เรียบเรียงโดย เฉาหยุนหลง ลิ่นจื่อโอ และหวงอวี๋ซินหง
 

ปีนี้ครบรอบ 10 ปีแห่งการประกาศข้อริเริ่มร่วมสร้างสรรค์ “ หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ช่วงหนึ่งทศวรรษยาวนานที่ผ่านมา  “ หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ย้ำจุดยืน  “ร่วมมือกันสร้างสรรค์” เพื่อแสวงหา “ชัยชนะร่วมกัน” มาโดยตลอด จากคาบสมุทรอินโดจีนถึงริมแม่น้ำไนล์ จากทุ่งหญ้าคาซัคสถานถึงประเทศติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แม้จะต้องผ่านภูเขาอันสูงชัน มหาสมุทรและทะเลทรายที่กว้างใหญ่ แต่ประเทศต่างร่วมกันวาดภาพยิ่งใหญ่แห่งความร่วมมือในการสร้างสรรค์ “ หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”  ท่ามกลางเสียงหวูดเรือโดยสาร และเสียงคำรามจากเครื่องยนต์ที่กำลังก่อสร้างทางรถไฟ และโรงงานต่าง ๆ นั้น คำริเริ่ม “ หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” กำลังสร้างผลงาน และพลังกระตุ้นการเติบโตใหม่ ๆ

ทุกวันนี้ โลกมีการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการเมือง เกิดความขัดแย้งระหว่างชนเผ่า ความกังวลเรื่องสงคราม และปัญหาความอดอยากด้วย ประเทศต่าง ๆ เผชิญกับทางแยกที่ว่า จะเจรจาหรือต่อต้านกัน จะสามัคคีหรือแบ่งแยกกัน ขณะที่ผลงานต่าง ๆ จากการร่วมกันสร้างสรรค์ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” กลับให้เรามองเห็นถึงความดีงามของทั่วโลกเป็นครอบครัวเดียวกัน และมีอนาคตร่วมกัน

คนงานทำงานในสายการผลิตของ Dun An Metal (Thailand) Co., Ltd. ในสวนอุตสาหกรรมระยองไทย-จีน

สิบปีที่ผ่านมา คำริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” สืบทอดเจตนารมณ์แห่งเส้นทางสายไหมที่เน้นความร่วมมือเชิงสันติ การเปิดกว้าง เรียนรู้แลกเปลี่ยนกัน และอำนวยประโยชน์แก่กัน โดยได้ประสบผลงานมากมายทั้งในด้านการเชื่อมโยงนโยบาย การเชื่อมต่อสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน การอำนวยความสะดวกด้านการค้า การลงทุน และเพิ่มความเข้าใจระหว่างประชาชน ตัวเลขเป็นตัวบ่งชี้ที่มีพลังที่สุด ทุกวันนี้ จีนได้ลงนามเอกสารร่วมกันสร้างสรรค์  “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” กับ 152 ประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ 32 แห่ง รวมทั้งหมดกว่า 200 ฉบับ ซึ่งหมายความว่า จีนได้บรรลุความตกลงในการร่วมสร้างสรรค์  “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” กับประเทศต่าง ๆ ที่เป็นจำนวน 77% ของทั่วโลก

สำหรับชาวบ้านท้องที่ต่าง ๆ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นจับต้องได้ และสัมผัสได้ ได้แก่ สิ่งของที่ต้องใช้เป็นประจำ เช่น น้ำ ไฟฟ้า ทางรถ สะพาน โรงเรียน และโรงพยาบาล และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีรายได้เพิ่มมากขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และวันรุ่งขึ้นที่มีความหวัง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ผู้คนยิ่งตระหนักดีว่า เราต้องจับมือกัน ไม่ใช่ปล่อยมือ ต้องสร้างสะพานก่อถนน ไม่ใช่สร้างกำแพงก่ออุปสรรค ต้องได้ชัยชนะร่วมกัน ไม่ใช่สิ้นเปลืองไปเปล่า ๆ 

“ประวัติศาสตร์สร้างขึ้นจากการตัดสินใจของมวลชน ขณะที่พัฒนาการของประวัติศาสตร์ต้องการกำลังงัดด้วย ซึ่งการร่วมกันสร้างสรรค์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางนี้ก็คือกำลังงัดในการกระตุ้นพัฒนาการของประวัติศาสตร์” ทุกวันนี้ ประชาชนประเทศต่าง ๆ ปรารถนาสันติภาพและการพัฒนามากขึ้น ต้องการความเสมอภาคและยุติธรรมมากขึ้น ต้องการแสวงหาความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ต่อกันมากขึ้น กำลังที่ผลักดันให้โลกก้าวหน้าต่อไปนั้น หยั่งรากลึกในใจประชาชนโลก เหล่านี้คือแรงกระตุ้นพื้นฐานในการผลักดันสร้างสรรค์ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”

บนแผนที่โลก ไม่ควรมีประเทศใดที่ไม่สามารถได้รับการพัฒนา 10 ปีที่ผ่านมา คำริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เป็นไปตามแนวโน้วการพัฒนาของสถานการณ์โลกที่ประเทศกำลังพัฒนาเติบโตขึ้นเร็ว ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วมีการเติบโตที่ชะลอตัวลง ตอบสนองความต้องการของประเทศกำลังพัฒนา เป็นกำลังตอบรับวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน ค.ศ. 2030  ของสหประชาชาติ ทำให้ทั่วโลกสนใจประเด็นการพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนา เรียกร้องและสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้ประเทศต่าง ๆ โฟกัสในการพัฒนา สามัคคีกันเพื่อการพัฒนา และร่วมมือกันพัฒนา

สาวไทย พรรณโร ถ่ายรูปขณะทำงานที่ไซต์ก่อสร้างทางรถไฟจีน-ไทย จังหวัดนครราชสีมา

10 ปีหรือกว่า 3,000 วันนั้น การสร้างสรรค์ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ที่เปิดกว้างลงลึกยิ่งขึ้นทุกวัน การเชื่อมถึงกันระหว่างประเทศยกระดับขึ้นเรื่อย ๆ โครงการความร่วมมือต่าง ๆ เริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น นับว่า เป็นโครงการที่สร้างความได้เปรียบให้กับประเทศร่วมมือ และนับเป็นต้นทุนการพัฒนามหาศาล ซึ่งต้นทุนเหล่านี้สร้างศักยภาพให้กับเส้นทางสายไหมโบราณที่มีมาหลายพันปีแล้ว สร้างความคึกคักกับเศรษฐกิจโลก และสร้างสถานการณ์ใหม่แห่งการพัฒนาเศรษฐกิจโลกด้วย

10 ปีมานี้ จีนกับประเทศร่วมกันสร้างสรรค์ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางบุคคลและวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง โดยได้สร้างสภาพการแลกเปลี่ยนที่ครอบคลุมทั้งด้านการศึกษา วัฒนธรรม การท่องเที่ยว วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการรักษาพยาบาล จีนกับ 142 ประเทศที่ร่วมกันสร้างสรรค์ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ได้ริเริ่มโครงการ “เส้นทางสายไหมทางวัฒนธรรม” โดยจะจัดตั้งสหพันธ์โรงละคร พิพิธภัณฑ์ เทศกาลศิลปะ และหอสมุดเส้นทางสายไหม ในนิทรรศการหนังสือนานาชาติปักกิ่งที่จัดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา หนังสือชุด “เห้งเจีย” ฉบับภาษาอาหรับได้วางตลาดอย่างเป็นทางการ ซีรีส์เรื่อง “Minning Town” ฉบับภาษาอาหรับก็จะออกอากาศที่อียิปต์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่วนสารคดีเรื่อง “A bite of China” และ ซีรีส์เรื่อง “All Is Well” ได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้ชมประเทศเอเชียกลาง สะพาน ถนน และโรงงานทุกแห่งที่สร้างขึ้นตามคำริเริ่ม  “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ทำให้ประชาชนจากประเทศต่าง ๆ ที่มีพื้นฐานวัฒนธรรมต่างกันนั้นมีส่วนเชื่อมกัน ทำให้อารยธรรมประเทศต่าง ๆ มีโอกาสแลกเปลี่ยนกัน มีความหลากหลายมากขึ้น ทำให้ประชาชนประเทศต่าง ๆ มีความเข้าใจกันมากขึ้น  และมีความปรารถนาที่ดีกับคำริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ในช่วงทศวรรษต่อไป