สุรินทร์ เตรียมรับภัยแล้ง เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่ หลังสนทช.รับนโยบาย รองนายกฯ  100 วัน ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้า พื้นที่น้ำท่วม-น้ำแล้งซ้ำซาก พร้อมเร่งบริหารจัดการน้ำ ลุ่มน้ำมูลตอนกลาง รับภาวะเอลนีโญ เร่งสร้างแกมลิงในทุ่งกุลา ช่วยพื้นที่ได้ถึง 3 จังหวัด แก้ปัญหาให้ประชาชนอย่างยั่งยืน

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช. ลงพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ และทะเลสาบทุ่งกุลา เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำ และมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 ของจังหวัดสุรินทร์ พร้อมแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งซ้ำซาก และเพื่อศึกษาคูงานการพัฒนาแก้มลิงในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้  เพื่อเป็นโครงการต้นแบบของการพัฒนาแก้มลิง ใช้สำหรับรองรับน้ำจาก โครงการผันน้ำเพื่อการบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลตอนกลาง (บุรีรัมย์-สุรินทร์)

โดยเมื่อเวลา 17.00 น.ของเย็นวานนี้ (23 ก.ย.66 )ที่ห้องประชุมโครงการชลประทานสุรินทร์ ต.เฉนียง อ.เมือง จ.สุรินทร์ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้เป็นประธานประชุมร่วมกับ นายสมชาย อังศิริลาวัลย์ ผอ.โครงการชลประทานสุรินทร์,นายธนโชติ สมบัติหลาย หัวหน้างานผลิตการประปาส่วนภูมิภาคสาขาสุรินทร์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำจังหวัดสุรินทร์ และมาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566,บรรยายสรุปสถานการณ์การผลิตน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ในอำเภอเมืองสุรินทร์ ก่อนที่ บริษัทที่ปรึกษา จะบรรยายสรุปโครงการศึกษาแผนหลักแบบบูรณาการฯหลังจากรับทราบข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับปริมาณน้ำ การบริหารจัดการน้ำและแก้ไขปัญหาต่างๆเกี่ยวกับน้ำอุปโภค-บริโภค รวมถึงน้ำเพื่อการเกษตรต่างๆจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว

จากนั้นเวลา 09.00 น.ของวันนี้ 24 ก.ย.66 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และคณะได้เดินทางไปยัง อบต.ไพรขลา ตำบลไพรขลา อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ เพื่อรับฟังบรรยายสรุป และบรรยายรายละเอียดโครงการทะเลสาบทุ่งกุลา ก่อนที่ตัวแทนประชาชนกลุ่มผู้ใช้ ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อโครงการ และคณะได้เดินทางไปยังทะเลสาบทุ่งกุลา เพื่อเยี่ยมชมทะเลสาบทุ่งกุลา ก่อนเดินทางกลับ

 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช.  กล่าวว่า จังหวัดสุรินทร์จัดอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลตอนกลาง ที่มีพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมและภัยแล้งซ้ำซาก มีปัญหาน้ำท่วมขัง น้ำลันตลิ่งในช่วงฤคูฝน และปริมาณน้ำขาคแคลนในฤดูแล้ง เพราะไม่มีแหล่งน้ำตันทุน และขาดระบบกระจายน้ำที่ดีทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ ทั้งน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค ซึ่งจังหวัดสุรินทร์มีจำนวนแหล่งน้ำทั้งสิ้น 3,932 แห่ง แบ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 13 แห่ง และ แหล่งน้ำขนาคเล็ก 3,919 แห่ง มีความจุรวม 330.62 ล้น ลบ.ม. ปัจจุบันมีปริมาณน้ำรวม 178 ล้าน ลบ..คิดเป็นร้อยละ 53 ของความจุรวม โคยปีนี้มีปริมาณน้ำมากกว่าปี 2565 อยู่ 9.88 ล้าน ลบ.ม. ขณะที่ความต้องการของผู้ใช้น้ำในเขตเมืองสุรินทร์เพิ่มขึ้นปีละ 1,500-1,800 คน คิดเป็นอัตราการ ใช้น้ำเฉลี่ยคนละ 0.73 ลบ.ม./วัน โดยมีอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำหลักเพื่อการผลิตน้ำประปา ให้กับพื้นที่ชุมชนเมืองสุรินทร์ มีปริมาตรน้ำเก็บกักได้ 21.962 น ลบ.ม. ขณะนี้มีปริมาณน้ำในอ่างอยู่ที่ 16.201 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 73.77% (ข้อมูล ณ วันที่ 16 ก.ย.66) ปริมาณน้ำใช้การได้ 15.385 ล้าน ลบ.ม..


อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อการจัดสรรน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการ รวมถึงรองรับสถานการณ์เอลนี โญ่ที่อาจจะส่งผลกระทบในระยะยาวด้วย

ทั้งนี้เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและยั่งยืนตามแผนแม่บทการ
บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี  สทนช.ได้ทำโครงการศึกษาแผนหลักแบบบูรณาการเพื่อการบรรเท อุทกภัยและภัยแล้งพื้นที่เฉพาะ (Area Based) มูลตอนกลาง บุรีรัมย์-สุรินทร์ เพื่อวิเคราะห์แผนหลักการพัฒนาแหล่งน้ำเชิงพื้นที่ มีแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ รวมทั้งจัดทำโครงการที่เหมาะสมสามารถแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ำครอบคลุมพื้นที่ตลอดลำน้ำมูลตอนกลาง โคยมีประชาชนและทุกภาคส่วนแก้ปัญหาน้ำท่วม-แล้ง ช่วยชาวเมืองสุรินทร์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเสนอแนวคิดและหาวิธีการแก้ไขร่วมกัน เพื่อลดปัญหาความขัดแย้ง ความซ้ำซ้อนของการดำเนินงานและการใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด  จากการวิเคราะห์สภาพปัญหาของพื้นที่ลุ่มน้ำมูลมีความคดเคี้ยวบางช่วงคล้ายดอขวด  ทำให้การ  ระบายน้ำช่วงฤดูฝนไม่ดี เมื่อมีปริมาณน้ำไหลหลากรุนแรงจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำ จึงก่อให้เกิดสภาพ  อุทกภัยในที่ราบลุ่มริมสองฝั่งแม่น้ำมูลเป็นประจำ ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาคังกล่าว จึงได้ทำโครงการทางผันน้ำ  เพื่อบรรเทาอุทกภัยของชุมชนเมืองในพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงของแม่น้ำมูล ตั้งแต่เขต อ.แคนคง จ.บุรีรัมย์ ไปจนถึง อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ โดยการขุดคลองใหม่และขุดขยายลำน้ำพลับพลาในพื้นที่เป็นพื้นที่เก็บกักน้ำ (แก้มลิงหนองเลิงทุ่ง) ให้มีความลึกประมาณ 4 เมตร ขนาดความจุ 1.5 ล้าน ลบ.ม. นอกจากช่วยบรรเทาปัญหา  อุทกภัยแล้ว ยังสามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตรในช่วงฤดูแล้งได้อีกด้วย


เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ  กล่าวอีกว่า ทั้งนี้พบว่า ในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลตอนกลาง มี 3 ปัญหา คือน้ำท่วม น้ำแล้ง  และคุณภาพน้ำในบางพื้นที่ รวมไปถึง จังหวัดร้อยเอ็ด และมหาสารคาม บางส่วน  ในขณะเดียวกันได้พิจารณาแหล่งน้ำ ระบบประปา ที่ยังไม่ทั่วถึง ซึ่งทางสหประชาชาติหรือยูเอ็นได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ให้ประชาชนเข้าถึงน้ำสะอาด เพื่อการอุปโภคบริโภครวมไปถึง สาธารณูปโภคด้านการสุขาภิบาล โดยนายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่งจากการที่ท่านได้ไปร่วมประชุมยูเอ็นที่นิวยอร์ก ซึ่งเป็นการสอดคล้องกับแผนการจัดการน้ำ 20 ปี โดยเฉพาะเรื่องความมั่นคงทางด้านน้ำซึ่งจะมีแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อเป็นน้ำต้นทุนในการรองรับพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้ง รวมถึงป้องกันอุทกภัย และที่สำคัญในพื้นที่ลุ่มริมน้ำมูล ที่มักประสบปัญหาน้ำท่วมน้ำล้นตลิ่ง เวลามีน้ำหลากจึงต้องเร่งแก้ไขในเรื่องนี้ นอกจากนี้รวมถึงการฟื้นฟูอนุรักษ์ดูแลระบบนิเวศน์ ที่บางพื้นที่ยังมีปัญหาเรื่องป่าเสื่อมโทรมและบางลุ่มน้ำที่มีปัญหาคุณภาพน้ำบางช่วง ซึ่งต้องมีการดูแล นอกจากนี้จะมีระบบตรวจวัดระดับน้ำในการแจ้งเตือนภัยให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบเวลาเกิดอุทกภัย เพื่ออพยพขึ้นที่สูงได้ทันที ซึ่งบริษัท ธารา คอนซัลแตนท์ จำกัด ได้มีการศึกษาแผนการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำมูลตอนกลาง รวมกับ สนทช.เพื่อแก้ปัญหาทั้งระบบ


ทั้งนี้ยอมรับว่า จังหวัดสุรินทร์มีปริมาณน้ำมาก ในบางพื้นที่ บางพื้นที่ก็มีปริมาณน้ำน้อย โดยเฉพาะทุ่งกุลา ที่มีปัญหาแหล่งเก็บกักน้ำน้อย และในลำน้ำมูลเวลามีน้ำหลากมามากๆ ก็ไม่มีที่เก็บเพียงพอทั้งนี้ในฤดูแล้งจึงงอาจมีปัญหา เรื่องของปริมาณน้ำที่ไม่เพียงพอได้ ดังนั้นในส่วนของ สทนช. จะดำเนินการในส่วนทุ่งกุลา จะดำเนินการในลักษณะ แก้มลิง ในลำน้ำพลับพลา ที่ไหลผ่านทุ่งกุลา และในพื้นที่ของทุ่งกุลาเองจะมีการขุดลอกคูคลองปรับปรุงให้ดีขึ้น รวมไปถึงการผันน้ำ  เชื่อมโยงลำน้ำมูลและลำน้ำพลับพลา เพื่อเก็บน้ำในฤดูแล้ง และลดปัญหาอุทกภัย


เลขาธิการ สทนช. กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า โครงการทะเลสาบทุ่งกุลา ต.ไพรเขลา อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ เป็นโครงการต้นแบบของการพัฒนาแก้มลิง ใช้สำหรับรองรับน้ำจากโครงการผันน้ำเพื่อการบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลตอนกลาง และการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในพื้นที่ดอนและพื้นที่ห่างไกลแหล่งน้ำในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งกรมชลประทานได้ดำเนินการขุดลอกพื้นที่ทำเป็นแก้มลิงกักเก็บน้ำไว้ใช้แก้ปัญหาความแห้งแล้ง ตั้งแต่ปี 2550 โดยขุดพื้นที่กว่า 750 ไร่ จัดเป็นแก้มลิงขนาดใหญ่ที่รายล้อมไปด้วยไร่นา สามารถเก็บกักน้ำได้ 1.9 แสน ลบ.ม. ปัจจุบันสามารถพัฒนาเป็นแหล่งรองรับน้ำเชื่อมโยงกับโครงการผันน้ำจากลุ่มน้ำมูลตอนกลางได้เป็นอย่างดี นอกจากจะช่วยแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ชาวบ้านได้ประโยชน์จากการทำเกษตร ยังมีการพัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำจำนวนมาก มีกิจกรรมทางน้ำไว้รองรับนักท่องเที่ยว ซึ่งในอนาคตจะพัฒนาเป็นโครงการนิคมการเกษตรข้าวหอมมะลิอินทรีย์ จำหน่ายสินค้าทุ่งกุลาร้องไห้ นำรายได้เข้าชุมชนอีกทางหนึ่ง โดย สทนช.จะใช้โครงการทะเลสาบทุ่งกุลานี้เป็นต้นแบบนำไปขยายผลเพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำให้ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำมูลตอนกลาง พัฒนาศักยภาพพื้นที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป


ส่วนอ่างเก็บน้ำห้วยเสนง เป็นแหล่งเก็บน้ำที่สำคัญของจังหวัด สุรินทร์ เพื่อเป็นแหล่งน้ำดิบอุปโภคบริโภค ผลิตน้ำประปาให้กับชุมชนเมือง ซึ่งเป็นการบริหารจัดการร่วมกันกับอ่างเก็บน้ำอำปึล ซึ่งก็มีปริมาณน้ำพอสมควร แต่ต้องไม่ประมาทกับสถานการณ์เอลนิโญไปอีก 2 ปี จึงต้องมีการบริหารจัดการน้ำอย่างดี ไม่เฉพาะช่วงฤดูแล้งปีนี้อย่างเดียว แนวโน้มปริมาณฝนปีหน้าจะน้อย ดังนั้นจึงอยากขอประชาชน รณรงค์ การประหยัดน้ำ และทุกภาคส่วนร่วมกันสร้างความรับรู้ให้ประชาชนเข้าใจการบริหารน้ำรองรับเอลนิโญ จะไปถึงปี 67ด้วย


เลขาฯ สทนช. กล่าวถึงการเข้ารับมอบนโยบายจากนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ว่า นายภูมิธรรม ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกกับการแก้ปัญหาน้ำในพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งซ้ำซาก โดยให้การบ้าน สทนช. ว่า 100 วันนี้ ต้องมีโครงการเร่งด่วนในการแก้ปัญหาให้กับประชาชน ดำเนินการให้แลวเสร็จ 100 วัน  ให้เป็นรูปธรรม เช่น การขุดลอกแหล่งน้ำ การกำจัดวัชพืช เพื่อลดการสูญเสียน้ำระดับหนึ่ง และการขับเคลื่อนในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง การสร้างบ่อบาดาลเพิ่มเติม เพื่อนำน้ำมาใช้ ทั้งนี้ยังมีโครงการอื่นๆ ให้รัฐบาลพิจารณาส่งเสริม ที่สำคัญ ที่สทนช. ขอให้ประชาชนงดทำนาปรัง หรือนาปีต่อเนื่อง ได้มีการเสนอกับรัฐบาล และรองนายกฯ ว่าต้องมีอาชีพทางเลือกให้กับเกษตรกร เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติฯกล่าว