วันที่ 17 ส.ค.66 ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ อดีตนักการเมือง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ระบุว่า...

“แม่บ้าน รปภ. เป็นนอมินีใคร?”

คนขายจะตั้งนอมินีทำไม?

ในเมื่อมีชื่อดั้งเดิม และซื้อที่ดินมาตั้งแต่ปี 2551

แต่ดันมาเปลี่ยนชื่อผู้ถือหุ้น ตอน “แม่บ้าน” กับ “รปภ.” ได้เงินกู้ 1,000 ล้าน จากบริษัทลูกของแสนสิริ ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558

ในวันเดียวกันนี้ ทำ 3 นิติกรรม พร้อมกัน คือ

1. ทำสัญญาจดจำนอง 1,000 ล้าน ได้เงิน 1,000 ล้าน จากบริษัทลูกของแสนสิริ

2. เปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้น บ.เอ็น แอนด์ เอ็น (ซื้อหุ้นจากเจ้าของเดิม เปลี่ยนเป็นนอมินี)

3. ปลอดจำนองที่ดินจากธนาคาร LH Bank ที่เจ้าของเดิมจำนองไว้กับธนาคาร

ทุกอย่างล้วนกระทำการในวันเดียวพร้อมกัน

ผู้ขายจะตั้ง “นอมินี” เป็น แม่บ้าน กับ รปภ. รับเงินกู้จากแสนสิริ แล้วจ่ายเงินซื้อที่ดินตัวเองทำไม?

แสนสิริบอกว่าทำสัญญาจำนองที่ดิน จำนวน 1,000 ล้าน กับ บ.เอ็น แอนด์ เอ็น

และยังทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินครอบเป็นเงื่อนไขไว้ด้วย

แทนที่จะซื้อตรงกับ บ.เอ็น แอนด์ เอ็น เสียทีเดียว

การที่ต้อง “ทำสัญญาจำนอง 1,000 ล้าน” เพราะต้องการนำเงินสดออกจากบริษัท

เป็นกระบวนการ “ยักย้ายถ่ายเทเงิน” เพื่อตัดทอนเงินบวม

ต่อมาในปี 2559 แสนสิริก็ซื้อที่ดินแปลงเดิมนี้ในราคาใกล้เคียงกัน และนำเงินไปชำระหนี้ให้บริษัทที่ให้กู้ ก็คือบริษัทลูกของแสนสิรินั่นเอง

จากนั้น แสนสิริก็นำที่ดินไปจดจำนองกับธนาคารไทยพาณิชย์ ได้เงินกู้ 1,629 ล้าน และไปเสนอขายหุ้นส่วนให้กับ บ.บีทีเอส

อันเป็นการกิน 2 ต่อ กล่าวคือ ได้กำไรจากการบวมค่าที่ และบอกราคาบีทีเอสในจำนวนสูงกว่าที่แท้จริง

ที่จริงแล้ว “ขงเบ้ง” คนข้างกายว่าที่นายกฯ คือคนตั้งนอมินีเพื่อตัดเงินทอนจาก 1,000 ล้าน จ่าย 565 ล้าน เหลือ 435 ล้าน

แค่ถามคนขายย่อมต้องรู้ว่า วันเจรจาขายหุ้น ขายที่ ได้คุยกับใคร?

ผมยื่นหนังสือร้องให้ “บิ๊กโจ๊ก” เรียกนอมินี คนขาย คนซื้อ เจ้าหน้าที่กรมที่ดิน สอบต่อไป

รวมทั้งยื่นต่อ ก.ล.ต. ในฐานะผู้เสียหาย เพราะถือหุ้นแสนสิริไว้จำนวน 20,000 หุ้น

เงินตรงนี้หายไปไหน ไปเข้ากระเป๋าใครมิทราบ?

นอมินีจะเป็นคนของใคร หากไม่ใช่แสนสิริ?