บทความพิเศษ / ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก(ท้องถิ่น)

วินาทีนี้ เรื่องที่เป็นประเด็นที่ทุกภาคส่วนจับตามองมากที่สุด คงเป็นนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต (Digital Wallet) ของรัฐบาล ที่เน้นย้ำว่า เป็นการ “แจก” เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ผ่านวิกฤตไปได้ โดยยกประเด็นเรื่องวิกฤตการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการสร้างแรงจูงใจให้ต่างชาติมาลงทุนที่ไทย ซึ่งฝ่ายรัฐบาลเชื่อว่าเสียงพรรคร่วมรัฐบาลเห็นด้วยและเทคะแนนให้ โดยเคาะเกณฑ์การแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท จากเดิมแจกทุกคนที่อายุ 16 ปีขึ้นไปแบบไม่มีเงื่อนไขใดๆ เปลี่ยนเป็นแจกแบบมีเงื่อนไข มีรายได้ไม่เกิน 70,000 บาทต่อเดือน มีเงินฝากในบัญชีรวมกันต่ำกว่า 500,000 บาท จะพบว่าผู้ที่จะได้รับสิทธิ์ทั้งสิ้น 50 ล้านคน จากเดิม 54.8 ล้านคน โดยจำนวน 4.8 ล้านคน ถือเป็นกลุ่มคนรวย มีรายได้เกินเดือนละ 70,000 บาท มีเงินฝากในบัญชีธนาคารรวมกันเกิน 500,000 บาท เป็นการประกาศเงื่อนไขที่ทำให้คนที่เชื่อว่าเป็น “กลุ่มคนรวย” หมดสิทธิ์ในเงินจำนวนนี้ทันที ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่า เกณฑ์เหล่านี้สามารถสะท้อนความเป็นคนรวยได้จริงหรือ และเมื่อกู้มาแจก ใช้หนี้ร่วมกัน ทำไมไม่ได้ใช้เงินด้วย ฯลฯ

ตัวอย่างจากประเทศจีน

แท้จริงแล้วนโยบายแจกเงินดิจิทัลนี้ไม่ใช่นโยบายใหม่ในโลกแต่อย่างใด ในประเทศจีนเริ่มทดสอบการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการแจกดิจิทัล วอลเล็ต ในเมืองเซินเจิ้นด้วยการออกเหรียญเสมือนจริงนับล้านฟรี ประชาชนสามารถร่วมลอตเตอรี่ที่มีการแจก “อั่งเปา” จำนวน 50,000 ซอง แต่ละซองมีมูลค่าประมาณ 30 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในสกุลเงินหยวนดิจิทัล พลเมืองชาวจีนที่อาศัยอยู่ในเซินเจิ้นสามารถสมัครผ่าน iShenzhen ซึ่งเป็นเครือข่ายบล็อกเชนและดำเนินการโดยรัฐบาลที่มอบเหรียญมูลค่า 10 ล้านหยวน (1.47 ล้านดอลลาร์) เพื่อส่งเสริมการใช้งานในร้านค้าที่กำหนดประมาณ 3,400 แห่งในเขต Luohu โดยสามารถใช้ได้จนถึงวันที่ 18 ตุลาคม 2563 เท่านั้น และไม่สามารถโอนไปยังบัญชีธนาคารแบบเดิมได้ และหากประชาชนผู้รับรางวัลไม่ใช้เหรียญจะถูกดึงกลับไปสู่กระเป๋าของรัฐดั้งเดิม ซึ่งโครงการริเริ่มเหล่านี้บางส่วนได้รับความนิยมอย่างมาก ตามรายงานของ Global Times อ้างอิงจากข้อมูลจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ Meituan ระบุว่า e-CNY ที่รัฐบาลเมืองหางโจวมอบให้เพื่อเฉลิมฉลองปีใหม่ให้แก่ประชาชนด้วยสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางจีน (CBDC ) มูลค่าหลายล้านดอลลาร์ ซึ่งสามารถโอนให้ประชาชนได้ภายในเก้าวินาที และได้แจกจ่ายไปทั่วประเทศในช่วงเทศกาลตรุษจีน เพื่อเพิ่มการใช้จ่าย มีรายงานว่าในประเทศหลายเมืองมอบ CBDC มูลค่ากว่า 180 ล้านหยวน (26.5 ล้านดอลลาร์) ในโครงการต่างๆ เช่น เงินอุดหนุน และคูปองการบริโภค และได้ขยายเป็นโครงการต่างๆ อีกมากมาย เช่น รัฐบาลท้องถิ่นของเซินเจิ้นได้มอบเงินอิเล็กทรอนิกส์มูลค่ากว่า 100 ล้านหยวน (14.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่ออุดหนุนอุตสาหกรรมอาหารของเมือง เมืองหางโจวได้ออกบัตรกำนัล e-CNY มูลค่า 80 หยวน ($12) ให้กับผู้อยู่อาศัยแต่ละคน มูลค่าประมาณ 4 ล้านหยวนหรือ 590,000 ดอลลาร์ในวันที่ 16 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งพบว่า นอกจากจะได้รับการตอบรับจากประชาชนแล้ว หน่วยบริการขายของชำออนไลน์และจัดส่งอาหารของอาลีบาบา รวมถึงระบบส่งอาหาร ele.me ซูเปอร์มาร์เก็ต Tmall และร้านขายของชำ Hema รวมอยู่ในโครงการนำร่องหยวนดิจิทัลของจีน Caixin รายงานเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 และประชาชนผู้ใช้แพลตฟอร์มเงินดิจิทัลเหล่านี้พบว่า เงินดิจิทัล เพิ่มทางเลือกในการเลือกซื้อและการชำระเงิน สิ่งนี้ทำให้สกุลเงินดิจิทัลสามารถซื้อและชำระเงินให้แก่ผู้ให้บริการทั่วโลกได้

การพัฒนารูปแบบเงินดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนนี้ กำลังได้รับความสนใจจากรัฐบาลทั่วโลก โดยจีนอยู่ในระดับแนวหน้าและคาดว่าจะกลายเป็นเศรษฐกิจหลักแห่งแรกที่เปิดตัว CBDC โปรแกรมสกุลเงินดิจิทัลอธิปไตยของบริษัทซึ่งมีชื่อว่า Digital Currency Electronic Payment (DCEP) จากข้อมูลของ BIS พบว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของธนาคารกลางของโลกได้เริ่มวางแนวคิดและวิจัยศักยภาพของสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) แล้ว 40 เปอร์เซ็นต์กำลังสร้างการพิสูจน์แนวคิด (PoC) และ 10 เปอร์เซ็นต์กำลังปรับใช้โครงการนำร่องเงินหยวนดิจิทัลของจีนยังรวมถึงธนาคารเอกชนด้วย จีนกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่ดินแดนไร้เงินสดมากขึ้นเรื่อยๆ ในปีที่แล้ว ธุรกรรมทางมือถือมีมูลค่าสูงถึง 347 ล้านล้านหยวน (49 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งคิดเป็นสี่ในห้าของการชำระเงิน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในระบบการเงิน ประเทศนี้เป็นผู้นำในความพยายามเดี่ยวในการสำรวจ CBDC โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2014 โดยรัฐบาลจีนเชื่อว่า สกุลเงินดิจิทัลแบบรวมศูนย์นี้ จะทำให้รัฐบาลติดตามเงินสดดิจิทัลทั้งหมดที่หมุนเวียนอยู่ ทำให้การฟอกเงิน การหลีกเลี่ยงภาษี และการจัดหาเงินทุนของผู้ก่อการร้ายทำได้ยากขึ้นมาก ภายใต้หลักการ “การไม่เปิดเผยตัวตนที่ควบคุมได้” มาใช้ นั่นหมายความว่าเมื่อทำการซื้อขายกับ DCEP ทั้งสองฝ่ายสามารถไม่เปิดเผยตัวตนได้เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของสาธารณะ แต่เมื่อพูดถึงการต่อต้านการทุจริต การฟอกเงิน การหลีกเลี่ยงภาษี และการจัดหาเงินทุนของผู้ก่อการร้าย ธนาคารของรัฐยังคงสามารถติดตามข้อมูลการซื้อขายได้ อย่างไรก็ตาม ในขณะที่จีนเชื่อมั่นว่า สิ่งนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในระบบเศรษฐกิจได้ ในประเทศไทยกลับมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งในเรื่องเวลา ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น แต่อย่าลืมว่า หากมีการพัฒนาเงินดิจิทัลจนสามารถใช้ซื้อสินค้าหรือบริการได้โดยปราศจากข้อจำกัดด้านการแลกเปลี่ยนสกุลเงินในแต่ละประเทศแล้ว เทคโนโลยีนี้ย่อมทำให้เกิดทางเลือกในการใช้จ่ายที่ไม่ต้องจำกัดอยู่เพียงผู้ให้บริการภายในประเทศอีกต่อไป ซึ่งอาจเป็นการแก้ปัญหาเรื่องการผูกขาดทางเศรษกิจได้อีกรูปแบบหนึ่ง

ตัวอย่างจากประเทศญี่ปุ่น

รัฐบาลของประเทศญี่ปุ่นได้จัดทำโครงการสนับสนุนการชำระเงินแบบไร้เงินสดในญี่ปุ่น โดย ผู้บริโภคจะได้รับคะแนนสะสมเมื่อใช้การชำระเงินแบบไร้เงินสดในญี่ปุ่น ดังนั้นลูกค้าจะได้รับ 2% หรือ 5% ของการซื้อที่ไม่ใช่เงินสด รวมถึงการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต ณ จุดซื้อ รัฐบาลได้เริ่มให้การสนับสนุนร้านค้าในการติดตั้งระบบการชำระเงินแบบไร้เงินสด โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มการชำระเงินแบบไร้เงินสดเป็นสองเท่าภายในปี 2568 รวมถึงการส่งเสริมด้วยการจ่ายเงินเดือนเป็นเงินดิจิทัล แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลญี่ปุ่นต้องเผชิญกับความท้าทายเนื่องจากกลุ่มประชากรสูงอายุปฏิเสธที่จะใช้เงินดิจิทัลทำให้การใช้แพลตฟอร์มการชำระเงินผ่านมือถือและบริการเงินดิจิทัลยังค่อนข้างต่ำในญี่ปุ่น ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ทำการวิจัยเพื่อพิสูจน์แนวคิดสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) เป็นเวลากว่าสองปี และเปิดตัวโครงการนำร่องการพัฒนา CBDC ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินคาดการณ์ ว่ามูลค่า 5 ล้านล้านดอลลาร์ใน CBDC จะถูกหมุนเวียนผ่านมือของผู้คนมากถึง 4 พันล้านคนภายในปี 2573 ในฐานะที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสาม การนำเงินเยนดิจิทัลมาใช้จะมีนัยสำคัญต่อระบบการเงินทั่วโลกและความก้าวหน้าของ สินทรัพย์ ดิจิทัล เทคโนโลยีทางการเงินแล้ว และเชื่อว่า สิ่งนี้ทำให้ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก ในขณะที่การใช้สินทรัพย์ดิจิทัลและเทคโนโลยีบัญชีแยกประเภทแบบกระจายได้เติบโตขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่การยอมรับของผู้บริโภคกลับค่อนข้างจำกัด ท่ามกลางข้อโต้แย้งเรื่อง “ขอบเขตของเงิน และการควบคุม” ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่า “การยอมรับในวงกว้าง” ต้องการ “การสนับสนุนจากสถาบันอธิปไตย สถาบันการเงินที่ได้รับการควบคุม และบริษัทขนาดใหญ่” การพัฒนาและการนำเทคโนโลยีนี้อย่างมีศักยภาพ จึงเป็นการนำสินทรัพย์ดิจิทัลไที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลไปอยู่ในมือผู้ใช้หลายพันล้านคนเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานของโครงสร้างการชำระเงินทั่วโลกดังกล่าว และจะต้องแก้ไขระบบกฎหมายให้การพาณิชย์และการเงินทั่วโลกดำเนินต่อไป

สองฝ่ายต้องเปิดใจยอมรับมัน

ทางตันหรือทางออกคืออะไร หลายคนวกมาคำถามนี้ เพราะยิ่งสาวยิ่งพูดยิ่งมากความ มันเป็นเรื่องของเศรษฐกิจมหภาค เป็นเรื่อง macro (มหภาค) จึงใช้วิธีคิดแบบ micro (จุลภาค) มาคิดไม่ได้ เถียงกันไม่จบ เส้นทางวิบาก ข้อเสียของเงินดิจิทัลวอลเล็ต ถูกด้อยค่าโจมตีอย่างไม่ขาดสาย จนถึงวันนี้ มาดูข่าวไล่เลียงสาระจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ไม่เห็นพ้องกับฝ่ายรัฐบาล ทางฝ่ายการเมืองด้วยกัน รวมทั้งฝ่ายสีเสื้อทั้งหลายต่างออกมาทั้งเชียร์ทั้งด้อยค่า ดิสเครดิตรัฐบาล ว่าไม่ตรงปกกับที่ได้หาเสียงไว้แต่แรก สุดท้ายก็ต้องมากู้เงิน และไม่เห็นด้วยการการกู้เงินจำนวนมากมาแจก อีกฝ่ายหนักหน่อยจะใช้ความไม่ชอบด้วยกฎหมายมาล้มโครงการ นานาจิตตัง นี่ยังไม่ว่าถึงไอโอ และเฟกนิวส์ที่มีแทรกแซงตลอด ที่เป็นเส้นทางวิบากของนโยบายแจกเงินหมื่น โครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต ที่รัฐบาลต้องหาทางลงให้ได้ แม้ว่าตามข่าวเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมามีเค้าว่าพอจะได้ข้อยุติบ้างก็ตาม แต่ก็มิวายมีประเด็นให้สาวจากอีกฝ่าย เป็นมหากาพย์ได้อีกไม่จบ นับแต่มีเงื่อนไข ข้อจำกัด ในการใช้งาน เป็นเรื่องยากสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยี ความไม่พร้อมของระบบร้านค้าบางร้าน ร้านค้าไม่สามารถนำเงินออกมาหมุนเวียนได้ภายใน 6 เดือน ปัญหามุมมองเงินดิจิทัลวอลเล็ตทั้งสองด้านแล้วแต่จะคิดและมอง ฝ่ายมองแย่มองร้ายก็มี ฝ่ายที่มองดี โปรรัฐบาลก็มี หากมองด้วยใจเป็นกลาง การวิพากษ์วิจารณ์กันและกันได้น่าจะเป็นสีสันของระบอบประชาธิปไตยในระบบเศรษฐกิจแบบเสรี เป็น “จุดแข็งของระบอบประชาธิปไตยคือเป็นระบอบการปกครองที่เปิดโอกาสให้ผู้คนได้เข้ามานำเสนอ” การมีอคติ ด้อยค่ากันมากเกิน ในขณะที่อีกฝ่ายก็มิได้หวังผลเลิศ น่าจะมีจุดสมดุล และยอมรับในความเห็นต่างกันได้

ปัญหาใหญ่ อยู่ที่ความเหมาะสมกับสถานการณ์ จุดคุ้มทุน จุดดีที่สุด ทางเลือกที่ดีที่สุด เพื่อไปสู่เป้าหมาย คือ ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ บ้านเมืองเจริญ เพราะคงไม่มีรัฐบาลหรือผู้บริหารคนใดคิดพัฒนาในเชิงลบ ทำให้บ้านเมืองแย่ลง ซึ่งต่างฝ่ายต่างขัดแย้งในวิธีคิด วิธีดำเนินการ means to ends ทำให้ไม่ได้ข้อสรุป เพราะต่างไม่เห็นพ้อง มีแนวโต้แย้งต่อต้าน นอกจากนี้ยังมีประเด็นข้อกฎหมายมาเกี่ยวข้องด้วย ว่าเป็นการกระทำที่ชอบตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ อันจะมีผลต่อสถานะของพรรคการเมืองในเรื่องความนิยม และ การถูกตัดสิทธิ์ ทางการเมือง ทั้งตัวบุคคลและพรรคการเมือง

แน่นอนว่า เงินดิจิทัลวอลเล็ตนี้สะท้อนให้เห็นว่า ประเทศชั้นนำของโลกหลายประเทศยอมรับและทำการศึกษาเพื่อเปลี่ยนระบบการพาณิชย์และการเงินของโลก แต่เป็นที่น่าแปลกใจที่มีกระแสมากมายจากบรรดาผู้เชี่ยวชาญการเงินและนักวิชาการหลายคน ออกมาปฏิเสธและต่อต้านการนำร่องเพื่อไม่ให้ดำเนินโครงการนี้ แน่นอนว่า เมื่อทางเลือกประชาชนมากขึ้น การใช้จ่ายย่อมไม่จำกัดอยู่ในประเทศอีกต่อไป เปลี่ยนเป็นการพาณิชย์แบบไร้พรมแดน  (Global Marketing) หลายคนห่วงเรื่องของประชากรสูงอายุ เพราะปัจจุบันประเทศไทยเป็น “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์” (Completely Aged Society) แล้ว โดยมีประชากรสูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไปมากถึง 20% ต่อไปไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (Super-Aged Society) โดยมีประชากรสูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไปถึง 30% ของจำนวนประชากรประเทศ ซึ่งกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขประมาณการว่าจะเกิดขึ้นในปี 2578 คืออีก 12 ปีข้างหน้า ความไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี โดยกลุ่มประชากรผู้ด้อยโอกาส หรือกลุ่มเปราะบาง ก็อาจเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่เข้าไม่ถึงเทคโนโลยีเช่นกัน อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่า ในประเทศญี่ปุ่นก็ประสบปัญหาไม่ต่างกันทั้งที่เป็นประเทศชั้นนำด้านเทคโนโลยีของโลก ดังนั้น สิ่งนี้อาจเป็นประเด็นที่รัฐต้องครุ่นคิดเพื่อป้องกันปัญหาเหล่านั้น คงมิใช่ปัจจัยในการหยุดการพัฒนาประเทศ เพราะผู้สูงอายุหลายคนก็ยังสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างคล่องแคล่ว จึงขึ้นอยู่กับนโยบายที่ครอบคลุมและการให้ความรู้ให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพราะทุกสิ่งย่อมเปลี่ยนและขับเคลื่อนเป็นพลวัต (disrupt) เมื่อถึงเวลาเปลี่ยน ก็ต้องเปลี่ยน ประเทศไทยต้องพัฒนาต่อไป โดยไม่ถอยหลัง หรือย่ำอยู่กับที่ในสิ่งเหล่านี้ เทคโนโลยีวิทยาการทันโลก ย่อมเปิดโลกให้กว้างขึ้นอาจช่วยเราได้ เพียงแต่เราต้องเปิดใจยอมรับมัน