วันที่ 27 กันยายน 2566 เวลา 09.15 น. ณ  ห้องประชุมสมาคมคนพิการจังหวัดอ่างทอง อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง นายรังสรรค์  ตันเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง มอบหมายให้นายศักดิ์ดา บรรดาศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานเปิดโครงการเชิดชูเกียรติคนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จังหวัดอ่างทอง โดยมีพัฒนาการจังหวัดอ่างทอง เป็นผู้กล่าวรายงาน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ผู้อำนวยการกลุ่มงานสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอ่างทอง ประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดอ่างทอง หัวหน้าคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดอ่างทองและผู้นำสตรีเข้าร่วมโครงการฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้สตรีได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี  ยกย่องและเชิดชูเกียรติคนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ที่มีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถเป็นแบบอย่างได้และ สร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในพื้นที่

       

ในการนี้ จังหวัดอ่างทอง ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทสำนักงานเลขานุการคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระดับจังหวัดดีเด่น ระดับเขตตรวจราชการที่ 1 โดยงบประมาณสนับสนุนการขับเคลื่อนกิจกรรมของสำนักงานเลขานุการคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ระดับจังหวัด จำนวน 15,000 บาท  จึงได้จัดโครงการเชิดชูเกียรติคนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จังหวัดอ่างทองขึ้น เพื่อมอบโล่รางวัล และใบประกาศเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติให้กับผู้ที่ได้รับรางวัลตามโครงการเชิดชูเกียรติคนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ประจำปี 2566 และประจำปี 2565 จำนวน 39 รางวัล และรางวัลตามกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น จำนวน 4 รางวัล ประกอบด้วย
1) ประเภทประกาศนียบัตร สารสนเทศตำบลต้นแบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตปี 2566 ระดับเขตตรวจราชการ ตำบลสายทอง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
2) ประเภทรางวัลการสร้างนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ผู้นำการเปลี่ยนแปลงนักสื่อสารสังคมขจัดความยากจนรางวัลเชิดชูเกียรติทีมนักสื่อสารสังคม จำนวน 3 รางวัล ได้แก่ โล่รางวัลระดับดีเด่น ประเภทภาพถ่ายทรงพลัง, ทีมนักสื่อสารสังคมตำบลสายทอง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง,  ใบประกาศเกียรติคุณรางวัลชมเชย ประเภท Clip Video ทีมนักสื่อสารสังคมตำบลทางพระ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง และใบประกาศเกียรติคุณรางวัลชมเชย ประเภท Infographic ทีมนักสื่อสารสังคมตำบลเทวราช อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง

         

สำหรับ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำ ในการสร้างโอกาสให้สตรีเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ หรือเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจให้แก่สตรีและองค์กรของสตรี และเป็นแหล่งเงินทุนเพื่อการส่งเสริมบทบาทและพัฒนาศักยภาพสตรีและเครือข่ายสตรี ในการเฝ้าระวังดูแลและแก้ไขปัญหาของสตรี การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของสตรี นำไปสู่การสร้างสวัสดิภาพ หรือสวัสดิการเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของสตรีและผู้ด้อยโอกาสอื่น ๆ ในสังคมต่อไป