กฟผ.ร่วมกับทุกภาคส่วนใน อ.จอมทอง จ. เชียงใหม่ ปลูกป่าสร้างฝายภายใต้โครงการปลูกป่าอย่างมีส่วนร่วมของกฟผ. เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้กับป่าและต้นนำ้เหนือเขื่อนของ กฟผ.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 28 สิงหาคม 2566
พระมหาเฉลิมราช ชาตปญโญ เจ้าอาวาสวัดป่าธรรมธาราภิรมย์ พระวีรยุทธ์ อภิวิโร พระผู้แทนศูนย์ปฏิบัติการฯวัดพระธาตุดอยผาส้ม โดยมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ นายยุทธพงศ์ ไชยศร นายอําเภอจอมทอง นายสมศักย์ ปรางทอง ผู้อํานวยการฝ่ายบริหารด้านการใช้ไฟฟ้าและ กิจการเพื่อสังคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ( กฟผ.) นายธนรัตน์ แปงใจ ผู้อํานวยการส่วนส่งเสริมการปลูกป่าสํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 นายสมนึก ท้าวพา ผู้อํานวยการส่วนฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์ นายคมกริช วงศ์ชนะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ. และทุกภาคส่วนในอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมปลูกป่าสร้างฝาย ภายใต้โครงการปลูกป่าอย่างมีส่วนร่วม กฟผ. เพื่อคืนผืนป่าให้ชุมชนณ ชุมชนหย่อมบ้านไร่ดง ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
นายสมศักย์ ปรางทอง ผู้อํานวยการฝ่ายบริหารด้านการใช้ไฟฟ้าและ กิจการเพื่อสังคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า จากนโยบายมุ่งสู่ EGAT Carbon Neutrality ของ กฟผ. เพื่อสนับสนุนนโยบาย ความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศภายในปีพ.ศ. 2593 โครงการปลูกป่าอย่างมีส่วนร่วม เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สร้างความยั่งยืนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมาย ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของประเทศ รวมถึงการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อีกทั้งฟื้นฟูระบบ นิเวศ สร้างความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนควบคู่กับการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ซึ่งโครงการปลูกป่าอย่างมีส่วนร่วม กฟผ. มีเป้าหมาย 1 ล้านไร่ โดยวางหลักการ ปลูกป่าร่วมกับพันธมิตร ปลูกป่าดูดซับคาร์บอนสูง ปลูกป่าในใจ และปลูกป่าเป็นยุทธศาสตร์ เชิงพื้นที่ ซึ่งคาดการณ์ว่าสามารถชดเชยการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 1.2 ล้านตันต่อปี และ 23.6 ล้านตัน CO2 ตลอดระยะเวลาโครงการฯ
ในส่วนของพื้นที่ชุมชนหย่อมบ้านไร่ดง กฟผ. ได้ดําเนินงานสร้างฝายชะลอน้ํา ร่วมกับชุมชนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 จํานวน 16 ฝาย ร่วมจัดทําแนวป้องกันไฟป่าพร้อม สนับสนุนเครื่องเป่าลมและการก่อสร้างแท้งค์น้ําคอนกรีตสําเร็จรูป เพื่อใช้ในการป้องกันไฟป่า และใช้เป็นแหล่งน้ําสําหรับทําการเกษตรในพื้นที่ และมีแผนการดําเนินงานร่วมกันจนถึง ปี พ.ศ. 2568 มีเป้าหมายในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและส่งเสริมการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ พัฒนาสู่ป่าชุมชนกว่า 700 ไร่และการสร้างฝายชะลอน้ํา จํานวน 60 ฝาย เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ ป่าต้นน้ํา(แม่น้ําปิง) ซึ่งสําหรับกิจกรรมปลูกป่าสร้างฝายภายใต้โครงการปลูกป่าอย่างมีส่วนร่วม กฟผ. เพื่อคืนผืนป่าให้ชุมชนในวันนี้ ประกอบด้วยกิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ํา จํานวน 12 ฝาย และการปลูกป่าเพื่อคืนพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชนในเนื้อที่ประมาณ 151 ไร่