วันที่ 14 กันยายน 2566 นายแพทย์สุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย เผยว่า ปัจจุบันกรุงเทพมหานคร ได้เพิ่มจำนวนคลินิกเพศหลากหลาย (BKK PRIDE CLINIC) จาก 21 แห่ง เป็น 24 แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย 16 แห่ง ได้แก่ 1.ศูนย์บริการสาธารณสุข3 บางซื่อ เขตบางชื่อ โทร 025870618 2.ศูนย์บริการสาธารณสุข4 ดินแดง เขตดินแดง โทร 022461553 3.ศูนย์บริการสาธารณสุข9 ประชาธิปไตย เขตพระนคร โทร 022820473 4.ศูนย์บริการสาธารณสุข21 วัดธาตุทอง เขตวัฒนา โทร 023916082 5.ศูนย์บริการสาธารณสุข22 วัดปากบ่อ เขตสวนหลวง โทร 023491816 6.ศูนย์บริการสาธารณสุข23 สี่พระยาเขตบางรัก โทร 022336329 7.ศูนย์บริการสาธารณสุข25 ห้วยขวาง เขตห้วยขวาง โทร 022772660 8.ศูนย์บริการสาธารณสุข26 เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ เขตธนบุรี โทร 024650014 9.ศูนย์บริการสาธารณสุข28 กรุงธนบุรี เขตคลองสาน โทร 028608210 10.ศูนย์บริการสาธารณสุข29 ช่วง นุชเนตร เขตจอมทอง โทร 024766495 11.ศูนย์บริการสาธารณสุข36 บุคคโล เขตธนบุรี โทร 024685297 12.ศูนย์บริการสาธารณสุข41 คลองเตย เขตคลองเตย โทร 022491385 13.ศูนย์บริการสาธารณสุข43 มีนบุรี เขตมีนบุรี โทร 025405615 14.ศูนย์บริการสาธารณสุข48 นาควัชระอุทิศ เขตหนองแขม โทร 024212147 15.ศูนย์บริการสาธารณสุข61 สังวาล ทัสนายมย์ เขตสายไหม โทร 025360163 16.ศูนย์บริการสาธารณสุข64 คลองสามวา เขตคลองสามวา โทร 025480495
รวมถึง โรงพยาบาลสำนักการแพทย์ 8 แห่ง ได้แก่ 1.โรงพยาบาลกลาง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ที่หน่วยบริการผู้ป่วยนอกสูตินรีเวชกรรม ชั้น 3 อาคารอนุสรณ์ 100 ปี โทร 022208000 2.โรงพยาบาลตากสิน เขตคลองสาน ที่ Love Care Clinic โทร 0985399764 3.โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ เขตบางคอแหลม ที่ห้องตรวจจิตเวช ชั้น 2 อาคาร 72 พรรษามหาราชินี โทร 022897024 4.โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ เขตบางแค ที่คลินิกประกันสังคม 5.โรงพยาบาลสิรินธร เขตประเวศ คลินิกอายุรกรรม ชั้น 2 โทร 024212122 6.โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ เขตหนองแขม ที่อาคารเมตตาธรรม ชั้น 1 โทร 023286900 7.โรงพยาบาลเวชการุณย์รัสมิ์ เขตหนองจอก ที่อาคารเอนกประสงค์(คลินิกจิตเวช)ชั้น 2 โทร 029884098 8.โรงพยาบาลลาดกระบัง เขตลาดกระบัง ที่อาคารชั่วคราว ชั้น 1 โทร 023269995
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คลินิกดังกล่าว ดำเนินการตามนโยบายนำร่องพัฒนาคลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย ของนายชัชชาติ สิทธิพันธ์ุ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีจุดประสงค์ ดูแลสุขภาพให้คนกรุงเทพฯ ที่มีความหลากหลายทางเพศดีขึ้น เนื่องจากการบริการทางสุขภาพทำให้ผู้ใช้บริการไม่กังวลเรื่องการถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นมิตร และเชื่อมั่นในการรักษา และการให้คำแนะนำทางสุขภาพแบบเฉพาะทาง
โดยนโยบายดังกล่าว ระบุรายละเอียดไว้ว่า คลินิกสาธารณสุขเฉพาะทางด้านสุขภาพของกลุ่ม LGBTQI+ ในโรงพยาบาลของรัฐมีเพียง 2 แห่งเท่านั้น คือคลินิกสุขภาพเพศของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย โรงพยาบาลรามาธิบดี นอกจากนี้หนังสือยุทธศาสตร์สุขภาวะ LGBTIQN+ ในประเทศไทย โดย ชเนตตี ทินนาม โกสุม โอมพรนุวัฒน์ และรัตนา ด้วยดี ระบุว่าการให้บริการทางการแพทย์กับกลุ่ม LGBTQI+ ยังขาดความรู้และความเข้าใจในประเด็นอ่อนไหว ระบบการรับบริการด้านสุขภาพยังคงไม่เป็นมิตรกับคนข้ามเพศ บุคลากรทางการแพทย์บางส่วนยังคงขาดความรู้ความเชี่ยวชาญด้านความหลากหลายทางเพศ รวมถึงยังมีอคติทางเพศที่ส่งผลต่อการวินิจฉัยโรค เป็นต้น
ประเด็นเหล่านี้ส่งผลกับประสบการณ์ในการเข้ารับบริการของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ เช่น เมื่อกลุ่มคนข้ามเพศต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลก็จะไม่ถูกส่งไปรวมห้องกับเพศปัจจุบันของตนเอง
ดังนั้น กทม.จะนำร่องเปิดศูนย์ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ในประเด็นจำเพาะ เช่น บริการจิตวิทยาการปรึกษา การใช้ยา-ฮอร์โมน และการผ่าตัดแปลงเพศของกลุ่มคนข้ามเพศในศูนย์บริการสาธารณสุข (ศบส.) หรือโรงพยาบาลในสังกัด กทม. ตามความเหมาะสม เพื่อสร้างสวัสดิการของรัฐที่ครอบคลุมความหลากหลายของมนุษย์