ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอาวุธ วิเชียรฉาย รอง ผวจ.สมุทรสาคร ได้นำทีมตัวแทนเจ้าหน้าที่จาก สำนักงานเกษตรจังหวัดฯ, สนง.ประมงจ.สมุทรสาคร และตัวแทนจากภาคเกษตรกร และผู้นำชุมชนท้องถิ่น พากันลงพื้นที่ลำน้ำสาธารณะ เพื่อสำรวจตรวจสอบสภาพปัญหาของ “ปลาหมอสี-คางดำ” ที่มีจำนวนมาก ได้บุกเข้ามาอยู่อาศัยและแพร่พันธ์ ในแหล่งน้ำลำคลอง ซึ่งเข้ามาปักหลักอาศัยกันมาช้านานจนสร้างเป็นวิกฤติปัญหาให้แก่ ปชช.และเกษตรกร ทั้งนี้จึงมีเสียงเรียกร้องหวังต้องการให้ภาครัฐมาดูแลช่วยแก้ไขปัญหา “ซึ่งจากผลการสำรวจตรวจดูสภาพพิษปัญหาของปลาหมอสีคมงดำ ปรากฏว่า  ขณะนี้กำลังออกอาละวาดอย่างหนักทั้งแหล่งน้ำและในลำคลอง โดยเบื้องต้นพบมีจำนวน 2 พื้นที่ อาทิ  ที่คลองสุนัขหอน (ย่านวัดบางพลี) ต.บางโทรัด อ.เมืองฯ และคลองลำท่าแร้ง (ย่านคลองยกกระบัตร) ต.ยกกระบัตร อ.บ้านแพ้ว” 

โดยนายอาวุธ วิเชียรฉาย รอง ผวจ.เผยว่า ซึ่งการออกติดตามสำรวจสถานการณ์การระบาดหนัก เป็นปลาหมอสีชนิดคางดำ เบื้องต้นจำนวนพื้นที่ 2 แห่ง ได้แก่ คลองสุนัขหอน ต.บางโทรัด อ.เมืองฯ และในคลองลำท่าแร้ง “ที่บริเวณคลองยกกระบัตร” ต.ยกกระบัตร อ.บ้านแพ้ว หลังมารร้องเรียน ซึ่งล่าสุดหมอสีได้มารวมตัวกันอยู่อย่างหนาแน่นจนเกิดปัญหาต่อปลาชนิดอื่นๆ ที่อยู่อาศัยอยู่ด้วยกัน

ซึ่งจากสภาพที่เกิดปัญหาพบว่า มีจำนวนมากมาช้านานแล้วไม่ต่ำกว่า 4 ปี อย่างไรก็ตามยังมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ต้องช่วยดำเนินหารแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วน ทั้งนี้หากนานวันก็จะเกิดความเลวร้ายของพิษปลาหมอสี อาทิเช่น ทำลายธรรมชาติและความอุดมสมบูรณ์ต่อสัตว์น้ำประเภทอื่น เช่น จะไล่กินลูกปลาหรือสัตว์น้ำช่วงวัยตัวอ่อน (หรือสัตว์ขนาดเล็ก) เพื่อกินเป็นอาหาร นอกจากนี้โดยลักษณะปลาหมดสี ได้ชื่อว่าเป็นปลานักล่า ส่งผลให้เกิดความเสียหายในที่สุด อาทิ เสียหายตามบ่อเลี้ยงปลาและบ่อสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ ตลอดจนในแหล่งน้ำสาธารณะที่ต่างๆ  เป็นต้น จึงเป็นเหตุให้สัตว์น้ำสายพันธ์อื่นเช่น ปลากะพงขาวฯ ก็ไม่สามารถขยายพันธุ์ต่อได้ หากยังปล่อยอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ”

ต่อมาทางด้าน จนท.ได้มีการแนะแนวบรรเทาปัญหาหรือยุทธศาสตร์เพื่อการไล่ปราบล่าหมอสีคางดำ ซึ่งกำหนดแนวให้ไว้รวม 2 แนวประการตามเพื่อร่วมกันกำจัดทิ้ง หรือในนามเรียกว่า (2 ป. 2 บ.) คือแนว “ป้องกัน” คือ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาปลาหมอสีที่ปล่อยหลุดออกมาจนแพร่ระบาดคลองสาธารณะ จนทำเรื่องเสียหายเป็นวงกว้างให้กับเกษตรกร และวงการเพาะเลี้ยงสัตว์ ปรากฏว่า “ประการแรก” แนะนำส่งเสริมด้านการบริโภค, (ประการที่ 2 ) ออกไล่ล่าปราบจับนำขึ้นไปใช้ประโยชน์ทางการค้า ซึ่งอาจมีภาครัฐต้องเข้าช่วยเหลือ อย่างเช่น ด้านการรับซื้อขาย, ส่งเสริมให้ความรู้และเข้าใจ อาทิเช่น เมื่อจับได้แล้วก็ส่งขายเลยแบบสดๆ, ส่งขายให้กับผู้ซื้อที่นำไปแปรรูป, ส่งขายให้ผู้ผลิตทำเป็นอาหารสัตว์, และส่งขายปลาหมอสีในนำไปแบบแปรรูป อาทิเช่น ทำปลาแดดเดียว เป็นต้น หรืออาจจะมีภาครัฐมาช่วยจัดหาผู้รับซื้อเพิ่มให้แก่ผู้จับปลาหมอสีด้วย 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้ทาง จนท.ล่าสุดได้ระบุว่างานนี้จะเร่งติดตามเรื่องระหว่างการหารือเพื่อเจรจากับ “ผู้ผลิตปลาร้า” ในจังหวัดแถบภาคอีสาน เพื่อซื้อขายหมอสีที่ จ.สมุทรสาคร เอาไปทำปลาร้า ขณะที่อีกแนวทางหนึ่ง ในระยะกลาง ได้แก่ ดำเนินการของบประมาณเพื่อมาใช้ประกันราคาในกรณีปลาหมอสี “แต่อย่างไรก็ดีนั้นโดยปัจจุบันทั่วไปในตอนนี้ ทราบว่ามี รง.ผลิตปลาป่น โดยเฉลี่ยเค้ารับซื้อกันประมาณที่ กก.ละ 4.50 -5.00 บาท”