน้ำโจ้ อีกประการหนึ่ง คือคำว่า "คิซนะ" ภาษาญี่ปุ่นแปลว่า มีค่า ล้ำค่า ซึ่งตรงกับคอนเซ็ปต์ของผลิดภัณฑ์ของกลุ่มฯ ที่คัดรรสิ่ง ที่ทรงคุณค่าให้กับลูกค้า) และอยากให้เด็กเยาวชนรุ่นหลังได้มีความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา และภูมิปัญญาท้องถิ่นได้สืบทอดกันมา ควบคู่กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมัย และสืบสานพัฒนา