"6 ตุลาคม 2519" จากวันนั้น มาจนถึงวันนี้ ครบ 47 ปีแล้ว เป็นวันประวัติศาสตร์ ที่ถูกบันทึกไว้ถึงเหตุการณ์ "นองเลือด" ครั้งใหญ่ในประเทศไทย
เป็นวันที่ "เจ้าหน้าที่รัฐบาล" เข้าปะทะกับกลุ่ม "นักศึกษา" และ"ประชาชน" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต อย่างน้อย 46 คน และบาดเจ็บ 145 คน
ความรุนแรงในครั้งนั้น เริ่มต้นมาจากเหตุการณ์ที่ประชาชนประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2516 ได้ทำให้รัฐบาลเผด็จการทหารของ "จอมพลถนอม กิตติขจร" พ้นจากอำนาจ และต้องเดินทางออกนอกประเทศพร้อมกับ "จอมพลประภาส จารุเสถียร" และ"พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร"
สัญญานความรุนแรกก็ก่อตัวขึ้น เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2519 "จอมพลถนอม กิตติขจร" ที่ลี้ภัยอยู่ในประเทศสหรัฐ อเมริกา ก็ได้เดินทางกลับประเทศไทยด้วยการบวชเป็นสามเณรเข้ามา โดยอ้างต่อสาธารณชนว่าตนจะอยู่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์ มิได้มุ่งแสวงหาอำนาจ และต้องการมาเยี่ยมบิดาที่ใกล้ถึงแก่กรรม ส่งผลให้เกิดการต่อต้านจากประชาชน และออกมาประท้วง
ต่อมา เหตุความรุนแรงก็ปะทุขึ้น ในวันที่ 24 กันยายน 2519 เมื่อพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ถูกฆ่าแขวนคอขณะออกไปปิดใบประกาศประท้วงการกลับมาของ จอมพลถนอม จากนั้นในวันที่ 4 ตุลาคม 2519 นักศึกษาได้แสดงละครแขวนคอเพื่อประท้วงการใช้ความรุนแรง ซึ่งเชื่อว่าเจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนเกี่ยวข้อง และต่อต้านความพยายามใดๆ ที่จะนำพาประเทศกลับสู่ระบบเผด็จการอีกครั้ง
กระทั่ง วันที่ 6 ตุลาคม 2519 คือวันที่เกิดเหตุการณ์นองเลือดครั้งใหญ่ เมื่อกองกำลังเจ้าหน้าที่ พร้อมอาวุธครบมือ ได้ใช้กำลังเข้าปะทะกลับกลุ่มนักศึกษา ด้วยข้อหาเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ โดยมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 46 ราย และบาดเจ็บ 145 คน
#6ตุลา