ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่โรงแรมแกรนด์ อินเตอร์ อ.เมืองสมุทรสาคร สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร ได้จัดงานเวทีสัมมนาเพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฉลากคาร์บอน ภายใต้ชื่อ "โครงการพัฒนาสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยมีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสถานประกอบการและโรงงาน มุ่งเข้าสู่อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีนายณรงค์ รักร้อย ผวจ.สมุทรสาคร มาเป็นประธานเปิดงาน 

นายพิทักษ์ บุญคงแก้ว ได้กล่าวว่า สำหรับเป้าหมายการจัดสัมมนาในครั้งนี้ก็เพื่อเป็นการผลักดันเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในจังหวัด เพื่อการปรับตัวขึ้นสู่มาตรการเมืองรักษาสิ่งแวดล้อมปลอดภัยมีคาร์บอน ที่ให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าที่มิให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อการสร้างความน่าเชื่อถือให้ของผลิตภัณฑ์ให้กับจังหวัดสมุทรสาคร ที่ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (หรือ ฉลากลดโลกร้อน) กล่าวคือ ฉลากที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์ได้ผ่านการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งจะเป็นการประเมินผลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์สินค้าต่างๆ อาทิเช่น ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ, การขนส่ง, กระบวนการผลิต, การใช้งาน และการกำจัดซากผลิตภัณฑ์หลังใช้งาน ซึ่งเมื่อผ่านตามเกณฑ์ที่ กม.กำหนดสามารถติดเครื่องหมายลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในของผลิตภัณฑ์ที่ผลผลิต หรือเผยแพร่บนสื่อต่างๆ 


โดยนายพิทักษ์ บุญคงแก้ว รายงานว่า ปัจจุบันสมุทรสาครก็มีผลิตภัณฑ์ที่สามารถได้รับฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ อยู่จำนวน 87 ผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็นดังนี้ "ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร /และเครื่องดื่ม จำนวน 48 ผลิตภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์ประเภทเหล็ก 20 ผลิตภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์ประเภทกระดาษ /สิ่งพิมพ์ 17 ผลิตภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์ประเภทสิ่งทอ 1 ผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องประดับ 1 ผลิตภัณฑ์

นายณรงค์ รักร้อย ผู้ว่าฯสมุทรสาคร กล่าวว่า การส่งเสริมสถานประกอบการมุ่งสู่อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ที่ 5 ในด้านการสร้างความเจริญเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ 13) ที่กำหนดหมุดหมายให้ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียน ควบคู่กับสังคมคาร์บอนต่ำ ตามแผนพัฒนาจังหวัดสมุทรสาคร 5 ปี (ระหว่าง พ.ศ. 2566 - 2570) โดยมีเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดสมุทรสาคร สู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เมืองเกษตร และอาหารปลอดภัยที่มีมาตรฐานสากล เพื่อทำสังคมน่าอยู่สู่เมืองสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน ท่ามกลางการสร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เป็นเมืองน่าอยู่ต่อไป