"เงินดิจิทัล" หรือ "ดิจิทัลวอลเล็ต" จำนวน 1 หมื่นบาท เป็นนโยบายของ "พรรคเพื่อไทย" ที่ใช้หาเสียงในการเลื่อกตั้งครั้งที่ผ่านมา โดยจะแจกให้กับประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป มีแนวทางการใช้จ่าย อาทิ ไม่สามารถแลกเป็นเงินสดได้ โอนให้คนอื่นไม่ได้ ใช้จ่ายภายในบริเวณที่กำหนด เบื้องต้นกำหนดให้ใช้จ่ายในพื้นที่ที่อยู่ในบัตรประชาชน ไม่เกิน 4 กิโลเมตร ซึ่งกรณีนี้อาจจะปรับเพิ่มระยะทางเพื่อความเหมาะสม ห้ามใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าที่เป็นอบายมุข ไม่สามารถนำไปใช้หนี้ได้ และใช้จ่ายภายในระยะเวลา 6 เดือน เป็นต้น
และเมื่อได้เป็น "รัฐบาล" ก็แถลงยืนยันว่าจะดำเนินการได้จริง คาดว่า จะใช้เม็ดเงินราว 5.6 แสนล้านบาท จะช่วยให้เม็ดเงินดังกล่าวหมุนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้ถึง 4 รอบ เป็นเงินรวมกว่า 2 ล้านล้านบาท ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2567 ให้เติบโตได้ราว 4-5% โดยนโยบายดังกล่าวคาดว่า จะดำเนินการได้ภายในวันที่ 1 ก.พ. 2567 หรือภายในไตรมาส 1/2567
สำหรับ "เงินดิจิทัล" ดังกล่าวนั้น จะไม่ใช่ "ดิจิทัล เคอร์เรนซี" แต่เป็นสิทธิที่ใช้หน่วยนับเป็นเงินบาท โดยผู้รับการแจกเงินดังกล่าว จะใช้จ่ายเงินผ่าน "แอปพลิเคชันใหม่" ที่ไม่ใช่ "แอปฯเป๋าตัง" ซึ่งแอปพลิเคชันดังกล่าว จะทำผ่าน "บล็อกเชน" ซึ่งเป็นระบบที่รัฐบาลคิดขึ้นมาใหม่ เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของประเทศหรือ "ซูเปอร์แอป" ซึ่งมีระบบซิเคียวริตี้ที่สูง สามารถกำหนดการใช้จ่ายผ่านระบบดังกล่าวได้หมด ซึ่งจะป้องกันระบบการรั่วไหลของเม็ดเงินดังกล่าวได้
โดยปกติแล้ว การโอนเงินระหว่างประเทศที่มีสกุลเงินแตกต่างกัน เราคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องทำธุรกรรมผ่านธนาคารตัวกลาง (Intermediary Bank) ซึ่งใช้เวลาดำเนินการค่อนข้างนาน เพื่อให้เกิดความถูกต้องและปลอดภัย แต่สำหรับในยุคดิจิทัล การโอนเงินระหว่างประเทศกำลังจะเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีและสะดวกขึ้น ด้วยเทคโนโลยี Blockchain นวัตกรรมที่เข้ามาตอบโจทย์คนยุคใหม่ในเรื่องความง่ายและรวดเร็วในการทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์เพียงไม่กี่วินาที แม้จะไม่มีธนาคารตัวกลางแต่ยังคงความปลอดภัยเหมือนเดิม และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมจำนวนมากอย่างแต่ก่อน ดังนั้น การใช้ Blockchain ในไทยน่าจะเป็นทางเลือกใหม่ที่จะช่วยขับเคลื่อนภาคธุรกิจยุคดิจิทัลได้ดีอย่างยิ่งครับ
* "บล็อกเชน" Blockchain คืออะไร
เป็นเทคโนโลยีว่าด้วยระบบการเก็บข้อมูล (Data Structure) ซึ่งไม่มีตัวกลาง แต่ข้อมูลที่ได้รับการปกป้องจะถูกแชร์และจัดเก็บเป็นสำเนาไว้ในเครื่องของทุกคนที่ใช้ฐานข้อมูลเดียวกันเสมือนห่วงโซ่ (Chain) โดยทุกคนจะรับทราบร่วมกัน ว่าใครเป็นเจ้าของและมีสิทธิในข้อมูลตัวจริง เมื่อมีการอัปเดตข้อมูลใด ๆ สำเนาข้อมูลในฐานเดียวกันก็จะอัปเดตตามไปด้วยทันที ทำให้การปลอมแปลงข้อมูลไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะทุกคนต้องรับทราบและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลร่วมกันได้ อีกทั้งไม่มีระบบล่ม และภัยใด ๆ ก็ไม่อาจทำลายอุปกรณ์ในระบบได้พร้อมกัน เช่นเดียวกับการถูกแฮ็กข้อมูล ซึ่งต้องทำการแฮ็กทุกเครื่องในฐานเดียวกันพร้อม ๆ กัน หรืออย่างน้อยต้องแฮ็กเครื่องที่ถือสำเนาให้ได้มากกว่า 51% จึงจะแฮ็กได้สำเร็จ เทคโนโลยี Blockchain จึงนับว่ายอดเยี่ยมในแง่ของเครดิต นอกจากนี้ ยังเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามารองรับการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล เช่น บิทคอยน์ (Bitcoin) ฯลฯ ให้มีความปลอดภัยด้านข้อมูลมากยิ่งขึ้นด้วย
* บล็อกเชน มีความสำคัญ
เทคโนโลยีฐานข้อมูลแบบดั้งเดิมมีอุปสรรคหลายประการสำหรับการบันทึกธุรกรรมทางการเงิน ตัวอย่างเช่น ให้ลองพิจารณาถึงการขายทรัพย์สิน เมื่อแลกเปลี่ยนเงินแล้ว ก็จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ โดยทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต่างสามารถบันทึกธุรกรรมทางการเงินได้ แต่ไม่มีแหล่งที่มาใดที่เชื่อถือได้ ผู้ขายสามารถอ้างได้อย่างง่ายดายว่าพวกเขายังไม่ได้รับเงินแม้ว่าจะได้รับแล้วก็ตาม และผู้ซื้อสามารถโต้แย้งได้อย่างเท่าเทียมกันว่าพวกเขาได้ชำระเงินไปแล้วแม้ว่าพวกเขาจะยังไม่ได้ชำระเงินก็ตาม
* บล็อกเชน กับการเงิน และการธนาคาร
เนื่องจากจุดเด่นของการเก็บข้อมูลแบบบล็อกเชน คือ เรื่องความโปร่งใสและปลอดภัย ทำให้ตรงจริตกับความเป็นอุตสาหกรรมการเงินอย่างพอดิบพอดี เป็นเหมือน จึงเป็นที่ของเทคโนโลยีที่ชื่อคริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ที่จะส่งผ่านเงินกันด้วยระบบบล็อกเชนเป็นหลักนั่นเอง หรืออย่าง Bitcoin เองก็ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นระบบเบื้องหลังในการแลกเปลี่ยน โอนเหรียญให้กันด้วยเช่นกัน
โดยปกติแล้ว "การโอนเงินระหว่างประเทศ" ที่มีสกุลเงินแตกต่างกัน เราคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องทำธุรกรรมผ่านธนาคารตัวกลาง (Intermediary Bank) ซึ่งใช้เวลาดำเนินการค่อนข้างนาน เพื่อให้เกิดความถูกต้องและปลอดภัย แต่สำหรับในยุคดิจิทัล การโอนเงินระหว่างประเทศกำลังจะเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีและสะดวกขึ้น ด้วยเทคโนโลยี Blockchain นวัตกรรมที่เข้ามาตอบโจทย์คนยุคใหม่ในเรื่องความง่ายและรวดเร็วในการทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์เพียงไม่กี่วินาที แม้จะไม่มีธนาคารตัวกลางแต่ยังคงความปลอดภัยเหมือนเดิม และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมจำนวนมากอย่างแต่ก่อน ดังนั้น การใช้ Blockchain ในไทยน่าจะเป็นทางเลือกใหม่ที่จะช่วยขับเคลื่อนภาคธุรกิจยุคดิจิทัลได้ดีอย่างยิ่ง
* เทคโนโลยีบล็อกเชนมีวิวัฒนาการอย่างไร
เทคโนโลยีบล็อกเชนมีต้นกำเนิดมาจากช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 เมื่อนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชื่อว่า Ralph Merkle จดสิทธิบัตรต้นไม้ Hash หรือต้นไม้ Merkle โดยต้นไม้เหล่านี้เป็นโครงสร้างวิทยาการคอมพิวเตอร์สำหรับการจัดเก็บข้อมูลด้วยการเชื่อมโยงบล็อกโดยใช้การเข้ารหัส ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 ทางด้านของ Stuart Haber และ W. Scott Stornetta ใช้ต้นไม้ Merkle เพื่อใช้ระบบที่ไม่สามารถดัดแปลงแก้ไขการประทับเวลาของเอกสารได้ ซึ่งถือเป็นกรณีตัวอย่างแรกในประวัติศาสตร์ของบล็อกเชน
ต่อมา เมื่อปี 2008 ในช่วงวิกฤตเศษฐกิจครั้งใหญ่ที่เราเรียกว่า Global Financial Crisis บุคคลนิรนามที่ใช้ชื่อว่า Satoshi Nakamoto ได้ให้กำเนิดสิ่งที่เรียกว่า "บิทคอยน์" ขึ้นมา โดยออกแบบให้บิทคอยน์เป็นเงินดิจิทัลสกุลแรกในประวัติศาสตร์ที่ใครๆก็สามารถใช้ได้ ทุกคนสามารถถือเงินและโอนเงินหากันได้โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางใด ๆ เช่น ธนาคาร และที่สำคัญ มันไม่ได้ถูกสร้างหรือควบคุมโดยรัฐหรือองค์กรใด ๆ และในวันนั้น ไม่ใช่เพียงบิทคอยน์ แต่เทคโนโลยีที่เรียกว่า Blockchain ก็ถือกำเนิดขึ้นด้วย ซึ่ง Blockchain นี่แหละ คือเทคโนโลยีที่ทำให้บิทคอยน์ทำในสิ่งที่ไม่มีใครเคยทำได้มาก่อน
* โดยเทคโนโลยียังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดทั้ง 3 ยุคดังต่อไปนี้:
ยุคแรก – Bitcoin และสกุลเงินเสมือนอื่นๆ ในปี 2008 บุคคลหรือกลุ่มบุคคลนิรนามที่รู้จักเพียงชื่อว่า Satoshi Nakamoto ได้สรุปเทคโนโลยีบล็อกเชนในรูปแบบปัจจุบัน โดยแนวคิดของ Satoshi เกี่ยวกับบล็อกเชน Bitcoin จะใช้บล็อกข้อมูล 1 MB สำหรับธุรกรรม Bitcoin ซึ่งคุณสมบัติหลายอย่างของระบบบล็อกเชน Bitcoin ยังคงเป็นหัวใจสำคัญของเทคโนโลยีบล็อกเชนในปัจจุบัน
ยุคที่สอง – สัญญาอัจฉริยะ ไม่กี่ปีหลังจากสกุลเงินดิจิทัลรุ่นแรกถือกำเนิดขึ้น นักพัฒนาก็เริ่มพิจารณาถึงแอปพลิเคชันบล็อกเชนอื่นๆ นอกเหนือจากสกุลเงินดิจิทัล ตัวอย่างเช่น ผู้คิดค้น Ethereum ตัดสินใจใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในธุรกรรมการถ่ายโอนสินทรัพย์ โดยคุณสมบัติสัญญาอัจฉริยะถือเป็นผลงานที่สำคัญของพวกเขา
ยุคที่สาม – อนาคต ในขณะที่บริษัทต่างๆ ค้นพบและใช้การประยุกต์ใช้ใหม่ๆ เทคโนโลยีบล็อกเชนก็ยังคงพัฒนาและเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทต่างๆ กำลังแก้ไขข้อจำกัดของขนาดและการคำนวณ และโอกาสที่เป็นไปได้นั้นไร้ขีดจำกัดในการปฏิวัติด้านบล็อกเชนที่กำลังเกิดขึ้น
#บล็อกเชน #เงินดิจิทัล #แอปเป๋าตัง