จากปัญหาหนี้สินของเกษตรกรไทยที่ มีหนี้เฉลี่ยมากถึงกว่า 450,000 บาทต่อครัวเรือน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ พบว่า กว่า 57% ของครัวเรือนมีหนี้สินสูงเกินศักยภาพในการโดยเกษตรกรเกินครึ่งมีแนวโน้มต้องส่งต่อหนี้ไปสู่รุ่นลูกหลาน หากเรายังคงไม่มีแนวทางแก้ไขที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ ปัญหาดังกล่าวถือเป็นโจทย์ที่ไม่ง่าย ที่ต้องวัดใจรัฐบาลว่าจะเริ่มได้เมื่อไร  

 เรื่องนี้ นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระเกษตรและสหกรณ์ . บอกว่า เป็นเรื่องที่ให้ความสำคัญลำดับต้น ๆ ต้องยอมรับว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาเกษตรกรและประชาชน รวมไปถึงผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่ และรายเล็ก ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ได้รับผลกระทบจากการค้าของประเทศมหาอำนาจที่ส่งผลกับประเทศไทยก่อนกระทบมายังเกษตรกร การพักหนี้คือการให้โอกาสกับคนที่ด้อยโอกาส ต้องยอมรับเกษตรกร มีรายได้เป็นรายปี แต่ปีไหนที่ฝนแล้งน้ำท่วม ก็จะไม่มีรายได้ ไม่มีเงินส่งหนี้ ดังนั้นการพักหนี้ คือการพักภาระให้เขาระยะหนึ่ง รัฐบาลคิดว่า 3 ปี ให้เกษตรกรมีโอกาสหายใจ แม้ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก ครั้งนี้รัฐบาลได้รู้ปัญหา

“กระทรวงเกษตรฯ จะให้การสนับสนุน ให้เกษตรกรกยืนบนขาของตัวเองให้ได้ ตั้งแต่เรื่องน้ำ เรื่องดิน เรื่องสัตว์ หมู เห็ด เป็ด ไก่ เรื่องประมง อยู่ในส่วนของกระทรวงเกษตรฯทั้งหมด รัฐบาลมีหน้าที่ให้โอกาส สนับสนุนเป็นพี่เลี้ยง รัฐบาลไม่ใช่การนำของไปให้เขากิน เอาปลาไปให้เขากิน แต่จะหาเครื่องมือให้เกษตรกรยืนบนขาของตัวเอง ดังนั้นช่วงเวลาพักหนี้ 3 ปีที่ไม่มีภาระ เรื่องดอกเบี้ย และเงินต้นที่ต้องส่ง ธกส.ก็จะมีโอกาสสร้างตัวขึ้น วันที่เขาแข็งแรงก็จะกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ จึงขอเริ่มจากการพักนี้ก่อน”

การพักหนี้ครั้งนี้สามารถทำได้เลย แม้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่กลไลและวิธีการที่เป็นเรื่องใหม่ โดยรัฐบาลภายใต้การนำของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง นโยบายที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเกษตรฯ มีการพูดถึงตลาดนำ นวัตกรรมเสริม และเพิ่มรายได้ วันนี้จะอยู่ในยุคของการผลิตเชิงปริมาณไม่ได้ เราจะผลิตแบบดั้งเดิม ทำไร่ ทำนาแบบในอดีตไม่ได้ ดังนั้นการทำการเกษตรแบบตลาดนำ ต้องดูความต้องการของตลาด เราจะผลิตสินค้าเกษตรป้อนตลาด ไม่ใช่การผลิตหรือเข้าไปส่งเสริมเกษตรกรแล้วไม่มีที่ขาย กระทรวงเกษตรฯก็ต้องทำงานรวมกับกระทรวงอื่น ๆ โดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์ เพื่อการเปิดตลาดใหม่ ระบายสินค้าทั้งในและต่างประเทศ สิ่งหนึ่งเราได้เปรียบ เรามีผืนดิน เราไม่มีภัยธรรมชาติที่รุนแรงเหมือนต่างประเทศ ทำให้ประเทศไทยได้เปรียบ เป็นศักยภาพที่เราจะเป็นประเทศที่ผลิตอาหารเชิงคุณภาพของโลก

วันนี้เทรดใหม่ของโลกคือคนห่วงสุขภาพ คนกลัวตาย แต่คนไม่กลัวเรื่องจะจ่ายแพง เวลาเราไปเดินห้างสรรพสินค้า พบว่าผักปลอดสารพิษที่มีราคาที่แพงกว่า แต่ก็หมดก่อน แสดงว่าคนห่วงสุขภาพ ทำให้เราต้องสร้างผลผลิตให้ผู้บริโภคมั่นใจ ว่าปลอดสารพิษจริง ต้องเป็นเกษตรอินทรีย์ ออแกนนิคจริง ดังนั้นเมื่อเราตั้งเป้าจะหาตลาดใหม่ที่เป็นเทรนของโลก ซึ่งตนได้ดูตัวเลขของสินค้าโดยเฉพาะเรื่องสมุนไพร ซึ่งเป็นที่ยอมรับ และเป็นที่เชื่อถือ แต่โอกาสในการสร้างมูลค่าเชิงธุรกิจ ยังถูกกีดกันอยู่ แต่ถ้าเราหาโอกาส เปิดช่องทาง หาตลาด ให้สินค้าสมุนไพรเหล่านี้ได้รับการยอมรับ นอกจากการทำสินค้าเกษตรกรหลัก เช่น ปลูกข้าว ปลูกข้าวโพด ก็สามารถปลูกพืชสมุนไพรได้

เมื่อถามว่าจะให้ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นฮับด้านสมุนไพรเลยหรือไม่ นายไชยา ตอบว่า ทราบดีว่ามีบางประเทศ นำตัวสมุนไพรจดลิขสิทธิ์ นับเป็นความสูญเสียโอกาส ดังนั้นการทำงานที่จะประสบความสำเร็จไม่ได้อยู่ที่กระทรวงเกษตรฯอย่างเดียว ต้องดูที่องคาพยพ ทั้งกระทรวงพาณิชย์ เรื่องสิทธิบัตร สิทธิทางการค้า กรมวิชาการเกษตร ก็ต้องไปดู ต้องมองไกลๆว่ากลุ่มสวิสาหกิจชุมจะอยู่ในกลุ่มของเกษตรกรอย่างเดียวไม่ได้ ต้องพุ่งเป้า จะพัฒนาไปสู่เอสเอ็มอีได้หรือไม่ ทั้งนี้คนอยากเห็น ธกส.ที่แทบจะเป็นเนื้อเดียวกันกับกระทรวงเกษตรฯ เป็นรูปแบบของธนาคารของประชาชนที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น นอกจากจะเป็นแหล่งเงินกู้ อยากเห็น ธกส.ที่เติมความรู้ เติมวิธีการสิ่งต่าง ๆ เข้าไป ในอดีตทีตนเห็น ธกส.ก็ทำได้ดีมาก ในนโยบายบางอย่าง อยากเห็นมีความต่อเนื่อง ตนมาจากอีสาน ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่าอยากพนักงาน ธสก.เข้าไปหาชาวบ้านก็เข้าไปโอบกอด มาให้องค์ความรู้ มาให้โอกาส ทำอย่างไรจะทำให้ได้เงิน 1 ไร่ 1 แสน เป็นสิ่งที่ท้าทาย ดังนั้นสิ่งเหล่านี้ บทบาทของหน่วยงานภาครัฐ และสถาบันการเงิน เข้ามามีส่วนสนับสนุนการเติบโตของเกษตรกรให้ยืนบนขาของตัวเองมากขึ้น