วันที่ 18 ต.ค.2566 ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า  นายฐิติพันธ์ จูจันทร์โชติ รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี โฆษกกรมทรัพยากรธรณี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กันตภณ สุระประสิทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แถลงข่าว การค้นพบซากดึกดำบรรพ์อัลลิเกเตอร์สายพันธุ์ใหม่ ของโลกจากประเทศไทย ที่ ชั้น 1 อาคารกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สำหรับ แอลลิเกเตอร์สายพันธุ์ดึกดำบรรพ์นี้ถูกค้นพบนี้ อยู่ที่บริเวณบ้านสี่เหลี่ยม ตำบลโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งอยู่ห่างจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ ราว 300 กิโลเมตร (186 ไมลส์) และถูกตั้งชื่อว่า แอลลิเกเตอร์แม่น้ำมูล (Alligator munensis) เพื่อแสดงความเคารพต่อแม่น้ำมูลที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง มีโครงสร้างของกะโหลกศีรษะที่โดดเด่น เช่น บริเวณจมูกและปากที่กว้างและสั้น โครงกะโหลกศีรษะโค้งสูง มีเบ้าฟันที่มีจำนวนน้อยลง และรูจมูกอยู่ในตำแหน่งที่ห่างจากปลายของบริเวณจมูกและปาก

ซึ่ง แอลลิเกเตอร์เป็นสัตว์เลื้อยคลานครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดใหญ่ในอันดับจระเข้ และพบเห็นเป็นส่วนใหญ่ในแหล่งน้ำจืด ไม่เหมือนกับจระเข้ที่มักจะพบเห็นได้บ่อยในแหล่งน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยสายพันธุ์ของแอลลิเกเตอร์ที่ยังมีชีวิตอยู่มี 2 สายพันธุ์ด้วยกัน นั่นคือแอลลิเกเตอร์อเมริกา (Alligator mississippiensis) และแอลลิเกเตอร์จีน (Alligator sinensis) ซึ่งมีอีกชื่อหนึ่งที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือ แอลลิเกเตอร์ตีนเป็ดแยงซี ที่พบเห็นได้ในพื้นที่ขนาดเล็กบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน

 สำหรับการค้นพบซากดึกดำบรรพ์อัลลิเกเตอร์สายพันธุ์ใหม่นั้น นักวิจัยเผยแพร่ข้อมูลในวารสารวิชาการเนเจอร์ ว่า สิ่งมีชีวิตที่ยังระบุตัวตนไม่ได้ชนิดนี้มีความเกี่ยวข้องทางวิวัฒนาการที่ใกล้ชิดกับแอลลิเกเตอร์สายพันธุ์เอเชีย ซึ่งการตรวจสอบกะโหลกศีรษะที่แทบจะย่อยสลายกลายเป็นฟอสซิลอย่างละเอียด ส่งผลให้การค้นพบสายพันธุ์ที่ถูกฝังกลบไว้อย่างยาวนานประสบผลสำเร็จ และคาดว่าจะมีอายุน้อยกว่า 230,000 ปีโดยประมาณ