วันที่ 11 ก.ย.66 นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังการประชุมโครงการพัฒนาต้นแบบ BKK Food Bank ระบบส่งต่ออาหารให้กลุ่มเปราะบางอย่างเป็นรูปธรรม ณ ห้องนพรัตน์ ศาลาว่าการกทม.(เสาชิงช้า) ว่า โครงการ BKK Food Bank เป็นนโยบายที่ทำมา 1 ปี แล้ว โดยใช้วิธีการในรูปแบบ Sandbox ก่อน ซึ่งสรุปต้นแบบเป็น 2 แบบ แบบที่ 1 คือ Food surplus หรืออาหารเหลือทิ้ง จากร้านสะดวกซื้อที่ขายไม่หมด ไม่เสีย แต่ไม่ขายแล้วเป็นอาหารที่ต้องทิ้ง ก็สามารถนำไปส่งต่อให้กลุ่มเปราะบางได้ แบ่งเป็น 2 ส่วน 1.กทม.ทำระบบขนส่งอาหารเองโดยร่วมกับมูลนิธิช่วยตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารก่อนใช้รถเทศกิจส่งต่อไปเวียนไปยังชุมชนต่างๆ ซึ่งเราทำมาแล้ว 10 เขต ส่งต่ออาหารไป 30,000 มื้อ ปี 2567 จะขยายให้ครบทั้ง 50 เขต 2.ให้พี่กวาดไปรับที่ร้านสะดวกซื้อเองในเวลา 06.00น. นำไปแจกจ่ายพนักงานกวาดซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางเช่นกันจะช่วยลดรายจ่ายได้ ซึ่งทำไปแล้ว 47 เขต และจะให้ครบ 50 เขต

          แบบที่ 2 คือ Food donation คือการรับบริจาคซึ่งทำต้นแบบที่เขตห้วยขวาง โดยร่วมกับวัดที่บริจาคของใช้จากสังฆทานจำนวนมากซึางพระท่านใช้ไม่หมด โดยเขตจัดทำห้องรับบริจาคเป็นมินิมาร์ทมีสิ่งของทั้งของใช้ ของกิน อาหารแห้ง เลือกใช้วันพระเป็นวันเปิดห้องให้กลุ่มเปราะบางคนที่ขาดมารับได้ ดำเนินการมาเกือบ 1 ปี จะขยายผลให้มีครบ 6 กลุ่มเขต อย่างน้อยกลุ่มละ 1 เขต และให้เพิ่มเขตพระนครด้วยเพราะเป็นพื้นที่ที่มีคนไร้บ้านจำนวนมาก การดำเนินการต้นแบบ BKK Food Bank ทั้ง 2 แบบนี้ จะนำข้อมูลมาเชื่อมต่อกันไว้ที่สำนักพัฒนาสังคม และเดือนหน้าจะสรุปแนวทางรูปแบบรวมถึงเขตที่จะดำเนินการ

          ทั้งนี้ กรุงเทพมหานคร โดยสำนักพัฒนาสังคม ได้ดำเนินโครงการพัฒนาต้นแบบ BKK Food Bank ระบบส่งต่ออาหารให้กลุ่มเปราะบางอย่างเป็นรูปธรรม ตามนโยบาย 226 ข้อ ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์) มิติบริหารจัดการดีและมิติสิ่งแวดล้อมดี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งต่ออาหารส่วนเกินให้กลุ่มเปราะบางที่ขาดแคลนอาหารและลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจากอาหารส่วนเกิน โดยมีการเชื่อมโยงการทำงานทุกภาคส่วน อาทิ มูลนิธิ SOS, vvshare, Lotus,Tops, 7-11, Donuts, Chef Cares, โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme : UNDP) สํานักงานเขต