นายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ เป็นประธานมอบนโยบายจากผู้บริหารกรมชลประทานและแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานของที่ปรึกษา เริ่มจากกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาในโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการปี 2566 จำนวน 4 กลุ่มงาน ได้แก่ ปัตตานี (บ.ชลนวัต) สามชุก (บ.วายพี) มโนรมย์ (บ.ฟลัดเวย์) และโคกกระเทียม (บ.วิศวชาญ) 

 

ทั้งนี้ ประเด็นและหัวข้อในการมอบนโยบายและแนวทางการขับเคลื่อน ได้แก่ การแจ้งให้ที่ประชุมทราบ สำนักออกแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม มีวิศวกรปรับชำนาญการพิเศษ มีการออกแบบเขื่อน เครื่องมือวัดพฤติกรรมเขื่อน ได้ให้คำแนะนำในการขยายผลต่อ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้สามารถอ่านค่าเครื่องมือและวิเคราะห์ได้ทันที และสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ได้อย่างทันสถานการณ์ แอพพลิเคชั่นบริหารจัดการน้ำ การใช้เซนเซอร์วัดความชื้น แบบจำลองความต้องการน้ำ โดรนเพื่อการเกษตรและการขนส่ง มี IOT ควบคุมระบบชลประทาน / RID มีสุข / SCADA การพยากรณ์ฝน น้ำท่า ระบบอัจฉริยะ Smart Farm เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำแบบองค์รวม สิ่งที่ปรากฎทำให้เกิดแนวนวัตกรรมและความทันสมัย การยกระดับประสิทธิภาพของพื้นที่ชลประทาน

สำหรับการมอบนโยบายครั้งนี้ ทำให้มองเห็นว่า เจ้าหน้าที่ ผู้ดำเนินงานที่ต้องทำเรื่องน้ำ ระบบชลประทาน และพัฒนาเทคโนโลยีนั้น หวังว่าจะได้รับการขยายผล องค์ความรู้นำไปสู่คนรุ่นหลังและเกษตรกรในพื้นที่ ให้เกิดความหวงแหนต่อทรัพยากร โดยยกกรณีตัวอย่าง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลบน ซึ่งเป็นเรื่องดีที่มีการผสมผสานแบบเป็นระบบ พร้อมทั้งเชิญชวนให้ที่ปรึกษาร่วมลงพื้นที่ ในวันที่ 15 ก.ย.66 เพื่อศึกษาดูงานฟาร์มสร้างเกษตรสมัยใหม่แบบ Smart Farming เทคโนโลยีเกษตรครบวงจร ที่คูโบต้า ฟาร์ม อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี ให้สามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติงานโครงการของกรมชลประทานได้ อย่างไรก็ตาม ได้ให้ข้อสังเกตุ ประเด็นพื้นที่ปัตตานี ซึ่งเป็นพื้นที่ค่อนข้างใหญ่ ท้ายน้ำเขื่อนบางลาง และเป็นพื้นที่เพื่อความมั่นคง