วันที่ 1 ส.ค.66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ จ.นครพนม ในช่วงวันหยุดยาว ต้องยอมรับว่า นอกจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำคัญ ยังมีร้านคาเฟ่ ชื่อดัง เมอ นา คาเฟ่ ตั้งอยู่ พื้นที่ บ้านโพนสนุก ต.สีชมพู อ.นาแก จ.นครพนม กำลังเป็นที่สนใจดึงดูดประชาชน นักท่องเที่ยว เข้ามาในพื้นที่ จนกลายเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ ของ อ.นาแก จ.นครพนม อีกทั้งเป็นเส้นทางผ่าน จาก จ.สกลนคร มายัง อ.นาแก มุ่งหน้าไปยัง อ.ธาตุพนม ที่ตั้งองค์พระธาตุพนม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมือง ทำให้สะดวก แก่ประชาชน นักท่องเที่ยว ที่จะเดินทางในเส้นทางท่องเที่ยวสำคัญ สามารถแวะพักผ่อน ชมบรรยากาศสุดฟิน ชิมกาแฟ เครื่องดื่ม และอาหารอีสาน ครบวงจร เน้นจุดขายบรรยากาศ ความสวยงามทางธรรมชาติ ด้วยการทำสวนต้นแบบเกษตรพอเพียง ในพื้นที่กว่า 5 ไร่
สำหรับ เมอ นา คาเฟ่ ถือเป็น ร้านกาแฟที่มีความโดดเด่นสวยงามเรื่องวิถีชีวิตพอเพียง เจ้าของ คือ นายบัญชา ศรีชาหลวง เจ้าของไอเดีย คาเฟ่แนวพอเพียง ชื่อดัง เมอ นา คาเฟ่ เป็นภาษาอีสาน บ่งบอกถึงพื้นที่ทำไร่ทำนาวิถีอีสานพอเพียง จึงมีการออกแบบพื้นที่ ให้เป็นแลนด์มาร์กสำคัญ สอดคล้องกับ พื้นที่ ต.พิมาน อ.นาแก จ.นครพนม เขตพื้นที่ ติดต่อ ต.สีชมพู อ.นาแก จ.นครพนม เป็นชุมชนต้นแบบ มีความโดดเด่น เรื่องการสนับสนุนส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมถึงการส่งเสริมอาชีพตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้ออกแบบก่อสร้าง ร้านคาเฟ่ ในพื้นที่กลางทุ่งนา ไม่เน้นความหรูหรา แต่เน้นความเป็นวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น ที่คงไว้ในเรื่องของวิถีชีวิตพอเพียง การทำนาปลูกข้าว ตามฤดูกาล รวมถึงการเลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์การเกษตร การจัดซุ้มที่นั่งดื่มกาแฟ เน้นวิถีชีวิตพอเพียง เพื่อจำหน่าย เครื่องดื่มกาแฟ เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ น้ำหวาน รวมถึงเมนูอาหารอีสานพื้นบ้านเป็นหลัก
ล่าสุด ได้เปิดตัวเมนูเด็ดชวนชิม ซอยจุ๊เนื้อโคขุน รวมถึงแจ่วฮ้อน จิ้มจุ่มโคขุน ที่เน้นความเป็นอยู่คนอีสาน และสื่อถึงวิถีชีวิตคนอีสานมาแต่อดีตถึงปัจจุบัน รวมถึงเป็นการสนับสนุนส่งเสริม กระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ส่งเสริมเกษตรกร เลี้ยงโคเนื้อ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างรายได้ นอกจากประชาชน นักท่องเที่ยว จะได้ มาดื่มกาแฟชมวิถีชีวิตอีสานแนวพอเพียง การทำไร่ ทำนา ขุดบ่อเลี้ยงปลา ยังเป็นการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชน เห็นความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง สร้างรายได้ ควบคู่ไปด้วย ทำให้ เมอ นาคาเฟ่ กลายเป็นร้านคาเฟ่ที่มีเอกลักษณ์ จุดขายด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ วิถีพอเพียงเป็นหลัก