นครพนม คิกออฟกรมเจ้าท่า มนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม เร่งรัดกรมเจ้าท่าทำงานเชิงรุก ดันคมนาคมทางน้ำ กระตุ้นเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ชูนโยบายแก้กฎหมายให้สอดคล้องการพัฒนา นำเทคโนโลยีขับเคลื่อน ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย หนุนพัฒนาร่องน้ำเดินเรือทั่วประเทศ ควบคู่ลดมลพิษ ขานรับกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาล มั่นใจโครงการาชรถยิ้ม เกิดประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุด
เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2566 ดร.มนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม หรือ ส.ส.เดือน ส.ส.นครพนม เขต 2 พรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า ในสัปดาห์นี้นอกจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงการมอบหมายงานให้กับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม เพื่อเร่งรัดการพัฒนาคมนาคม ขานรับนโยบายรัฐบาล ได้มีโอกาส เข้าพบปะหารือมอบนโยบาย กับข้าราชการ เจ้าหน้าที่ พนักงาน กรมเจ้าท่า ประเด็นสำคัญ ได้รับทราบปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาเส้นทางคมนาคม ทางน้ำ ที่ยังมีปัญหาอีกหลายด้าน อาทิ การเร่งรัดจัดสรรงบประมาณปี 2567 การแก้กฎหมายที่หล้าหลัง พร้อมผลักดันขับเคลื่อนให้กรมเจ้าท่า มีความพร้อมในการทำงานเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ รวมถึงบริการพี่น้องประชาชน ผู้ประกอบการค้า และนักท่องเที่ยว เนื่องจากกรมเจ้าท่า ต้องยอมรับว่าเป็นหน่วยงานสำคัญ ในการขับเคลื่อนกระตุ้นเศรษฐกิจ คมนาคมขนส่ง การท่องเที่ยวทางน้ำ สำคัญที่สุดในรัฐบาล นายก เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี รัฐบาลปัจจุบัน ทุกหน่วยงานในสังกัด รวมถึงข้ารากชสาร เจ้าหน้าที่ พนักงาน ต้องมีความพร้อม ในการทำงาน เริ่มจากโครงสร้างพื้นฐาน ในการเดินหน้าพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางน้ำ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ทั้งท่าเรือที่เป็นร่องน้ำเศรษฐกิจ ทั่วประเทศ รวมถึงเส้นทางเดินเรือในพื้นที่ทะเลอันดามัน จะต้องได้รับงบประมาณที่เพียงพอ ในการขับเคลื่อนการพัฒนา ควบคู่กับการยกระดับ การประการเส้นทางคมนาคมขนส่งทางน้ำ ที่จะต้อง รวดเร็ว ปลอดภัย รวมถึงจะต้องมีการเสนอแก้กฎหมายที่หล้าหลัง ให้มีความทันสมัยกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่จะเกิดประโยชน์ในการทำงานของกรมเจ้าท่า
ดร.มนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม เปิดเผยอีกว่า ในการพัฒนาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ในเส้นทางคมนาคมทางน้ำ จะต้องได้รับการพัฒนา ในมาตรฐานการดูแลความปลอดภัยให้มากขึ้น สร้างความมั่นใจแก่ผู้ใช้บริการ ทั้งผู้ประกอบการ ประชาชน นักท่องเที่ยว โดยจะมีการผลักดันให้มีการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ ทั้งการติด ระบบติดตามการเดินเรือ ติดตั้งจีพิเอส ติดตามการเดินเรือ รวมถึงสร้างแอพพลิเคชั่น ให้ประชาชนเข้าถึงการบริการ และสามารถคำนวณ ตรวจสอบการเดินทาง เชื่อมกับการคมนาคม ทางบก ทางน้ำ ทางรถไฟ ทางอากาศ ที่จะส่งผลดีต่อการวางแผนการเดินทาง นอกจากนี้ยังต้องมีระบบ เอไอ ตรวจสอบ เส้นทางเดินเรือ ระดับน้ำ ไปจนถึงอุปกรณ์ชูชีพ ดูแลความปลอดภัย เรือโดยสาร เรือท่องเที่ยว ทั้งประเทศ ไปจนถึงการสนับสนุน ให้มีการใช้เรือไฟฟ้า เพิ่มมากขึ้น เพื่อลดต้นทุน ลดมลพิษ ในการคมนาคทมขนส่งทางน้ำ ส่วนการสนับสนุนบุคลากร เจ้าหน้าที่ ของหน่วยงาน จะต้องมีการสร้างมาตรฐานในหลักสูตรการเรียนการสอน ของศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี ให้ ลูกหลานเยาวชน มีความสนใจ เข้าถึงมากขึ้น เทียบเท่าสถาบันการศึกษามหาวิทยาลัยชื่อดัง อีกทั้งทุกพื้นที่สำคัญในการคมนาคมทางน้ำ จะต้องมีการจัดอบรม อาสาวารี ในการสนับสนุนดูแล บริการประชาชน
อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงคมนาคม รวมถึงหน่วยงานในสังกัด เชื่อมั่นว่า โครงการราชรถ ยิ้ม จะเกิดต่อประชาชนสูงสุด ทุกหน่วยงานในสังกัด จะต้องเน้นการบริการประชาชน เป็นหลัก รวมถึง การพัฒนาเศรษฐกิจการท่องเที่ยว และการสร้างมาตรฐานความปลอดภัยทางคมนาคม ทุกภาคส่วน ทุกคนจะต้องมีรอยยิ้มให้กับประชาชนผู้รับบริการ ลดช่องว่างระหว่างผู้บริหาร ในกระทรวง ทบวงกรม จะต้องสามารถนำเสนอปัญหามายังผู้บริหาร ดำเนินการแก้ไข ได้อย่างรวดเร็ว ทันเวลา ประชาชน จะต้องรับการบริการอย่างทั่วถึง