เมื่อวันที่ 21 พ.ย.66 เพจเฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร โพสต์ข้อความระบุว่า...
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครขอสรุปผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 เวลา 05.00-07.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด)
ตรวจวัดได้ 20.5-46.6 มคก./ลบ.ม.
ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 33.1 มคก./ลบ.ม.
ค่า PM2.5 มีแนวโน้มลดลงแต่ยังคงเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 19 พื้นที่ (ช่วง 05.00-07.00 น.)
ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ในช่วง 20.5-46ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 17 พื้นที่ ได้แก่
1.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 47.0 มคก./ลบ.ม.
2.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 45.8 มคก./ลบ.ม.
3.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 42.7 มคก./ลบ.ม.
4.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 42.0 มคก./ลบ.ม.
5.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 42.0 มคก./ลบ.ม.
6.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 41.3 มคก./ลบ.ม.
7.เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 40.9 มคก./ลบ.ม.
8.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 40.5 มคก./ลบ.ม.
9.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 40.4 มคก./ลบ.ม.
10.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 39.9 มคก./ลบ.ม.
11.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 39.9 มคก./ลบ.ม.
12.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 39.6 มคก./ลบ.ม.
13.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 39.4 มคก./ลบ.ม.
14.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : มีค่าเท่ากับ 38.8 มคก./ลบ.ม.
15.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 38.4 มคก./ลบ.ม.
16.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ เขตทุ่งครุ : มีค่าเท่ากับ 37.8 มคก./ลบ.ม.
17.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 37.7 มคก./ลบ.ม.
ข้อแนะนำสุขภาพ
- ระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
สำหรับบุคคลทั่วไป: ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น
ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง หากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลียควรปรึกษาแพทย์
1. ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่นPM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)
ในช่วงวันที่ 21-22 พ.ย. 66 การระบายอากาศไม่ดี จึงคาดว่าจะทำให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองเพิ่มขึ้นได้
สำหรับช่วงวันที่ 23-29 พ.ย. 66 การระบายอากาศอ่อนถึงดี อาจทำให้แนวโน้มความเข้มข้นของฝุ่นละอองลดลง
คาดการณ์วันนี้มีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย
2. จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA ไม่พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ท่านสามารถตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน ผ่านทาง
- แอปพลิเคชัน AirBKK
- FB: สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
- FB: กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม
- FB: กรุงเทพมหานคร
- LINE ALERT
- LINE OA @airbangkok
กรณีพบเห็นแหล่งกำเนิดมลพิษสามารถแจ้งเบาะแส ผ่านทาง Traffy Fondue
รายงานข้อมูลโดย: ทีมโฆษกศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร
แหล่งข้อมูล: ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร กรมอุตุนิยมวิทยา และสํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ