เข้าวันที่ 22 กันยายน 2566  ที่บริเวณหน้าพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดขวิกรม พระบรมราชชนก โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชัยนาทพร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชนจังหวัดชัยนาท จำนวน 12 หน่วยงาน นำพวงมาลาถวายราชสักการะหน้าพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เนื่องในวโรกาส "วันมหิดล" ซึ่งตรงกับ วันที่ 24 กันยายน พุทธศักราช 2566 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสด็จทิวคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก โดยมีนายศรณ์จักร์ชัย ชูวาพิทักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท เป็นประธานในพิธีวางพวงมาลาและกล่าวถวายสดุดี 


สมเด็จพระหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พุทธศักราช 2434 ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระธิดา และ พระโอรส 3 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงศึกษาในสาขาวิชาการแพทย์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาและทรงศึกษาวิชาสุขวิทยาและลาธารณสุขด้วย ได้ทรงปฏิบัติหน้าที่แพทย์ ณ โรงพยาบาลศิริราช และแพทย์ประจำบ้านที่โรงพยาบาลแมคคอมี จังหวัดเชียงใหม่ จนผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษาโรค ได้ถวายพระนามพระองค์ท่านว่า "หมอเจ้าฟ้า"สมเด็จฯ พระบรมราชชนก ประชวรเนื่องจากพระปับผาสะมีน้ำคั่ง และพระหทัยวาย เมื่อวันที่ 24 กันยายน พุทธศักราช 2472 ทรงเสด็จทิวงคต รวมพระชนม์มายุได้ 37 ปี 8 เดือน นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของปวงชนชาวไทย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม กำหนดให้วันที่ 24 กันยายนของทุกปีเป็น "วันมหิดล" สมเด็จฯ พระบรมราชชนก ทรงอุทิศทั้ง พระราชทรัพย์และพระวรกาย พระสติกำลัง เพื่อพัฒนาการแพทย์การสาธารณสุขของประเทศให้รุ่งโรจน์ ก้าวหน้าไปตามสมัยนิยม จนเป็นที่ยอมรับนับถือของนานาอารยะประเทศ ดังที่ปรากฏเท่าทุกวันนี้ และได้รับสมเด็จฯ พระบรมราชชนก ทรงอุทิศทั้ง พระราชทรัพย์และพระวรกาย พระสติกำลัง เพื่อพัฒนาการแพทย์การสาธารณสุขของประเทศให้รุ่งโรจน์ ก้าวหน้าไปตามสมัยนิยม จนเป็นที่ยอมรับนับถือของนานาอารยะประเทศ ดังที่ปรากฎเท่าทุกวันนี้ และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ถวายพระราชสมัญญานามเป็น"องค์บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย และองค์บิดาแห่งถารสาธารณสุขไทย"