ในปี พ.ศ. 2566 ถือเป็นการครบรอบ 10 ปี แนวคิดของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ในการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ สำนักงานสารนิเทศแห่งคณะมุขมนตรีของ เผยแพร่สมุดปกขาวเรื่อง “ความร่วมมือเพื่อสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ : ความคิดริเริ่มและการดำเนินการของจีน” โดยนำเสนออุดมการณ์และแนวปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติอย่างรอบด้าน และเมื่อวันที่ 19 กันยายน องค์กรคลังสมองของจีนเผยแพร่รายงานเรื่อง “เพื่อคุณค่าและศักดิ์ศรีของการร่วมกันของมนุษยชาติ การดำเนินการและการอุทิศของจีนในการมีส่วนร่วมต่อการธรรมาภิบาลด้านสิทธิมนุษยชนทั่วโลก (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “รายงาน”) รายงานดังกล่าวอธิบายประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ แนวคิดหลัก และโอกาสในอนาคตของจีนในการมีส่วนร่วมธรรมาภิบาลด้านสิทธิมนุษยชนทั่วโลกอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รายงานมีความสำคัญในเชิงปฏิบัติเป็นอย่างยิ่งสำหรับการทำความเข้าใจประเทศจีนให้ลึกซึ้งด้วยแนวคิดประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติต่อการส่งเสริมการธรรมาภิบาลด้านสิทธิมนุษยชนทั่วโลกให้ดียิ่งขึ้นและมีคุณค่าต่อการเรียนรู้การพัฒนาร่วมกันเพื่อส่งเสริมการธรรมาภิบาลด้านมนุษยชนทั่วโลกในอนาคต

 

การธรรมาภิบาลสิทธิมนุษยชนทั่วโลกและการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติสะท้อนผลเดียวกัน

มนุษย์คือผลรวมของความสัมพันธ์ทางสังคมทั้งหมด ปัจจุบันการเชื่อมต่อระหว่างกันและคุณลักษณะแบบองค์รวมของสังคมมนุษย์นับวันยิ่งเด่นชัดมากขึ้น การแก้ไขปัญหาการพัฒนาของมนุษย์และอนาคตของโลกที่กำลังเผชิญอย่างเร่งด่วนผ่านมุมมองของแนวคิดแบบองค์รวมของมนุษยชาติ จีนได้เสนอแนวคิดที่สร้างสรรคเพื่อสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติในปี 2013 แนวคิดนี้มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาร่วมกันในระยะยาวของมนุษยชาติ ยึดมั่นในอำนาจสูงสุดของประชาชน และมุ่งหวังที่จะสร้างโลกแห่งสันติภาพอย่างยั่งยืน มีความปลอดภัยร่วมกัน รุ่งเรืองไปด้วยกัน เปิดกว้างและเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน สะอาดและสวยงาม โดยพื้นฐาน การธรรมาภิบาลสิทธิมนุษยชนทั่วโลกและการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาตินั้นได้สะท้อนผลไปพร้อมๆ กัน เป้าหมายขั้นสูงของการธรรมาภิบาลสิทธิมนุษยชนทั่วโลกคือการส่งเสริมการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ แนวคิดนี้ถือเป็นแนวทางเชิงระเบียบวิธีที่จีนมีส่วนร่วมในการธรรมาภิบาลสิทธิมนุษยชนทั่วโลก

การสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติกลายเป็นส่วนสำคัญของระบบวาทกรรมด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ แนวคิดนี้ได้ถูกบรรจุเข้ามติของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติมากกว่า 10 ครั้ง และได้กลายเป็นส่วนสำคัญของระบบวาทกรรมด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ การประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 34 เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 ได้มีมติ 2 ประการ เกี่ยวกับ “สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม” และ “สิทธิในอาหาร” โดยมติระบุชัดเจนว่าจะ “สร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ”

จากการดำเนินการแสดงให้เห็นว่าในกระบวนการส่งเสริมการพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนของโลกจีนไม่ใช่คนนอก แต่เป็นนักเคลื่อนไหวที่ยังคงมีส่วนร่วมและมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการส่งเสริมกระบวนการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติอย่างต่อเนื่อง และเป็นพลังสำคัญที่มีอิทธิพลและผลักดันการพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนของโลก ทั้งนี้ จีนยังอุทิศสติปัญญาและเสนอแนวทางเพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนของโลกอีกด้วย

 

ส่งเสริมการพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนและไม่ทิ้งประเทศหรือบุคคลใดไว้ข้างหลัง

จีนยึดมั่นแนวคิดการพัฒนาที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางมาโดยตลอดดั่งคำกล่าวที่ว่า “ในทุกสรรพสิ่ง มนุษย์ประเสริฐที่สุด” จีนมุ่งมั่นส่งเสริมความทันสมัยของความต้องการของมนุษย์ท่ามกลางกระบวนการส่งเสริมความทันสมัยแบบจีน โดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิงกล่าวรายงานอย่างเคร่งขรึม ในการประชุมสรุปและยกย่องการบรรเทาความยากจนแห่งชาติจีน เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ว่าจีนสามารถเอาชนะการต่อสู่กับความยากจนในประเทศได้อย่างรอบด้าน ภายใต้เกณฑ์มาตรฐานในปัจจุบันมีประชากรในชนบทหลุดพ้นจากความยากจนอย่างสมบูรณ์กว่า 98.99 ล้านคน มี 832 อำเภอและ 128,000 หมู่บ้าน หลุดพ้นจากความยากจน ความยากจนโดยรวมของภูมิภาคได้รับแก้ไขแล้ว ภารกิจที่ยากลำบากได้เสร็จสิ้นลง และเป็นการสร้างปาฏิหาริย์ที่จะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ของโลกใบนี้

จีนสามารถแก้ไขปัญหาครั้งประวัติศาสตร์ด้วยการจัดการความยากจนที่สร้างความยากลำบากให้ประชาชนชาวจีนมานานนับพันปี จีนได้เพิ่มแรงจูงใจในการพัฒนาภายในของพื้นที่ยากจนและประชากรผู้ยากจนให้หลุดพ้นจากความยากจนอย่างรอบด้าน ทำให้ประชาชนเป็นแกนหลักของการพัฒนาอย่างแท้จริงและเป็นผู้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริง

จีนมีแนวคิดทางสังคมว่า “ใต้หล้าเป็นของบวงประชา” และ “ความกลมเกลียวที่ยิ่งใหญ่ทั่วใต้หล้า” มาตั้งแต่โบราณ อารยธรรมจีนมีความห่วงใยต่ออนาคตและชะตากรรมของมนุษยชาติมาโดยตลอด จีนในยุคปัจจุบนอยู่บนสมมติฐานของการตระหนักถึงการพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนของตนเอง จีนได้มอบประสบการณ์ความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจและการบรรเทาความยากจนให้กับประเทศอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง และริเริ่มการร่วมกันสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ อาทิเช่น โครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิผลในช่วง 10 ปี เมื่อนับตั้งแต่มีการเสนอเป็นครั้งแรก โดยสามารถกระตุ้นการลงทุนได้เกือบ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ มีโครงการความร่วมมือหลายพันโครงการ สร้างงานให้กับประเทศที่เข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมากและช่วยให้ผู้คนในท้องถิ่นหลายสิบล้านคนหลุดพ้นจากความยากจน โครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ได้สร้างสะพานเชื่อมต่อระหว่างกันกับประเทศต่างๆ ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อผลประโยชน์และการพัฒนาร่วมกัน ความร่วมมือเชิงลึกด้านต่าง ๆ บรรลุผล เพื่อให้ประชาชนทุกประเทศได้รับรู้ถึงการได้รับอย่างแท้จริง

จีนได้ดำเนินการเชิงปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพด้านสิทธิมนุษยชนทั่วโลกตามแนวคิดประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ ความสำเร็จในการพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนของจีนไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ต่อตนเองเท่านั้น แต่ยังยกระดับผลประโยชน์ร่วมกันของมนุษยชาติได้อย่างแท้จริง

 

แนวคิดประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติเป็นแนวทางใหม่ในการพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนของโลก

เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันกำลังเผชิญกับความท้าทาย เช่น อัตราเงินเฟ้อสูง อุปสงค์อ่อนแอ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และความมั่นคงด้านพลังงานและอาหาร ปัจจัยความไม่แน่นอนทั่วโลกเพิ่มขึ้น โลกกำลังเผชิญปัญหาด้านธรรมาภิบาล ปัญหาความไว้วางใจ ปัญหาการพัฒนา และปัญหาสันติภาพร่วมกัน ภารกิจในการสร้างโลกที่ดีกว่ายังคงเรื่องยากลำบาก เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ใหม่และภารกิจใหม่ จีนจึงดำเนินการแบบลัทธิพหุภาคีอย่างแท้จริงและส่งเสริมค่านิยมร่วมกันของสันติภาพ การพัฒนา ความชอบธรรม ความยุติธรรม ประชาธิปไตย และเสรีภาพสำหรับมวลมนุษยชาติ ตั้งแต่การริเริ่มด้านการพัฒนาทั่วโลกไปถึงการริเริ่มด้านความปลอดภัยทั่วโลกและไปจนถึงการริเริ่มด้านอายรยธรรมทั่วโลก ความหมายและเส้นทางปฏิบัติในการสร้างประชาคมที่มีอนาคตรว่มกันของมนุษยชาติได้รับการเสริมสร้างและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

รายงานชี้ให้เห็นว่าจีนสนับสนุนการปกป้องสิทธิมนุษยชนผ่านความปลอดภัย การเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนทุกประเทศ ปฏิบัติตามเส้นทางการพัฒนาอย่างสันติ ดำเนินการตามการริเริ่มด้านความปลอดภัยทั่วโลกในการสร้างสภาพแวดล้อมแห่งสันติสุขเพื่อการตระหนักถึงสิทธิมนุษยชน ผลักดันด้านสิทธิมนุษยชนผ่านการพัฒนา ดำเนินการตามการริเริ่มด้านการพัฒนาทั่วโลกเพื่อปรับปรุงการพัฒนาให้ครอบคลุม เป็นสากล และยั่งยืน ประชาชนของทุกประเทศมีหลักประกันที่จะได้รับสิทธิมนุษยชนอย่างยุติธรรมด้วยแนวทางการพัฒนาที่ทันสมัยของตนเอง ผลักดันด้านสิทธิมนุษยชนผ่านความร่วมมือ เคารพซึ่งกันและกัน ปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียมกัน การดำเนินการตามการริเริ่มด้านอารยธรรมทั่วโลกเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนและการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างอารยธรรม สร้างฉันทามติผ่านการพูดคุย ส่งเสริมการพัฒนาและความก้าวหน้าของอารยธรรมทางสิทธิมนุษยชนร่วมกัน

การส่งเสริมธรรมาภิบาลด้านสิทธิมนุษยชนทั่วโลกผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศที่แตกต่างไปจากแนวคิดที่จีนได้เสนอ มีเพียงไม่กี่ประเทศที่ยังคงหมกมุ่นอยู่กับการเผชิญหน้าทางอำนาจของประเทศมหาอำนาจและการต่อสู้ทางภูมิรัฐศาสตร์ มีความกระตือรือร้นต่อพฤติกรรม “การตีตรา” และการปฏิบัติแบบลัทธิฝ่ายเดียว การกัดกันทางการค้า และการใช้อำนาจครอบงำ ซึ่งกลายเป็นการบ่อนทำลายสันติภาพและการพัฒนาสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ รวมไปถึงเป็นปัจจัยหลักต่อการขัดขวางการพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนของโลก อย่างไรก็ตาม การเผชิญหน้ากับการพัฒนาของมนุษย์ก็เหมือนกับการไม่รู้จักประมาณตนไปทำเรื่องที่ทำไม่ได้ และในทางตรงกันข้าม แผนธรรมาภิบาลด้านสิทธิมนุษยชนทั่วโลกของจีนได้รับการสนับสนุนจากประเทศและประชาชนจำนวนมาก นายอังตอนียู กูแตรึช เลขาธิกาของสหประชาชาติ กล่าวถึงโครงการริเริ่มการพัฒนาทั่วโลกว่า “ถึงเวลาที่เหมาะสมแล้ว”  เผยให้เห็นว่าสหประชาชาติยินดีร่วมมือกับจีน และร่วมทำงานกับประเทศต่าง ๆ เพื่อผลักดันโครงการให้เกิดขึ้นจริง

“การปกครองแห่งอุดมคติโลก ทั่วใต้หล้าเป็นของสาธารณชน” และในปี พ.ศ. 2566 ถือเป็นปีครบรอบ 75 ปี ของการประกาศใช้‘ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน’ ในช่วงทศวรรษที่ 1940 จาง เผิงชุน ตัวผู้แทนจากจีนที่ดำรงตำแหน่งคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในขณะนั้นได้เสนอแนวคิดเรื่อง “ความเมตตากรุณา” เข้าสู่ ‘ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน’ และ 75 ปีต่อมา จีนได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานการดำเนินการทางประวัติศาสตร์และร่วมสมัยของประชาชาติจีนในด้านสิทธิมนุษยชน ยึดมุ่นแนวทางการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติอย่างแน่วแน่โดยใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวของจีน ยกระดับประสบการณ์ของจีนให้เป็นทฤษฎีของจีน และเผยแพร่ทฤษฎีของจีนไปทั่วโลกให้กลายเป็นแนวทางปฏิบัติที่สามารถเกิดขึ้นได้จริงในการสนับสนุนการปรับปรุงธรรมาภิบาลด้านสิทธิมนุษยชนทั่วโลกให้ดียิ่งขึ้น