นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย สถิติยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 81,863 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 307.54 % ประเภท HEV มีจำนวนทั้งสิ้น 311,150 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 33.33% ประเภท PHEV มีจำนวนทั้งสิ้น 49,587คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 31.04%
ขณะที่ยอดขาย 7 เดือน (มกราคม - กรกฎาคม 2566) รถยนต์มียอดขาย 464,550 คัน ลดลงจากปี 2565 ในระยะเวลาเดียวกัน 5.45% แบ่งเป็น รถยนต์สันดาปภายใน (ICE) 381,453 คัน ลดลงจากปีที่แล้ว 15.78% รถยนต์ไฟฟ้า (BEV) 35,781 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 1,605.48% รถยนต์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 1,454 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 39.54% รถยนต์ไฟฟ้าผสม (HEV) 45,862 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 30.02% ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 1,144,760 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 10.03% แบ่งเป็น รถจักรยานยนต์สันดาปภายใน (ICE) 1,143,722 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 10.02% รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าผสม (HEV) 818 คัน ลดลงจากปีที่แล้ว 9.11% รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า (BEV) 220 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 100%
สำหรับยอดส่งออก 7 เดือน (ม.ค.-ก.ค.) ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 636,868 คัน เพิ่มขึ้นจาก ระยะเวลาเดียวกันปีก่อน 19.55% มีมูลค่าการส่งออก 396,769.01 ล้านบาท เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 21,012.48 ล้านบาท ลดลง 16.56% ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 102,141.14 ล้านบาท ลดลง 15.15% อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 13,460.51 ล้านบาท ลดลง 14.70% รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมกราคม - กรกฎาคม 2566 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 533,383.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.13%
ส่วนรถจักรยานยนต์ มีจำนวนส่งออก 491,872 คัน (รวม CBU + CKD) ลดลง 15.32% มีมูลค่า 41,552.42 ล้านบาท ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 1,823.66 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.48% อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 1,254.71 ล้านบาท ลดลง 12.37% รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ 7 เดือนชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 44,630.79 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.43% ขณะที่ด้านการผลิต จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม - กรกฎาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,071,221 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนช่วงเดียกันปีก่อน 0.66%
ทั้งนี้การที่ได้รัฐบาลใหม่แล้วทุกพรรคเคยหาเสียงที่จะลดรายจ่ายประชาชนทั้งค่าไฟ ค่าโดยสารการเดินทาง ฯลฯ อยากให้รัฐบาลดูแลค่าครองชีพราคาอาหารแพงขึ้นแล้วไม่ลง ดึงการลงทุนให้ยังคงเชื่อมั่นว่าจะสร้างการเติบโตโดยส่งเสริมให้ต่อเนื่องเพื่อการจ้างงานอะไรที่ต่อเนื่องเช่น การส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในระยะที่ 2 หรือ EV 3.5 ต้องการให้นำกลับมาอนุมัติด่วน เพราะ EV3.0 จะสิ้นสุดธ.ค.นี้แล้วเพื่อให้การผลิตรถ EV ในประเทศไทยมากขึ้น รวมถึงแบตเตอรี่ และชิ้นส่วนต่างๆ และก้าวสู่ฮับในภูมิภาคอาเซียนจะได้ต่อยอดรถ ICE เพื่อไม่ให้การส่งออกของเราลดลงในอนาคต