วันที่ 5 ต.ค.66 ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุข้อความว่า ...

งานวิจัยชิ้นนี้ตีพิมพ์จากทีมญี่ปุ่นระบุว่า สารที่อยู่ในชา เช่น ชาเขียว หรือ ชาดำ สามารถจับกับโปรตีนหนามสไปค์ของไวรัสโควิดโอมิครอนได้ดี จับแล้วทำให้ไวรัสเสียสภาพติดเชื้อเข้าสู่เซลล์ไม่ได้ สารในชานี้ทำงานได้ดีกับโอมิครอนที่มีการเปลี่ยนแปลงจำเพาะ ทำให้โอมิครอนบางสายพันธุ์อาจจะทำงานได้ไม่ดี ที่น่าสนใจคือ ทีมวิจัยให้อาสาสมัครอมลูกอมที่มีสารสกัดชาเขียว แล้วนำตัวอย่างน้ำลายหลังอมลูกอมนั้นมาทดสอบกับไวรัสว่ามีผลยับยั้งไวรัสหรือไม่ พบว่า น้ำลายหลังอมลูกอมหมดเม็ดมีฤทธิ์ยับยั้งไวรัสเกือบ 100% แต่พอเวลาผ่านไป สารจากลูกอมก็จะเจือจางลง แค่ 5 นาที ฤทธิ์ก็จะลดลงชัดเจน และ หายไปหมดใน 15 นาที

คิดว่าอีกไม่นานอาจจะมีลูกอมชาเขียวช่วยให้คนติดโควิดลดการแพร่เชื้อ หรือ ไม่ก็บรรเทาอาการออกมาแน่ๆ แต่ถ้าหวานมากๆอาจฟันผุ หรือ น้ำตาลขึ้นสูงก่อน เพราะต้องอมบ่อยมากเพื่อรักษาปริมาณไวรัสในการแพร่เชื้อให้อยู่ต่ำตลอด