นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังการหารือกับสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) ว่า จากการหารือร่วมกันได้ข้อสรุปการหลักเกณฑ์การจัดตั้งากองทุนไทยเพื่อความยั่งยืน โดยใช้ชื่อว่า Thailand ESG Fund(TESG) ซึ่งเป็นกองทุนใหม่ มีวัตถุประสงค์สนับสนุนการออมเงินในระยะยาว โดยมีเป้าหมายการลงทุนในธุรกิจหลักทรัพย์ที่เป็น ESG และจะรวมไปถึงตราสารหนี้ด้วย ซึ่งจะมีความหลายหลายมากขึ้น

สำหรับเงื่อนไข กองทุนดังกล่าวจะต้องเป็นการลงทุน 8 เป็นเต็ม โดยมีอายุกองทุน 10 ปี โดยลงทุนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมิน หักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 1 แสนบาทต่อราย

"ซึ่งจะเริ่มลงทุนได้ภายในสิ้นเดือนธันวาคมนี้ เพื่อให้ประชาชนได้เช้ามาลงทุนทันใช้ทันในปีนี้ และสามารถหักภาษีได้เลยในรอบเดือนมี.ค.67" 

นายลวรณ กล่าวว่า ด้วยระยะเวลาที่ค่อนข้างจำกัด คาดว่ากองทุนนี้จะมีเม็ดเงินเข้ามาไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งย้ำว่า การเป็นบริษัท ESG ไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทขนาดใหญ่เพียงอย่างเดียว แต่บริษัทขนาดล็กๆก็สามารถเป็นบริษัท ESG ที่ดีได้เช่นกัน ซึ่งปัจจุบัน บริษัทในตลาดที่เกี่ยวกับ ESG มีอยู่ประมาณ 210 บริษัท จากทั้งหมด 800 บริษัทเชื่อว่า จะมีจำนวนมากพอสำหรับการลงทุน และเชื่อว่าถ้ามีกองทุนนี้ จะมีบริษัทที่ทำตัวเองให้เป็น ESG มากขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะตอบโจทย์เทรนและกติกาของโลกในการเป็นกรีน

ทั้งนี้ ESG Fund ลักษณะการลงทุนระยะยาวคล้ายกับ LTF แต่จะเข้าลงทุนในหุ้น ESG เชื่อว่าจะช่วยหนุนตลาดทุนในระยะยาว แต่ไม่ใช่การจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกองทุนพยุงหุ้น

ด้าน ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ในฐานะประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) กล่าวว่า เราเห็นเทรนด์ ESG ของโลกมีความสำคัญอย่างยิ่ง ขณะที่ประเทศไทยเข้าไปเป็นภาคีเครือข่ายในข้อตกลงต่างๆ เราจึงมีความต้องการเห็นบริษัทไทยได้รับการส่งเสริมในเรื่องนี้ ทั้งนี้เชื่อว่า การที่รัฐบาลใส่ใจในเรื่องนี้ จะทำให้บริษัทไทยยกระดับขึ้นมา และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ถือเป็นก้าวที่สำคัญของรัฐบาลไทบ และบอกต่อโลกได้ว่าไทยใส่ใจในเรื่องนี้ ถือว่าเป็นการทำอย่างรวดเร็วมาก เพราะปลายปีนี้ก็สามารถลงทุนได้แล้ว ซึ่ง FETCO ต้องของขอบคุณกระทรวงการคลัง และรัฐบาลอย่างมาก

"กองทุนอื่นให้ลงทุนในต่างประเทศได้ แต่กองนี้เราจำกัดให้ลงทุนในเพียงในประเทศ เพื่อต้องการส่งเสริมบริษัทไทยใส่ใจเรื่อง ESG อย่างจริงจัง โดยคาดว่า จะมีสภาพคล่องเข้ามาในระบบ ปีแรก 1 หมื่นล้านบาท หลังจากนั้นมั่นใจว่า ในอนาคตจะมีบริษัท ESG เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการส่งสัญญาณในปีนี้ดีกับประเทศมากขึ้น"

ด้าน นางสาว กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า การลดหย่อนภาษีดังกล่าว จะทำให้แต่ละปีรัฐสูญเสียรายได้ประมาณ 1 แสนล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับกองทุน Long Term Equity Fund ( LTF) แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ไทยได้อยู่ในเทรนด์ของโลก กรมสรรพากรก็พร้อมสนับสนุน

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีการหารือร่วมกันถึงแนวทาง หารือเกี่ยวกับการทบทวนเงื่อนไขของกองทุนเพื่อการออม (SSF) ที่จะครบอายุในปี 2567 ว่าจะมีการต่ออายุหรือไม่ ซึ่งจะมีการขอให้ปรับระยะเวลาถือครองหน่วยลงทุนลดลงจาก 10 ปีปฏิทิน เพื่อให้ประชาชนตัดสินใจลงทุนง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ตามขณะนี้คงต้องรอดูทิศทางของกองทุน EGS ว่ามีความสำเร็จมากน้อยเพียงใดก่อน ค่อยมาพิจารณาเรื่องการปรับเงื่อนไข SSF ในปีหน้าอีกครั้ง รวมทั้งมาตรการการกำกับดูแลตลาดทุนให้มีความเข็มงวดมากขึ้น มอร์ สตาร์ท ขณะเดียวกันจะหารือถึงการลงทุน อินฟาร์สตรัคเจอร์ ฟันด์ เพราะรัฐบาลจะมีการการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น เป็นต้น