นายทรงพล ใจกริ่ม ผู้อำนวยการศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม จังหวัดร้อยเอ็ด ได้มอบหมายให้สำนักงาน ปภ. จังหวัดร้อยเอ็ด รายงานสถานการณ์อุทกภัย ประจำวันที่ 19 กันยายน 2566 ดังนี้
1.สถานการณ์อุทกภัย (ลำน้ำยังเอ่อล้นตลิ่ง) ตามที่ได้เกิดสถานการณ์ฝนตกหนักต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 3-6 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา บริเวณต้นลำน้ำยังตอนบนอยู่ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ ท้าให้มีปริมาณน้ำสะสมและเป็นเหตุให้ระดับน้ำในลำน้ำยังของจังหวัดร้อยเอ็ด เพิ่มระดับขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ส่งผลให้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2566 จังหวัดร้อยเอ็ดได้เกิดสถานการณ์อุทกภัย (ลำน้ำยังเอ่อล้นตลิ่ง) ขึ้น อีกทั้งยังมีฝนตกต่อเนื่องในพื้นที่ จากสาเหตุดังกล่าวส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน สิ่งสาธารณประโยชน์ รวมทั้งพื้นที่ทางการเกษตรถูกน้ำท่วมขังเป็นจำนวนมาก และมีผู้เสียชีวิต 1ราย
2. พื้นที่ประสบอุทกภัย (ลำน้ำยังเอ่อล้นตลิ่ง) จังหวัดร้อยเอ็ดได้ประกาศพื้นที่ประสบสาธารณภัย เขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) รวม 6 อำเภอ 29 ตำบล 128 หมู่บ้าน 2,870 ครัวเรือน 6,685 ราย ดังนี้
1.อ.โพนทอง รวม 4 ตำบล 15 หมู่บ้าน ประชาชน 366 ครัวเรือน จำนวน 1,098 ราย
2.อ.เสลภูมิ รวม 8 ตำบล 53 หมู่บ้าน ประชาชน 2,079 ครัวเรือน จำนวน 4,311 ราย มีเสียชีวิต 1 ราย
3.อ.หนองพอก รวม 8 ตำบล 36 หมู่บ้าน ประชาชน 40 ครัวเรือน จำนวน 120 ราย
4.อ.โพธิ์ชัย รวม 4 ตำบล 11 หมู่บ้าน ประชาชน 100 ครัวเรือน จำนวน 300 ราย
5.อ.เมยวดี รวม 3 ตำบล 6 หมู่บ้าน ประชาชน 191 ครัวเรือน จำนวน 573 ราย
6.อ.ทุ่งเขาหลวง รวม 2 ตำบล 7 หมู่บ้าน ประชาชน 94 ครัวเรือน จำนวน 283 ราย
3. ผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย
3.1 สิ่งสาธารณประโยชน์ที่ได้รับผลกระทบ 5 อำเภอ ถนน 24 แห่ง สะพาน 3 แห่ง วัด 2 แห่ง โรงเรียน 1 แห่ง รพ.สต. 1 แห่ง บ้านพักอาศัย 21 หลัง
3.2 พื้นที่ทางการเกษตรได้รับผลกระทบ ทั้ง 6 อำเภอ นาข้าว 20,152.2 ไร่ ไม้ผล ไม่ยืนต้น อื่นๆ 8 ไร่
3.3 พื้นที่ทางปศุสัตว์ได้รับผลกระทบ 3 อำเภอ คือ โพนทอง เสลภูมิ หนองพอก 5 ตำบล 15 หมู่บ้าน มีการให้ความช่วยเหลือ อพยพสัตว์ 1,157 ตัว พืชอาหารสัตว์ 8,000 กก. สนับสนุนชุดสุขภาพสัตว์ 273 ชุด รักษาสัตว์ 28 ตัว
3.3 พื้นที่ทางการประมงได้รับผลกระทบ อ.เสลภูมิ ตำบลเมืองไพร บ่อกุ้ง 1 ไร่
4. เสียชีวิต 1ราย อ.เสลภูมิ วันที่ 10กันยายน 2566 เวลาประมาณ 13.00 น.
นายคำภา อายุ 70ปี อยู่บ้านเลขที่ 44บ้านหนองจอก หมู่ที่ 5ตำบลเหล่าน้อย เวลา 09.00 น. ผู้ตายได้ออกไปสำรวจความเสียหายของนาข้าวบริเวณที่น้ำเอ่อท่วมทุ่งนาท้ายบ้านโนนสูง หมู่ที่ 8ตำบลเหล่าน้อย และหายไป ญาติประสาน สภ.โพธิ์ทอง ปภ.รอ. อบต.เหล่าน้อย หน่วยกู้ชีพศิลานครค้นหา เวลาประมาณ 13.00 น. พบร่างผู้ตายจมน้ำเสียชีวิต
สถานการณ์ปัจจุบัน แนวโน้มคาดการณ์
รายงานระดับน้ำลุ่มน้ำยัง ประจ้าวันที่ 19กันยายน 2566ดังนี้
1. สถานีบ้านกุดก่วง โพนทอง (E70 )เวลา 06.00น. อยู่ที่ 9.47เมตร สูงกว่าตลิ่ง 0.47เมตร เมื่อเปรียบเทียบเมื่อวาน เวลา 06.00น ลดลง 26เซนติเมตร แนวโน้ม ลดลง
2. สถานีบ้านท่างาม เสลภูมิ (E92 )เวลา 06.00น อยู่ที่ 11.21เมตร สูงกว่าตลิ่ง 2.29เมตร เมื่อเปรียบเทียบเมื่อวาน เวลา 06.00น ลดลง 14เซนติเมตร แนวโน้มลดลง
-ปัจจุบันสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ได้คลี่คลายลงแล้ว ทั้งนี้ จังหวัดร้อยเอ็ดได้ดำเนินการให้ผู้อำนวยการอำเภอ ผู้อำนวยการท้องถิ่น ให้สำรวจความเสียหายและดำเนินการให้ความช่วยเหลือตามอำนาจหน้าที่ หากเกินขีดความสามารถหรือมีงบประมาณไม่เพียงพอ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำรวจความเสียหายและรายงานอำเภอ เพื่อเข้าที่ประชุมคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (ก.ช.ภ.อ.) และคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.) เพื่อใช้เงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังต่อไป