นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงกรณีที่รัฐบาลจะออก พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เพื่อกู้เงิน ตามมาตรา 53 ของ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ ปี2561 เพื่อใช้ในโครงการเงินดิจิทัลได้หรือไม่นั้น ก่อนอื่นเลยคือ ทางเลือกแรกของแหล่งเงินนั้น จะใช้งบประมาณ ซึ่งมีแผนในเรื่องการบริหารจัดการตัดงบส่วนเกิน บริหารจากส่วนที่ไม่ใช้ประโยชน์ไว้แล้ว ใน 2 ปีงบประมาณ ซึ่งเมื่อได้มีการหารือกับทุกหน่วยงานในเรื่งอนี้แล้ว ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ให้ข้อแนะนำว่า การใช้งบประมาณปกติยังมีข้อจำกัด คือ 1.การแบ่งแหล่งมาจากเพียง 2 ปีงบประมาณนั้น มาใช้ในการดำเนินโครงการเงินดิจิทัล โครงการเดียวนั้นทำได้ยาก เพราะว่า พ.ร.บ.งบปี 2567 ยังไม่ได้ผ่านการพิจารณาจากรัฐสภา จึงยังไม่เห็นตัวเงินที่ชัดเจน

2.งบประมาณแต่ละปียัง เป็นไปตามกรอบเดิม เช่น งบประมาณปี 2567 ยังเป็นกรอบรายจ่ายที่ 3.48 ล้านล้านบาท หากทำโรงการเงินดิจิทัล ก็เป็นเพียงก็เปลี่ยนจากงบที่ให้ส่วนราชการ ไปที่มือประชาชนเท่านั้น ผลการกระตุ้นเศรษฐกิจจึงยังมีไม่มาก เพราะการใช้งบประมาณไม่ใช่เงินก้อนใหม่ เพราะฉะนั้น หากยังใช้งบประมาณอยู่ เป็นหมายที่รัฐบาลต้องเงินดิจิทัลกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นอาจไม่ได้เห็นผลอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทาง ผู้ว่าธปท.จึงได้เสนอ ต่อ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นการส่วนตัวว่า ให้ใช้วิธีการกู้เงิน

"อย่างไรก็ดี ตามที่เคยเป็นกระแสว่า จะใช้เงินนอกงบประมาณ อาทิ หนี้ตาม มาตรา 28 ของ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ ที่ให้รัฐวิสาหกิจดำเนินการให้ก่อนนั้น ถึงแม้จะเป็นส่วนที่ไม่นับรวมในหนี้สาธารณะ แต่เป็นวิธีที่อาจถูกมองว่าเป็นการหลบเลี่ยงได้ ดังนั้น รัฐบาลจึงเลือกวิธีการโดยตรงคือ ถ้าใช้งบประมาณไม่ได้ ก็ใช้การออก พ.ร.บ.กู้เงินเลย เพราะเป็นวิธีที่ตรงไปตรงมา และยังต้องผ่านการพิจารณา จากรัฐสภาให้อนุมัติด้วย จึงจะบังคับใช้ได้"

ทั้งนี้เชื่อว่าการออกพ.ร.บ.เงินกู้ 5 แสนล้านบาท สำหรับโครงการเงินดิจิทัลนั้นทำได้จริง เนื่องจากมีความแตกต่างจากรณี การออกพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท เพื่อปรับปรุโครงสร้างพื้นฐานในสมัย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตีตก เพราะมันมีความแตกต่างกันในเรื่องบริบทของสถานการณ์ปัจจุบัน ความจำเป็น และตัวกฎหมาย และอีกประเด็น พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ผ่านชั้นกฤษฎีกาแล้ว แต่ชั้นศาลรัฐธรรมนูญมองว่า ควรจัดการทำถนนลูกรังก่อน ไปทำโครงการรถไฟความเร็วสูง

"องค์ประกอบการยื่นพิจารณาออก พ.ร.บ.เงินกู้ 5 แสนล้านบาทนั้น มี 2 ประเด็นหลัก คือ 1.มีวิกฤติหรือไม่ 2.มีความจำเป็นเร่งด่วนและความต่อเนื่อง ในมุมองของรัฐบาลนั้น ในเรื่องการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไทยนั้นในทุกปี หน่วยที่กำกับดูแล อาทิธปท.เอง ออกตัวเลขคาดการณ์ต้นปี กับปลายปีไม่เคยเข้าเป้าเลย ปี 2566 มองจีดีพีเมื่อต้นปีที่ 3.6% แต่ล่าสุดหลังไตรมาส 3 กลับปรับลดกันเหลือ 2.6-2.8% ดังนั้นสะท้อนว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจไทยนั้น ยังต่ำกว่าศักยภาพ และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับภูมภาคด้วย"

นอกจากนี้ การที่จีดีพีโตต่ำ ระดับ 2% กับรัฐบาลยังคงทำขาดดุลงบประมาณปีละ 6 -7 แสนล้านบาทต่อเนื่อง ถึงในปี 2570 หนี้สาธารณะของรัฐบาลจะพุ่งทะลุกรอบวินัยการเงินการคลังที่กำหนดไว้ไม่เกิน 70 % ของแน่นอน % ซึ่งถ้าถึงตอนนั้นมันจะเป็นอันตรายต่อ อันดับความน่าเชื่อถือของรัฐบาลที่อาจถูกปรับลดลง เพราะฉะนั้น รัฐบาลจำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งโครงการเงินดิจิทัล วอลเล็ตเป็นหนึ่งในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และธปท.ยังระบุเองว่าการมีโครงการเงินดิจิทัล วอลเล็ต จะช่วยให้จีดีพีไทยโตได้ถึง 4.% ต่อปี

อย่างไรก็ดี รัฐบาลจะไม่เริ่มโครงการเติมเงินดิจิทัล วอลเล็ต จนกว่ากระบวนการทางกฎหมายจะเสร็จสิ้น ซึ่งอาจจะต้องเลื่อนออกโครงการก็จริง ถ้ามีใครไปยื่นตีความไปที่ศาล แต่รัฐบาลก็คงต้องรอ เพราะว่า ถ้าศาลวินิจฉัยว่าทำไม่ได้ แต่ถ้าโครงการนี้เริ่ม และประชาชนใช้เงินไปแล้วมันถอยหลังลำบาก เพราะฉะนั้นรัฐบาลจะรอให้มีความชัดเจนของกฎหมายทั้งหมดก่อน

ทั้งนี้เพื่อปิดช่องว่างในช่วงต้นปี 2567 ที่ยังไม่มีงบลงทุนของรัฐบาลเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจ รัฐบาลได้ออกอีกหนึ่งโครงการคือ อี-รีฟันด์ (e-Refund) ด้วยการคืนภาษีให้กับประชาชน เริ่มใช้ในเดือนมกราคม- กุมภาพันธ์ 2567 นี้ ซึ่งกระทรวงการคลัง จะเสนอให้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติภายใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า

นายจุลพันธ์ กล่าวว่า โดยรายละเอียด คือ ให้ประชาชนสามารถนำรายจ่ายที่ซื้อสินค้าในร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษี และสามารถออก ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e- Receive) ได้ และนำรายจ่ายดังกล่าว ไม่เกิน 5 หมื่นบาท มาหักลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งภาษีที่ประชาชนจะได้คืนมานั้น จะขึ้นอยู่กับฐานภาษีของแต่ละคน เช่น หากซื้อสินค้าเต็ม 5 หมื่นบาท และคนๆนั้นมีรายได้ 7 หมื่นบาท/เดือน ซึ่งอยู่ในฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ 20 % ก็จะได้ภาษีคืนมา 1 หมื่นบาท แต่หากฐานภาษีของคนๆนั้นอยู่ในอัตราสูงสุดที่ 35 % จะได้ภาษีคืนมา 17,500 บาท เป็นต้น