นายอดุลย์ ขันทอง ผู้พิพากษาศาลฎีกา ในฐานะประธาน คณะทำงานคณะทำงานพัฒนาระบบไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง กล่าวว่า หลังจากนางอโนชา ชีวิตโสภณ ประธานศาลฎีกา มีคำสั่ง แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาระบบไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง  ขณะนี้ คณะทำงานได้ศึกษาระบบ จัดทำคู่มือแก่ศาลยุติธรรมทั่วประเทศเพื่อนำไปใช้ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน พัฒนาช่องทางระบบ ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องที่ประชาชนเข้าถึงโดยสะดวกรวดเร็ว ไม่ก่อภาระค่าใช้จ่ายแก่ประชาชน

ยอมรับว่าในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวปัญหาการฟ้องร้องสูงมาก มีคดีเข้าสู่ศาลทั้งคดีอาญา คดีแพ่งประมาณ 2 ล้านคดีต่อปี เช่น คดีผู้บริโภคในปี 66 ฟ้องร้องเรื่องบัตรเครดิต จำนวน 152,452  คดี  , การกู้ยืม 118,486 คดี  ,สินเชื่อบุคคล 97,693 คดี , เช่าซื้อรถยนต์ 52,256 คดี , ค้ำประกัน 45,267 คดี  เมื่อต้องพิจารณาตัดสินคดีให้ครบถ้วนทุกคดี ศาลทุกประเภทต้องใช้เวลาพิจารณาเป็นเวลานานมาก 

ประธานศาลฎีกา จึงมีนโยบายมุ่งเน้นการใช้ระบบไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง คณะทำงานจึงได้ จัดประชุมระดมความคิดเห็นกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อความรวดเร็ว และประสิทธิภาพในระบบไกล่เกลี่ย เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องในศาลยุติธรรมทั่วประเทศ และดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ระบบการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องและการไกล่เกลี่ยระหว่างพิจารณาคดีของศาล  จึงได้รายงานผลดำเนินการต่อประธานศาลฎีกา

ด้วยการเชิญชวนให้ประชาชนที่มีข้อพิพาท มีข้อโต้แย้ง ฟ้องร้องต่อกัน ยื่นเรื่องต่อศาล ทุกชั้นศาล ศาลทุกประเภทเพื่อทำการไกล่เกลี่ยคดีก่อนฟ้อง ช่วยลดภาระทั้งค่าธรรมศาล ค่าใช้จ่ายทนาย ลดค่าใช้จ่ายทุกประเภทในชั้นศาล ลดลดขั้นตอนการพิจารณาคดี โดยมีคำพิพากษาตัดสินของศาล เมื่อคู่กรณีตกลงกันได้ และทำหนังสือประนีประนามยอมความ หากฝ่ายไม่ทำตาม สามารถยื่นบังคับคดีตามคำตัดสินได้