นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าว เปิดงาน GSB Forum 2023 ภายใต้หัวข้อ ESG : Social Pillar Driven "สังคมยั่งยืน เพื่อโลกที่ยั่งยืน" ซึ่งจัดโดยธนาคารออมสิน ณ โรงแรมสยามเคมปินสกี้ กรุงเทพ ว่า ความยั่งยืน ถือเป็นโจทย์ความท้าทายของหลายประเทศทั่วโลก ที่เกี่ยวโยงทั้งมิติทางสังคม ความเลื่อมล้ำ ความยากจนที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ ไปจนถึงปัญหา สิ่งแวดล้อม ไปจนถึงมิติมางเศรษฐกิจ และปัญหาด้านธรรมาภิบาล เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต เพราะความยั่งยืนเป็นความท้าทายสำคัญของทุกประเทศทั่วโลก และถือเป็นวาระสำคัญ ที่ภาครัฐพยายามผลักดันให้เกิดผลในทุกมิติ

"ในส่วนของภาครัฐ ได้สร้างกลไกสนับสนุน ทั้งด้านกฎ ระเบียบ นโยบาย รวมถึงมาตรการทางการเงิน และการคลัง เพื่อส่งเสริมการลงทุน และให้เกิดกิจกรรม ทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน แม้บทสรุปของความยั่งยืนยัง ไม่อาจวัดผลได้ในปัจจุบัน แต่เมื่อทุกภาคส่วนร่วมมือกัน สร้าง Ecosystem ในด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับระบบเศรษฐกิจไทย ในอนาคตพวกเรา และลูกหลานของเรา ก็จะได้รับผลจากการเริ่มต้นตั้งแต่ในวันนี้"

ทั้งนี้ ขอชื่นชม และขอบคุณธนาคารออมสิน ที่ริเริ่มความยั่งยืนในมิติเชิงสังคมมาโดยตลอด และยังได้ขยายไปยังมิติเชิงสิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล เพื่อสร้างความสมดุลในทุกภาคส่วน

ด้าน นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการ ธนาคารออมสิน กล่าวว่า การจัดงาน GSB Forum 2023 เพราะธนาคารออมสิน มีความพยามส่งเสริมโปรโมทการทำงานเพื่อสังคมเพราะถือว่า ESG เป็นเทรนด์ที่สำคัญของโลกซึ่งนำไปสู่ความยั่งยืน ทั้งนี้ มองว่าปัจจุบันองค์กรต่างๆให้เน้นหนักให้ความสำคัญกับ Net Zero ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดี ขณะที่แบงก์ก็มีการออกกรีนโลน แต่อย่างไรก็ตามอยากเชิญชวนหน่วยงานต่างๆ ช่วยกันแก้ปัญหาโครงสร้างของประเทศ เชิงสังคมให้มากขึ้น เพื่อบรรเทาปัญหาความยากจน ความเลื่อมล้ำซึ่งเป็นปัญหาที่ใกล้ตัวมาก ผ่านโครงการเพื่อสังคมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Corporate Social Responsibility หรือ CSR ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่ในมุมมองของต้นทุน 10-200 ล้านบาท แล้วแต่ขนาดขององค์กร ส่วนใหญ่จะทำโครงการแล้วจบไป ไม่มีความต่อเนื่อง จึงอยากให้มีการเปลี่ยนมุมมองจาก CSR เป็น Creating Shared Value หรือ CSV เพราะจะช่วยให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนให้กับสังคม และประเทศมากขึ้น ควบคู่กับ Net Zero

"ออมสินดำเนินการเหมือนแบงก์พาณิชย์ กลับมายั่งจุดยืน คือให้ความสำคัญกับสังคม และทำอย่างไรให้กำไรอยู่ได้ และยังช่วยสังคม ช่วยโลกได้ ออมสิน ทำมาตลอด 3 ปีครึ่งแล้ว ซึ่งมั่นใจว่าประสบความสำเร็จมากขึ้นจริงๆ เราสร้างคอนเซปธนาคารเพื่อสังคมขึ้นใหม่ ออมสินก่อนผมมา เราใช้คำว่ามากกว่าธนาคาร เป็นธนาคารเพื่อสังคมมาโดยตลอด แต่เราสร้าง 2 ธุรกิจแยกออกจากกัน ในด้านหนึ่งทำธุรกิจเหมือนแบงก์ปกติ มีธุรกิจขนาดใหญ่ มีกำไรพอสมควร และเอากำไรจากส่วนนี้ไปทำภาระกิจเชิงสังคม จึงเกิดเป็นดูโอมิชชั่น ธุรกิจฝั่งสังคมอาจเริ่มจากการขาดทุน แต่เอากำไรจากธุรกิจใหญ่มาสนับสนุนสังคม เราคัดคอสอย่างรุนแรง เราลดงบประมาณจากปีที่ผมมา 4.2 หมื่นล้าน เหลือ 3.2 หมื่นล้านต่อปี ก็ยังอยู่ได้ และเอากำไรมาช่วยคน กำไรเพิ่มขึ้นด้วย"

นายวิทัย กล่าวต่อว่า ธุรกิจเล็กที่ช่วยคน อาจดูไม่มากในแง่มูลค่าสินเชื่อ แต่จำนวนหัวหลายล้านคนมากที่ช่วยให้เขาได้เข้าถึงแหล่งทุน เขากู้ที่ละ 1-3 หมื่น เป็นการนพัฒนาสร้างอาชีพ พัฒนาชุมชน ไม่ได้อยู่ในพอร์ตสินเชื่อ นี่คือธุรกิจของธนาคารออมสิน ซึ่งเราปักธง 2 ตัว คือ แก้ปัญหาความยากจน และบรรเทาปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม อาจะ แก้ไม่หมด และก็ช่วยบรรเทาได้

นอกจากนี้ ออมสิน ยังดึงหนี้นอกระบบเขาสู่ระบบมากขึ้น ด้วยการรับความเสี่ยงเอากำไรจากธุรกิจใหญ่มาโปะขาดทุนจากธุรกิจเล็ก สู้แข่งขันในตลาดที่มีดอกเบี้ยไม่เป็นธรรม ซึ่งออมสินทำมา 3 ปี จำนวน 4 แสนคน ปล่อยสินเชื่อปีที่แล้วประมาณ 5-6 พันคน

สำหรับผลประกอบการของธนาคารออมสินปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าปีนี้ มีกำไร 3.3 หมื่นล้านบาท ณ สิ้นเดือนต.ค.66 ธนาคารมีกำไรแล้วกว่า 3.1 หมื่นล้านบาท สูงกว่าปีที่ 2556 ที่อยู่ระดับ 2.7 หมื่นล้านบาท เนื่องจากออมสินมีการลดต้นทุนอย่างรุนแรง โดยวางเป้าหมายไว้ปีละ 1 หมื่นล้านบาท และยังมีรายได้มาจากการทำธุรกิจช่วยเหลือสังคมเข้ามาชดเชยการตรึงดอกเบี้ย ขณะที่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL ในปีนี้จะพยามควบคุมไม่ให้เกิน 3% การเพิ่มเงินกันสำรองรวมกว่า 5.3 หมื่นล้านบาท

โดยออมสินมีกำไรเพิ่มขึ้น แม้ว่าออมสินจะตรึงอัตราดอกเบี้ยในหลายครั้ง โดยเฉพะดอกเบี้ยเงินกู้ที่ตึงมาตลอดช่วงครึ่งปีหลังปี 2565 และปี 2566 ตรึงตั้งแต่ต้นไตรมาสที่ 4 เป็นต้นมา เพื่อต้องการช่วยบรรเทาภาระประชาชน ณ วันนี้ จากที่ออมสินเคยมีดอกเบี้ย MLR MRR และ MOR สูงกว่าปกติ เพราะเรามีลูกค้าที่เป็นกลุ่มเสี่ยง แต่ตอนนี้ดอกเบี้ยเราอยู่ต่ำกว่ากระทรวงพาณิชย์ทั้งหมด ซึ่งเป็นการช่วยสนับให้ประชาชนแก้ไขหนี้นอกระบบ และหนี้ครัวเรือนตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งช่วงโควิดออมสินปล่อยสินเชื่อไปกว่า 3 ล้านกว่าราย และหากนับจากวันนี้ ย้อนไปก่อนโควิดเราเคยมีกลุ่มคนที่เป็นฐานรากแค่ประมาณ 1.57 ล้านคน ตอนนี้มีประมาณ

"ปีนี้มีกำไร 3.3 หมื่นล้านบาท ตั้งแต่ก่อนโควิด และพยามคุมหนี้เสียให้อยู่ที่ 3 % ใช้วิธีการลดต้นทุนอย่างรุนแรง ตั้งงบประมาณลดลง ซึ่งทำให้ออมสินมีกำไรสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการตอบโจทย์ด้านการสร้างกำไร และภาระกิจช่วยสังคม ขณะแบงก์เองก็มีความแข็งแรงด้วยโดยแนวโน้มดอดเบี้ยจะตรึงถึงสิ้นปี เพราะดอกเบี้ยเงินฝากมีการตรึงตัว ส่วนแนวโน้มปีหน้าต้องดูสถานการณ์การแข่งขันก่อน เพราะต้นทุนหลักออมสิน คือ เงินฝาก"

อย่างไรก็ตาม การตรึงดอกเบี้ยดังกล่าวทำให้ออมสินสูญรายได้ จึงได้มีการหารายได้ส่วนอื่นมาชดเชย นั้นคือการ การขยายขอบเขตธุรกิจในการช่วยคน และให้กลุ่มฐานรากเขาสู่ระบบสินเชื่อ

 

#ออมสิน #กำไร #ดอกเบี้ย