วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมืองโบราณของไทย ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯไปทางเหนือประมาณ 70 กิโลเมตร ปี 2016 ที่ผ่านมา ศูนย์ปฏิบัติการเทคโนโลยีและนวัตกรรมลูปัน(ลูปันเวิร์คช็อป) เปิดตัวในวิทยาลัยแห่งนี้ ทำให้วิทยาลัยแห่งนี้กลายเป็นวิทยาลัยเทคนิคแห่งแรกของไทยที่ได้อุปกรณ์ทันสมัยในการเรียนการสอนความรู้ด้านระบบรถราง และวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ และเป็นฐานที่ทำให้วัยรุ่นชาวไทยบรรลุความฝันในการพัฒนาความสามารถตนเองให้เป็น“ช่างฝีมือแห่งประเทศ”

ช่วงแรกเริ่มในการก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติการเทคโนโลยีและนวัตกรรมลูปันของไทย ทางศูนย์ได้ร่วมมือกับวิทยาลัยทั้งสองแห่งของจีน คือ ร่วมมือกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาโป๋ไห่เทียนสินในการจัดตั้งศูนย์โป๋ไห่ และวิทยาลัยอาชีวศึกษาการรถไฟเทียนสินในการจัดตั้งศูนย์รถไฟ ช่วง 7 ปีมานี้ ลูปันเวิร์คช็อปได้อบรมบุคลากรกว่าพันคน ขณะเดียวกัน ลูปันเวิร์คช็อปยังเปิดให้อาจารย์และนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาของประเทศอาเซียนมาแลกเปลี่ยนด้วย โดยมีนักศึกษาอาเซียนมาแลกเปลี่ยนที่ศูนย์ฯเป็นจำนวนกว่า 8 พันคน

พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนสากลในการผลิตบุคลากร

WORAWAN BUAKHLI วัย 21 ปี นักศึกษาปี 2 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ หลังเรียนจบมัธยมแล้ว เธอเรียนสายศิลป์ ไม่เคยนึกว่าจะเดินสู่หนทางแห่งการเรียนรู้ระบบรางรถ “ช่วงแรก ๆ ที่เรียนที่ลูปันเวิร์คช็อป ไม่มีความรู้ด้านรถไฟแม้แต่น้อย ซึ่งช่วงนั้นรถไฟความเร็วสูงกำลังเป็นกระแสแรง อาจารย์บอกว่า ถ้าเรียนสาขานี้ จะเป็นประโยชน์กับการหางาน”

ระยะเวลากว่า 1 ปีในการศึกษาที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาการรถไฟเทียนสิน WORAWAN BUAKHLI ได้เรียนรู้ด้านสัญญาณและการควบคุมรถไฟ นับเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง เมื่อกลับถึงประเทศไทย เธอตื่นเต้นกับอุปกรณ์ที่ทันสมัยและครบสมบูรณ์ของตึกลูปันเวิร์คช็อปของไทย “เครื่องมือและอุปกรณ์ที่นี่ครบสมบูรณ์มาก นับเป็นวิทยาลัยเทคนิคแห่งเดียวของไทยที่มีอุปกรณ์ครบถ้วนเช่นนี้”

อวี๋ จงอู่ อธิการบดีวิทยาลัยอาชีวศึกษาการรถไฟเทียนสินระบุว่า “เดือนตุลาคม ปี 2021 ลูปันเวิร์คช็อปของไทยผ่านเกณฑ์การประเมินด้วยผลงานที่ดีเด่น ศูนย์รถไฟฯ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโครงการความร่วมมือที่มีเอกลักษณ์ระหว่างวิทยาลัยอาชีวศึกษาจีน-อาเซียน และโครงการก่อตั้งลูปันเวิร์คช็อปรุ่นแรกของจีน และนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองในการแข่งขันอาชีวศึกษาเพชรยอดมงกุฎ และนักเรียนจากศูนย์รถไฟได้รับรางวัลชิงถ้วยพระราชทานกรมสมเด็จพระเทพฯ”

Nathaphumi Srisawasdi นักเรียนไทยหลังเรียนจบจากลูปันเวิร์คช็อปแล้ว ปี 2019 เขาได้ศึกษาต่อที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาการรถไฟเทียนสิน เมื่อมาถึงจีนแล้ว เขาได้พบอุปกรณ์ไฮเทคต่าง ๆ ซึ่งทำให้เขาตื่นเต้นมาก

จาง เหล่ย อาจารย์สถาบันพลังงานรถไฟวิทยาลัยอาชีวศึกษาการรถไฟเทียนสินเคยร่วมการก่อตั้งและสอนที่ลูปันเวิร์คช็อปของไทย เขากล่าวว่า “ในกระบวนการก่อตั้งและให้บริการของลูปันเวิร์คช็อป ทางเราได้พัฒนามาตรฐานสาขาวิชาและหลักสูตรสากล ใช้ตำราเรียนและคู่มือการปฏิบัติที่เป็นสองภาษาจีนไทย พัฒนาหลักสูตรออนไลน์ที่เป็นสองภาษา คิดค้นวิจัยอุปกรณ์การคมนาคมทางรางที่ใช้ในการอบรม ฝึกอบรมบุคลากรชาวไทยที่มีทักษะความรู้ความสามารถด้านการซ่อมบำรุงรถไฟความเร็วสูง(EMU)  ฝึกอบรมครูผู้สอนสาขาวิชาช่างอุตสาหกรรม สอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองของนักเรียนนักศึกษา และความต้องการบุคลากรของสังคม ลูปันเวิร์คช็อปเป็นแพลตฟอร์มที่ดี หวังว่าจะสร้างคุณูปการเพื่อการก่อสร้างรถไฟจีนไทย และเพิ่มพูนมิตรภาพจีน-ไทย”

ที่โรงเรียนธุรกิจจิบูตี นักเรียนได้เรียนในลูปันเวิร์คช็อปพื้นที่การสอนปฏิบัติการรถไฟโต๊ะทราย

“ลูปันเวิร์คช็อปทำให้ดิฉันรู้สึกถึงความสำเร็จในชีวิต”

Nitinun Chomchuen อาจารย์คนไทยในวิทยาลัยอาชีวศึกษาโป๋ไห่เทียนสินกล่าวว่า หากไม่มีโครงการลูปันเวิร์คช็อป ตนเองอาจจะกำลังทำงานในบริษัทใดบริษัทหนึ่งของไทยอยู่ หรืออาจจะชุมนุมกับญาติพี่น้องและเพื่อนที่ไทยอยู่ แต่อาจจะไม่รู้สึกถึงความสำเร็จในชีวิต

Nitinun Chomchuen มาจากจังหวัดชลบุรีของไทย เมื่อเทียบกับบ้านเกิด ซึ่งมีอากาศร้อนและชุ่มชื้น พอมาใหม่ ๆ เธอยังไม่ค่อยเคยชินกับอากาศเทียนสิน ซึ่งมี 4 ฤดูกาล อย่างไรก็ตาม เธอก็เริ่มรักชีวิตในเทียนสินเรื่อย ๆ “จีนที่ดิฉันได้ยินในวัยเด็ก กับจีนที่ได้เห็นกับตาในทุกวันนี้แตกต่างกันมาก จีนทันสมัยมาก ชาวเทียนสินมีน้ำใจ สิ่งอำนวยความสะดวกของเทียนสินก็สมบูรณ์มาก ไม่ว่าจะเป็นรถเมล์หรือรถไฟใต้ดิน ราคาตั๋วถูก และเดินทางสะดวกด้วย”

ปี 2014 เนื่องจากผลการเรียนที่ดีเด่น Nitinun Chomchuen ได้ทุนรัฐบาลจีนในการเรียนปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเทียนสิน หลังเรียนจบแล้ว เธออยากอยู่จีนต่อ และอยากทำงานเพื่อบ้านเมืองด้วย พอดีช่วงนั้นโครงการลูปันเวิร์คช็อปซึ่งร่วมก่อตั้งขึ้นโดยวิทยาลัยอาชีวศึกษาโป๋ไห่เทียนสินกับวิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยากำลังรับสมัครเจ้าหน้าที่อยู่ เธอจึงได้รับตำแหน่งงานที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาโป๋ไห่เทียนสินอย่างราบรื่น

ทุกวันนี้ Nitinun Chomchuen นอกจากอบรมภาษาจีนให้นักศึกษาต่างชาติเป็นประจำแล้ว ยังรับผิดชอบการประสานงานกับลูปันเวิร์คช็อปของไทย จัดการแลกเปลี่ยนระยะสั้นระหว่างครูผู้สอนและนักเรียนนักศึกษาจีน-ไทย ตลอดจนโครงการอบรมนักศึกษาจีนไทยระยะยาวด้วย Nitinun Chomchuen ระบุว่า ระบบอาชีวศึกษาของจีนพัฒนาได้ดีมาก นักเรียนนักศึกษาไทยที่ได้รับการอบรมที่ลูปันเวิร์คช็อปแล้ว มีศักยภาพแข่งขันสูงมากในการหาตำแหน่งงานทำ “เมื่อเรียนจบแล้ว จะได้ปริญญาบัตรของไทยและจีน ไม่เพียงแต่เข้าใจเทคโนโลยี หากเข้าใจวัฒนธรรมจีน และพูดภาษาจีนได้ด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์กับนักเรียนนักศึกษาในการหางานทำอย่างมาก”

Nitinun Chomchuen กล่าวว่า ตอนเด็ก ๆ ได้ยินจากพ่อแม่ผู้ปกครองพูดเสมอว่า จีนไทยใช่อื่นไกลพี่น้องกัน ทุกวันนี้ เธอมีครอบครัวที่เทียนสินแล้ว และได้บรรลุความฝันของตนโดยใช้แพลตฟอร์มลูปันเวิร์คช็อป “หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะใช้ความสามารถอย่างสุดขีดเพื่อสร้างสะพานมิตรภาพจีน-ไทย”

 

เขียนโดย หลิว เชี่ยน

แปลโดย หานซี

ตรวจแก้โดย รพีพรรณ วงษ์กรวรเวช